Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง และทำไมถึงไม่คุ้มครอง?

ประกันสุขภาพคืออะไร?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของอาคเนย์ประกันชีวิต ได้พูดถึงความหมายของประกันสุขภาพไว้ว่า ประกันสุขภาพ (Health insurance) นั้นเป็นการประกันภัยที่จะให้ความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาลเมื่อถึงยามจำเป็น และไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งแบบรับยาแล้วกลับบ้าน ไปจนถึงการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1. ประกันสุขภาพกลุ่ม (Group Health Insurance)

เป็นประกันสุขภาพที่ทางบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ นั้นนิยมทำให้กับพนักงานหรือบุคลากรภายในองค์กร เพื่อใช้มอบเป็นสวัสดิการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและใช้เป็นหลักประกันให้แก่พนักงานได้ โดยจะอยู่ภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งความคุ้มครองก็จะมีความแตกต่างกันไป และจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ๆ โดยข้อดีของประกันสุขภาพประเภทนี้ก็จะเป็น “ค่าเบี้ยประกันต่อคน” ที่อยู่ในอัตราต่ำ เนื่องจากว่าเป็นการคำนวณเบี้ยประกันเฉลี่ยที่ออกมาเป็นอัตราเดียวทั้งหมด และจะถูกใช้กับทุกคนในกลุ่มนั่นเอง จึงทำให้ค่าเบี้ยประกันโดยรวมนั้นต่ำกว่าประกันสุขภาพแบบรายบุคคล

2. ประกันสุขภาพส่วนบุคคล (Individual Health Insurance)

เป็นประกันสุขภาพที่ทำขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้เอาประกันรายบุคคลเท่านั้น โดยจะสามารถเลือกและกำหนดได้ตามความต้องการของในแต่ละบุคคล เพื่อจัดการให้เหมาะตามความเสี่ยง ดังนั้นประกันสุขภาพประเภทนี้จึงมีข้อดีในด้านของความมีอิสระ เนื่องจากว่าจะสามารถเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตนเองได้ ส่วนค่าเบี้ยประกันก็จะคำนวณตามอายุและเพศของผู้เอาประกันคนนั้น ๆ

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง 2566 มีอะไรบ้าง?

สำหรับโรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองนั้นจะมีรายการดังต่อไปนี้

  • โรคที่เกิดจากการแปลงเพศ
  • โรคที่ตรวจพบก่อนการทำประกันสุขภาพ
  • การนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยที่ชัดเจนหรือรุนแรง
  • โรคเรื้อรัง และมีภาวะโรคแทรกซ้อน
  • การติดสุราเรื้อรัง และสารเสพติดทุกชนิด
  • มีความบกพร่องมาตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • การรักษากับแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด เป็นต้น
  • การตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรค
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรค (ยกเว้นโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก)
  • การตรวจสายตา
  • การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของวัย
  • การเข้ารับการรักษาโดยที่ไม่ได้มีคำสั่งมาจากแพทย์
  • อุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนไหว เช่น ไม้เท้า รถเข็น เป็นต้น
  • การรักษาในระยะทดลอง
  • การตรวจรักษาจากการได้ยิน
  • การรักษาภายในช่องปาก
  • การผ่าตัดอวัยวะ
  • ค่าบริการที่มีการเรียกเก็บล่วงหน้า
  • การรักษาที่เกิดจากความเครียด

โรคประจำตัว มีอะไรบ้าง?

โรคประจำตัว (congenital disease) เป็นโรคที่ติดตัวหรือโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นจึงต้องมีการให้ยาอยู่เป็นประจำ โดยโรคประจำตัวนั้นอาจจะเกิดได้ทั้งจากกรรมพันธุ์และพฤติกรรม ซึ่งโรคประจำตัวยอดนิยมของคนไทยนั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคลมชัก ต้อหิน ต้อกระจก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน โรคไตเรื้อรัง ไขข้อเสื่อม หอบหืด ตับแข็ง ปอดอักเสบเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคอ้วน เป็นต้น

โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง?

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในเลือดสูง

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง?

สำหรับโรคร้ายแรงนั้นจะประกอบไปด้วยกลุ่มโรคทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่

  • 1. กลุ่มโรคมะเร็ง
  • 2. กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
  • 3. กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
  • 4. กลุ่มโรคภาวะอวัยวะล้มเหลว เช่น โรคปอดระยะสุดท้าย และไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง AIA มีอะไรบ้าง?

1. General Exclusion

คือ ข้อยกเว้นทั่วไปที่ประกันสุขภาพจะไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ได้แก่

  • โรคทางพันธุกรรม หรือภาวะที่เป็นผลมาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กำเนิด
  • การผ่าตัดเพื่อเสริมสวย หรือการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อเสริมความงาม
  • การตั้งครรภ์ การแท้งบุตร และการคลอดบุตร
  • การรักษาความผิดปกติทางเพศ และการแปลงเพศ
  • การตรวจสุขภาพทั่วไป หรือการร้องขอเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
  • การตรวจรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา และการทำเลสิก
  • การตรวจรักษาหรือการผ่าตัดเกี่ยวกับฟันหรือเหงือก ยกเว้นกรณีจำเป็นที่มาจากอุบัติเหตุ (แต่จะไม่รวมค่าฟันปลอม การครอบฟัน การรักษารากฟัน หรือการใส่รากเทียม)
  • การรักษาหรือการบำบัดสุรา ยาเสพติดให้โทษ หรือบุหรี่
  • การตรวจรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางจิต โรคทางจิตเวช หรือเครียด
  • การตรวจรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างทดลอง
  • การปลูกฝีหรือการฉีดวัคซีนป้องกันโรค (ยกเว้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก)
  • การตรวจรักษาที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน
  • การฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
  • การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้เอาประกันภัยนั้นก่ออาชญากรรม
  • การได้รับบาดเจ็บจากสงครามกลางเมือง การกบฏ การจลาจล การก่อความวุ่นวาย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก เป็นต้น

2. Personal Exclusion

คือ ข้อยกเว้นเฉพาะรายบุคคล เช่น คนที่เคยมีประวัติสุขภาพมาก่อนที่จะทำประกัน ก็อาจจะมีข้อยกเว้นในการรับประกันหรือเงื่อนไขในบางโรค

ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก คืออะไร?

  • ผู้ป่วยใน (IPD) ย่อมาจากคำว่า In Patient Department หมายถึงผู้ป่วยที่ต้องได้รับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยที่ต้องแอดมิด
  • ผู้ป่วยนอก (OPD) ย่อมาจาก Out Patient Department หมายถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ระยะเวลารอคอยในประกันสุขภาพ คืออะไร?

ระยะเวลารอคอย (WAITING PERIOD) คือ ระยะเวลาในการป้องกันโรค หรืออาการที่อาจจะเป็นมาก่อนหน้าที่จะมีการทำประกัน เนื่องจากว่าจะมีบางโรคที่ยังไม่แสดงอาการนั่นเอง ซึ่งโรคทั่วไปนั้นจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน ส่วนโรคที่ใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการออกมานั้นจะมีระยะเวลารอคอย 120 วัน ได้แก่ โรคไส้เลื่อน โรคต้อเนื้อ โรคต้อกระจก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การผ่าตัดต่อมทอนซิลและอดีนอยด์ เป็นต้น และในสัญญาเพิ่มเติมประเภทโรคร้ายแรงนั้นอาจจะมีระยะเวลารอคอยนานถึง 60-120 วัน

ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

เรื่องสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะในปัจจุบันนี้คนเราต่างใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ที่เรานั้นไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราเจ็บป่วยขึ้นมาเมื่อใด สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเตรียมนั่นก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งถ้าหากใครที่ไม่ได้มีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจจะลำบากได้ ดังนั้นการเลือกทำประกันสุขภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะประกันสุขภาพจะช่วยรองรับความเสี่ยงด้วยวงเงินคุ้มครองด้านสุขภาพในยามฉุกเฉิน ช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท อีกทั้งยังช่วยคลายกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาได้อีกด้วย เจ็บป่วยเล็กน้อยก็เคลมได้

ซื้อประกันสุขภาพผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

เมื่อซื้อประกันสุขภาพผ่านโบรกเกอร์ชั้นนำอย่างแรบบิท แคร์ คุณจะสามารถเข้าถึงความคุ้มครองได้อย่างรวดเร็วและได้รับความคุ้มครองอย่างง่าย ๆ โดยที่เบี้ยประกันนั้นมีราคาที่ถูก เพราะคุณจะได้รับแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ดีที่สุดจากการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่หลากหลาย อีกทั้ง แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษให้คุณอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพรายปี ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันสุขภาพรายเดือน ประกันสุขภาพแบบไม่ต้องสำรองจ่าย หรือประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี และนอกจากนี้ก็ยังมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ง่ายดาย และสะดวกรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลาติดต่อตัวแทนขายประกันสุขภาพทีละบริษัทแต่อย่างใด

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

คุ้มครองค่าผ่าตัด และเงินปลอบขวัญ

ประกันชดเชยรายได้

  • ชดเชยรายได้สูงสุด 1,500 บาท/วัน มากสุด 365 วัน
  • ผ่าตัดใหญ่ รับเงินก้อนสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง
  • รับเงินปลอบขวัญสูงสุด 1,500 บาท/ครั้ง หลังออกจาก รพ.
  • กรณีเสียชีวิต รับเงินก้อน สูงสุด 3 แสนบาท
  • เบี้ยประกันภัย เริ่มต้นเพียง 4 บาท/วัน
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ชำระเบี้ยสั้น 5 ปี
ประหยัดเบี้ยประกันภัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

  • เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5 ล้านบาท/ปี
  • เบี้ยประกันภัย เริ่มต้นวันละไม่เกิน 30 บาท
  • รับเงินชดเชยสูงสุด 2,000 บาท/วัน
  • ค่าห้อง ค่าอาหารใน รพ. สูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี - 70 ปี
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ลดหย่อนภาษีได้
ประกันสุขภาพ Gen Health Lump Sum

ประกันสุขภาพ

  • เหมาจ่าย สูงสุด 1 ล้าน ไม่จำกัดวงเงิน
  • ค่าห้อง สูงสุด 8,000 บาท/วัน รวมถึงห้องจากรพ.ในเครือ BDMS
  • คุ้มครองกว่า 100 อาการ รวมโรคร้าย และ โควิด-19
  • ค่ารักษาทั่วไป สูงสุด 1,500 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้ง/ปี)
  • คุ้มครองค่าจ้างพยาบาลพิเศษ สูงสุด 1,000 บาท/วัน (สูงสุดไม่เกิน 15 วัน/ปี)
  • สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 6-65 ปี (ต่ออายุถึง 70 ปี)
  • เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น เพียง 22 บาท/วัน
ประกันสุขภาพ วิริยะ โกลด์ โดย BDMS

ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ

  • คุ้มครองผู้ป่วยใน สูงสุด 5 ล้านบาท/ครั้ง
  • คุ้มครองผู้ป่วยนอก สูงสุด 2,500 บาท/วัน (เมื่อซื้อความคุ้มครองเพิ่ม)
  • คุ้มครองค่าห้องผู้ป่วย สูงสุด 15,000 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 365 วัน)
  • ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน เมื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาล กรุงเทพและในเครือ BDMS
  • คุ้มครองการรักษา ด้วยเคมีบำบัด สูงสุด 100,000 บาท/ปี (เฉพาะผู้ป่วยนอก)
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน - 65 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนสมัคร

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา