Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เกียร์หลุด เกียร์ค้าง อันตรายแค่ไหน? สามารถรับมืออย่างไรได้บ้าง?

การขับรถ หรือการใช้รถบนท้องถนนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คน บางคนใช้รถเพื่อไปทำงาน แต่รู้ไหมว่าทุกความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการเกียร์หลุด เกียร์ค้าง ว่ามันคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร แล้วอันตรายหรือไม่ มีวิธีการรับมือหรือแก้ไขอย่างไร แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์ที่คุณมีอยู่คุ้มครองหรือไม่ หาคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้

เกียร์หลุด เกิดจากอะไร?

เมื่อเราใช้รถยนต์ไปนาน ๆ สิ่งที่จะตามมาแน่นอนคือการเสื่อมสภาพจากรถยนต์ ดังนั้นปัญหาเกียร์หลุด เกียร์ค้าง เกิดจากการใช้งานเป็นระยะเวลาที่ยาวนานอ้างอิงจาก Yukon ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเครื่อง นอกจากนี้ยังเกิดจากบูชคันเกียร์สึกหรอตามการใช้งาน เนื่องจากส่วนมากบูชคันเกียร์ทำมาจากวัสดุที่เป็นพลาสติก ถึงแม้ว่าโอกาสจะเกิดมีน้อย แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็อันตราย เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ลักษณะของอาการเกียร์ค้าง คือผู้ขับขี่ไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ เพราะมันค้างอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งนั่นเอง เช่น หากเกียร์ค้างอยู่ที่ตำแหน่งตัว R รถก็จะถอยหลัง แต่ถ้าค้างอยู่ที่ตัว D รถก็จะดิ่งไปข้างหน้า ทำให้มีโอกาสที่จะไปชนกับรถคันข้างหน้าได้

หากเกียร์หลุดกลางถนน ต้องรับมืออย่างไร?

หากเกียร์หลุด เกียร์ค้างกลางถนน สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือการตั้งสติ อย่าพึ่งตื่นตระหนกตกใจ พยายามขับและประคองรถแล้วชิดขอบทางไว้ก่อน หลังจากนั้นให้เหยียบเบรคค้างเอาไว้เพื่อให้รถหยุดนิ่ง จึงทำการดับเครื่องยนต์ทันที โดยให้พยายามติดต่อช่าง หรือโทรไปเบอร์ฉุกเฉิน เพื่อทำการซ่อมแซมต่อไป

สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือการดึงเบรกมือขึ้น เพื่อให้รถหยุดทันที เป็นความเชื่อที่ผิด และเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้รถเกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การพยายามเปลี่ยนเกียร์และเหยียบคันเร่ง เป็นการกระทำที่ผิดมาก ๆ ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณเอง รวมไปถึงรถคันอื่นบนท้องถนน

เกียร์ค้าง ทำไงดี?

หากคุณขับรถอยู่บนท้องถนน แล้วพบว่าเกิดอาการเกียร์ค้าง ไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ ซึ่งปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกตำแหน่งเกียร์ ได้แก่ P R N D 2 L หรือตำแหน่งอื่นๆ ดังนั้นเหยียบเบรก และค่อยๆเปลี่ยนเกียร์ ไม่ควรเปลี่ยนกะทันหันเพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ความเสี่ยงที่จะเกิดเกียร์หลุด คืออะไร?

ความเสี่ยงที่จะเกิดเกียร์หลุด คือมาจากการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ภายในรถยนต์ที่เรียกว่า “บูชคันเกียร์” โดยอุปกรณ์นี้จะโยงสายตรงไปที่เกียร์ หากมันเสื่อมสภาพ หลุด หรือแตก ก็จะทำให้เกิดสายโยงเกียร์หลุด และทำให้ไม่สามารถเข้าหรือเปลี่ยนเกียร์ได้

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แรบบิท แคร์ แนะนำให้คุณนำรถไปเช็กสภาพให้อยู่ในสถานะที่พร้อม ก่อนออกเดินทางไกลไปต่างจังหวัด และควรนำรถเข้าศูนย์เมื่อรถถูกใช้มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ห้ามละเลยเด็ดขาด เพราะรถยิ่งเก่า ปัญหาที่ตามมายิ่งเยอะกว่ารถใหม่

รถเกิดอาการเกียร์หลุด เกียร์ค้างแก้ไขอย่างไร?

วิธีแก้ไข เมื่อรถเกิดอาการเกียร์หลุด มีอยู่ 5 วิธีที่แรบบิท แคร์ พยายามรวบรวมมาให้ มีดังนี้

1. ตั้งสติ การตั้งสติเป็นสิ่งแรกที่ผู้ขับขี่ควรจะทำ เมื่อพบเจอปัญหาเกียร์ค้าง เพราะถ้าหากคุณตระหนกตกใจ จะทำให้คุณตัดสินใจเหยียบคันเร่งหรือดึงเกียร์ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวรถ และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนหรือเดือดร้อนผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่น คุณควรรีบตั้งสติ และเหยียบเบรกก่อนเป็นอันดับแรก
2. ห้ามดึงเบรกมือเด็ดขาด นอกจากตั้งสติและเหยียบเบรกแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรทำเลยคือการดึงเบรกมือ ถึงแม้มันจะช่วยให้รถหยุดสนิทได้ในเวลาเดี๋ยวนั้นเลย แต่มันอาจจะทำให้เครื่องกระตุก และระบบภายในของรถยนต์เกิดความผิดปกติและเสียหาย อาจทำให้ต้องเสียค่าซ่อมที่แพงขึ้นได้
3. กดปุ่มสัญญาณไฟฉุกเฉิน หลังจากเหยียบเบรกเพื่อให้รถหยุด สิ่งที่คุณควรทำหลังจากนี้คือนำรถเข้าข้างทาง และกดเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อเป็นการแจ้งและให้ทางกับผู้ขับขี่ท่านอื่นบนท้องถนน และเพื่อให้รถคันข้างหลังทราบว่าเกิดปัญหา เพื่อนที่จะหลีกเลี่ยงเส้นทางและไม่ขับมาชนท้ายคุณ
4. เข้าเกียร์ P เมื่อนำรถเข้าข้างทางและเปิดไฟฉุกเฉินแล้ว ให้คุณพยายามผลักเกียร์หรือดึงกลับมาที่เกียร์ P เพื่อให้รถจอดนิ่ง หลังจากนั้นให้ดับเครื่องทันที ในขั้นตอนนี้ ระมัดระวัง อย่างเข้าเกียร์ D หรือ R เด็ดขาดเพราะมันอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น
5. ติดต่อช่าง หลังจากดับเครื่องยนต์แล้ว แนะนำให้คุณติดต่อช่างซ่อมรถ หรือศูนย์บริการรถยนต์ เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบและรีบแก้ไข โดยเบอร์สามารถเสิร์ชหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์หรืออู่ซ่อมรถ บริเวณจุดเกิดเหตุ

เกียร์หลุด เกียร์ค้าง ซ่อมแพงไหม?

หากคุณพบเจอกับสถานการณ์เกียร์หลุด การซ่อมเกียร์ จะมีอยู่ทั้งหมด 5 องค์ประกอบ และแต่ละส่วน มีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

  1. ชุดเฟืองเกียร์ : ราคาประมาณ 4,000 บาท
  2. ปลอกเหล็กตัวใน : ราคาประมาณ 1,300 บาท
  3. เฟืองเกียร์ : ราคาประมาณ 5,000 บาท
  4. กาวทีบอน : ราคาประมาณ 400 บาท
  5. น้ำมันเกียร์ : ราคาประมาณ 1,200 บาท

เหล่านี้คือราคาคร่าว ๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อเกียร์หลุด เกียร์ค้าง โดยราคายังไม่รวมอัตราค่าบริการ ดังนั้น แรบบิท แคร์ แนะนำให้เอารถเข้าอู่ หรือศูนย์ซ่อม เพื่อทำการประเมินราคา

หลักการใช้เกียร์ที่ปลอดภัย?

เพื่อความปลอดภัย แรบบิท แคร์ จะยกตัวอย่างการขับรถขึ้นเขา โดยใช่เกียร์ออโต้ ควรใช้เกียร์ D เป็นหลัก แต่ถ้าหากระยะทางมีความชันมากให้ใช้เกียร์ D1-D2 และไม่ควรเข้าเกียร์ P หรือ เกียร์ N หากต้องการเบรกก็ควรแตะเบรกเบา ๆ เพื่อเป็นการชะลอความเร็วเท่านั้น ไม่ควรดึงเบรกมือขึ้นเพื่อให้รถหยุดนิ่ง เพราะมันอันตรายต่อตัวคุณเองและเพื่อนร่วมทาง และไม่ควรเหยียบเบรกค้างเพราะจะทำให้ผ้าเบรกไหม้ได้ ซึ่งความเร็วในการขับควรอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง

อันตรายจากเกียร์หลุด มีอะไรบ้าง?

อาการเกียร์หลุด อันตรายกว่าที่คุณคิด เพราะหากมันหลุดเข้าไปในตำแหน่งเกียร์ R หรือเกียร์ถอยหลัง จะทำให้คุณเข้าเกียร์ไม่ได้ และไม่สามารถควบคุมทิศทางของรถยนต์ได้ ไม่ว่าจะดันเกียร์ไปในตำแหน่ง P, D, N รถจะถูกสั่งให้ถอยหลังทั้งหมด ความอันตรายคือ หากคุณไม่มีสติ รถอาจชนกำแพง รั้ว หรือรถคันอื่น ๆ ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ ผู้ขับขี่ทุกคนควรหมั่นตรวจเช็กสายโยงเกียร์ และหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ โดยอาจสังเกตจากสีของน้ำมัน

วิธีป้องกันเพื่อรับมือกับอาการเกียร์หลุด เกียร์ค้าง

เมื่อรู้แล้วว่าอาการเกียร์หลุดอันตรายแค่ไหน ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้และศึกษาต่อไปคือวิธีการรับมือกับเหตุการณ์นี้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. จัดการบริเวณห้องคนขับให้ปราศจากสัมภาระต่าง ๆ
ตรวจสอบบริเวณห้องคนขับและจัดความเรียบร้อย บริเวณนั้นจะต้องไม่มีสัมภาระหรือสิ่งกีดขวางที่อาจขจัดขัดขวางการทำงานของเกียร์ เช่น รองเท้า ขวดน้ำ กระเป๋า เป็นต้น หากมีให้รีบเก็บออกให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
2. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
สำหรับผู้หญิงที่บางท่านอาจใส่รองเท้าส้นสูงในชีวิตประจำวัน แนะนำให้เปลี่ยนเป็นรองเท้าแตะธรรมดาในระหว่างขับรถ เพราะหากเป็นรองเท้าส้นสูงจะทำให้คุณไม่สามารถเหยียบเบรกได้เต็มฝ่าเท้า
3. เหยียบเบรกก่อนเข้าเกียร์
ในการเปลี่ยนเกียร์ทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์อะไรก็แล้วแต่ ผู้ขับขี่ต้องเหยียบเบรกก่อนทุกครั้ง หลังนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยเบรกเพื่อให้รถเคลื่อนที่ตามคำสั่งอย่างช้า ๆ หากตรงตามจุดประสงค์ของเรา จึงค่อยทำการเหยียบคันเร่งตาม แต่ถ้าพบว่ารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ห้ามปล่อยเบรกอย่างรวดเร็ว เพราะอาจทำให้รถเสียหลัก และผู้ขับขี่เองอาจตกใจ ควบคุมรถไม่ได้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

หากรถยนต์ของคุณเกิดอุบัติเหตุ เช่นรถไปชน เนื่องจากเกียร์หลุดหรือเกียร์ค้างประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะให้ความคุ้มครอง ดังนั้นอย่าลังเลที่จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 จากแรบบิท แคร์ เพราะมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดเหตุวันและเวลาไหนก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีบริการรถเช่าสำรอง 3 วัน หากรถต้องเข้าศูนย์เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ และยังมีศูนย์ซ่อมครอบคลุมทั่วประเทศ และถ้าหากขับดีไม่มีเคลม เบี้ยประกันปีหน้าลดสูงสุด 70% หากสนใจโทรเลย 1438

ความคุ้มครองประกันรถยนต์