Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jun 07, 2023

ขับรถชนเสาไฟฟ้าต้องทำอย่างไร ประกันจ่ายไหม

ทุกวันนี้เราต้องเจอกับความเสี่ยงจากอุบัติเหตุต่าง ๆ และมีอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นให้เห็นเรื่อย ๆ ทั้งแบบทั้งมีคู่กรณีให้ไกล่เกลี่ยและไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนขอบฟุตพาธ ขับรถตกเขา หรือขับรถชนเสาไฟฟ้า ซึ่งในกรณีสุดท้ายอาจเกิดคำถามตามมาได้ว่า หากขับรถชนเสาไฟฟ้าต้องทำอย่างไร มีความผิดหรือไม่ จ่ายค่าปรับกับใคร เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ แล้วรถชนเสาไฟฟ้า ประกันจ่ายไหม

แรบบิท แคร์ จึงอยากพาทุกคนไปศึกษาเรื่องของอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้า รวมไปถึงบอกวิธีการเลือกและเปรียบเทียบประกันรถยนต์อย่างไรให้อุ่นใจและครอบคลุมมากที่สุด

เกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร

โดยเบื้องต้นหากเกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าต้องมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

1. รถชนเสาไฟฟ้าแล้วมีสายไฟมาโดนตัวรถยนต์

หากมีการขับรถชนเสาไฟฟ้า สิ่งที่ต้องทำเลยคือการห้ามผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารลงจากรถอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นไปได้ว่ากระแสไฟฟ้าอาจมีการกระจายอยู่รอบ ๆ ตัวรถในระยะประมาณ 10 รัศมี โดยความกว้างของกระแสไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสไฟฟ้า หลังจากนั้นให้รีบแจ้ง 1129 (PEA Online) เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตัดกระแสไฟฟ้า

2. รถชนเสาไฟฟ้าแล้วไฟไหม้

ในกรณีที่รถชนเสาไฟฟ้าแล้วไฟไหม้ จำเป็นต้องออกจากรถ ให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารตั้งสติและพยายามอย่าสัมผัสชิ้นส่วนที่เป็นโครงเหล็กของตัวรถ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าอาจไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ หลังจากนั้นให้กระโดดออกจากรถโดยขาชิดติดกัน เก็บมือสองข้างไว้ข้างหน้า และกระโดดขาคู่ติดพื้นแบบกระต่ายจนพ้นรัศมีอันตราย

3. พบคนขับรถชนเสาไฟฟ้า

สำหรับในกรณีที่คุณพบคนอื่นขับรถชนเสาไฟฟ้า ทางที่ดีคือห้ามผู้ขับขี่เข้าใกล้รถที่ขับชนเสาไฟฟ้า เพราะอาจมีกระแสไฟกระจายรอบตัวรถ ให้ผู้ขับขี่อยู่ห่างจากที่เกิดเหตุมากกว่า 10 เมตร และโทรแจ้ง 1129 (PEA Online) หรือแจ้งสายด่วน MEA 113 การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ทันที ในกรณีกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการขับรถชนเสาไฟฟ้าให้โทรเรียกรถพยาบาล เพื่อขอความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน

ขับรถชนเสาไฟฟ้า มีความผิดหรือไม่

โดยปกติแล้วของหลวงหรือของสาธารณะ จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอยู่แล้วขึ้นอยู่กับถนนเส้นนั้นเป็นของหน่วยไหนรับผิดชอบ ยกตัวอย่างเช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาลท้องถิ่น ดังนั้น การที่ผู้ขับขี่ขับรถชนเสาไฟฟ้า ชนของหลวง หรือของสาธารณะด้วยความประมาทและไม่ได้ตั้งใจจึงถือว่ามีความผิด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลจะเป็นผู้ประเมินค่าเสียหายจากการขับรถชนเสาไฟฟ้าทั้งหมด

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายเท่าไหร่

สำหรับในกรณีที่ผู้ขับขี่ขับรถชนเสาไฟฟ้า เสาไฟฟ้าแต่ละต้นอาจมีราคาที่แตกต่างกัน และต้องมีค่ารื้อถอนเสาไฟฟ้า ซึ่งคำนวณจากความสูงของเสาไฟฟ้า รวมไปถึงยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากการขับรถชนเสาไฟฟ้าอีกด้วย โดยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นี้จะขึ้นอยู่กับ ขนาด ประเภท และพื้นที่ในการติดตั้ง รวมไปถึงยังมีค่ารื้อถอน ค่าขนส่งตามระยาง ค่าเดินสายไฟใหม่ ค่าหม้อแปลง ค่าแรงงาน และค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะมาทำการติดตั้งเสาไฟฟ้าต้นใหม่เพิ่มด้วย จึงทำให้ค่าปรับของการขับรถชนเสาไฟฟ้าไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขที่แน่ชัดได้ โดยราคาของการขับรถชนเสาไฟฟ้าต่อเสาไฟฟ้า 1 ต้น ผู้ขับขี่อาจจะต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 3,000 ไปสูงสุดจนถึง 1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับความเสียหายของอุปกรณ์ที่อยู่บนเสาไฟฟ้า

  • เสาไฟฟ้าแรงต่ำอาจจะต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท/ต้น
  • เสาไฟฟ้าแรงกลางอาจจะต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 30,000 - 1,000,000 บาท/ต้น

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายค่าปรับกับใคร

กรณีที่ผู้ขับขี่ขับรถชนเสาไฟฟ้าจนหักโค่นลงมาทั้งต้น ผู้ขับขี่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง (เฉพาะ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ) เพราะเสาไฟฟ้า ถือเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานดังกล่าว

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ประกันจ่ายไหม

สำหรับข้อสงสัยที่ว่ารถชนเสาไฟฟ้า ประกันจ่ายไหม หากผู้ขับขี่ทำประกันรถยนต์ชั้น1 บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหายทั้งและให้ความคุ้มครองในส่วนของรถยนต์สำหรับการขับรถชนเสาไฟฟ้า เนื่องจากประกันรถยนต์ชั้น 1 นั้นครอบคลุมอุบัติเหตุรถชนแบบไม่มีคู่กรณี หากรถของคุณได้รับความเสียหายใด ๆ จากอุบัติเหตุโดยไม่สามารถระบุคู่กรณีได้

เช่น การขับรถรถชนรั้วบ้าน การขับรถชนเสาไฟฟ้า การขับรถชนต้นไม้ เป็นต้น บริษัทประกันจะชดเชยค่าซ่อมรถให้กับคุณตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยสามารถแจ้งเคลมกับบริษัทประกันได้เลย ทางบริษัทประกันจะเข้ามาตรวจสอบความเสียหาย และทำการเคลมให้กับคุณตามทุนประกันที่กำหนดไว้

หรือในกรณีที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจากการขับรถไปชนเสาไฟฟ้า บริษัทประกันจะช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลให้ตามที่จ่ายจริง นับเป็นการเพิ่มวงเงินค่ารักษาให้มากขึ้นจากการทำ พ.ร.บ. รถยนต์นั่นเอง

ส่วนกรณีที่ผู้ขับขี่ทำประกันรถชั้นอื่น ๆ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 2 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 3 ประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะไม่คุ้มครองการชนแบบไม่มีคู่กรณี โดยจะต้องเป็นการเคลมอุบัติเหตุรถชนรถ หรือการชนแบบมีคู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุรถไฟไหม้ ในกรณีนี้ผู้ขับขี่สามารถเคลมได้ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2 และประกันรถยนต์ชั้น 2+ เนื่องจากอยู่ในเงื่อนไขการคุ้มครองกรณีรถไฟไหม้อยู่แล้ว

ถ้าหากไม่มีประกันรถยนต์ ขอผ่อนได้ไหม

หากผู้ขับขี่ไม่มีเงินก้อนสำหรับการจ่ายค่ารถชนเสาไฟฟ้า ไม่มีประกันรถยนต์ หรือใช้ประกันรถยนต์ชั้น 2 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 3 ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ที่ไม่คุ้มครองในส่วนของการขับรถชนแบบไม่มีคู่กรณี หรือการที่ประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองให้แล้ว แต่ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายส่วนต่างที่เหลือ ผู้ขับขี่สามารถต่อรองค่าเสียหายและขอผ่อนจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยจะถือเป็นขั้นตอนการประนีประนอมหนี้ โดยการเข้าไปติดต่อกับสำนักงานของเจ้าของทรัพย์สิน หรือหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเสาไฟฟ้าต้นนั้น ๆ ที่ผู้ขับขี่ทำเสียหายนั้น

เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท หรือเทศบาลท้องถิ่น เพื่อขอปรึกษาค่าใช้จ่ายทั้งหมดว่าต้องการขอผ่อนชำระได้หรือไม่ หรือขอไกล่เกลี่ยหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่ ซึ่งการผ่อนจ่ายอาจจะมีดอกเบี้ยและมีงวดชำระให้ผู้ขับขี่ตามความเหมาะสม โดยสำนักงานของเจ้าของทรัพย์สิน หรือหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเสาไฟฟ้าต้นนั้น ๆ จะมีแนวทางในการผ่อนจ่ายมาบอกผู้ขับขี่ ซึ่งระเบียบการในการชดใช้ค่าเสียหายของเสาไฟฟ้าภาครัฐจะมีรายละเอียดระบุอยู่ในเอกสารต่าง ๆ

แต่ถ้าผู้ขับขี่เลือกที่หนีหนี้ ผู้ขับขี่จะมีความผิดตาม มาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งค่าเสียหายทั้งหมดที่ผู้ขับขี่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับที่ศาลจะตัดสิน ซึ่งค่าเสียหายอาจมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,000,000 บาท อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลที่พิจารณา

การขับรถควรมีสติตลอดเวลาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงมีการทำประกันรถยนต์เอาไว้เพื่อประกันความเสี่ยงหากเกิดความเสียหายจากการขับขี่ โดยเฉพาะการขับรถชนเสาไฟฟ้า เพราะประกันรถยนต์ชั้น 1 มีความโดดเด่นที่เหนือชั้นกว่าประกันภัยชั้นอื่น ๆ ก็คือ การให้ความคุ้มครองการชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ค่าซ่อมรถยนต์ของคุณกรณีที่ขับรถไปชนกับฟุตบาท ค่าซ่อมสีรถกรณีที่รถมีริ้วรอยต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการเฉี่ยวชนของคู่กรณี เป็นต้น

ซึ่งความคุ้มครองแบบนี้มีเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้น นอกจากนี้ประกันรถยนต์ชั้น 1 ยังมีความคุ้มครองที่เด่น ๆ คือ ความคุ้มครองรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยธรรมชาติอื่น ๆ และที่สำคัญที่สุดคือลูกค้าประกันรถยนต์ชั้น 1 จะได้รับการบริการสุด exclusive ยิ่งกว่าประกันชั้นอื่น ๆ โดยเฉพาะหากคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1 กับเราแรบบิท แคร์ คุณได้รับบริการ Send Driver Home ที่จะมอบค่ารถให้คุณกลับบ้านอย่างปลอดภัย (ซึ่งบริการนี้มีเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1 ของแรบบิทแคร์เท่านั้น!)

แม้ว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 จะมีราคาแพงที่สุด แต่เมื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับความคุ้มครองแล้ว จะถือเป็นประกันภัยรถยนต์ที่มีความคุ้มครองสูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติอื่น ๆ อุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ถึงแม้จะมีเบี้ยประกันที่ราคาสูง แต่จัดได้ว่าคุ้มค่ากับความคุ้มครอง และสำคัญอย่างมาก เพราะหลายบริษัทจะกำหนดให้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ทันทีที่ซื้อรถยนต์ป้ายแดงคันใหม่ หรือสำคัญกับผู้ที่ต้องการคุ้มครองรถยนต์คันโปรด หรือต้องเดินทางบ่อย ๆ เนื่องจากช่วยเพิ่มคุ้มครองเรื่องการซ่อมแซมได้ดีกว่าประกันชั้นอื่น ๆ นั่นเอง

ถ้าใครยังไม่รู้จะเลือกทำประกันรถชั้น 1 ที่ไหนดี ปรึกษาเรา แรบบิท แคร์ ได้เลย!

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

บทความแนะนำ

จุดบอด มุมอันตราย ที่มือใหม่ต้องระวัง
  • มุมอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ในทางไหนบ้าง? พร้อมแนวคำถามสำหรับการสอบใบขับขี่ และเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
ขับรถชนท้ายประกันจ่ายไหม ใครเป็นฝ่ายผิด
  • สำรวจกรณีชนท้ายทั้งในฐานะผู้ชนและผู้ถูกชน พร้อมดูว่าประกันจะครอบคลุมค่าเสียหายหรือไม่ในแต่ละกรณี
ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พรบได้ไหม
  • หากคุณประสบอุบัติเหตุและมี พ.ร.บ. รถยนต์ แม้คุณไม่ใช่เจ้าของรถ คุณสามารถเคลมค่าเสียหายจาก พ.ร.บ. ได้หรือไม่?
ขับรถชนคนเสียชีวิตประกันจ่ายให้หรือไม่
  • ขับรถชนคนเสียชีวิต ประกันและ พ.ร.บ. จะช่วยชดเชยค่าเสียหายหรือไม่? หากไม่มอบตัวและไม่เยียวยาผู้เสียหายมีบทลงโทษอะไรบ้าง?

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา