Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันมอเตอร์ไซค์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

ถังน้ำมันทั่วไปเป็นอย่างไร

เฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?

เฟืองคืออะไร?

เฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์ (Differential หรือ Final Gear) นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์ในรถจักรยานยนต์ที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ แล้วผ่านระบบส่งกำลังเพื่อไปยังระบบขับเคลื่อนหรือล้อรถมอเตอร์ไซค์ แล้วทำให้เกิดการหมุนและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั่นเอง โดยเฟืองท้ายรถมอเตอร์ไซค์นั้นจะมีอยู่ทั้งในรถที่ขับเคลื่อนล้อหน้าและรถที่ขับเคลื่อนล้อหลัง เพียงแต่ในรถที่มีการขับเคลื่อนล้อหน้านั้นจะมีเฟืองท้ายที่รวมอยู่ในห้องเกียร์นั่นเอง ดังนั้นเฟืองท้ายรถมอเตอร์ไซค์จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนที่สำคัญในระบบการขับเคลื่อนของรถมอเตอร์ไซค์ เช่น เฟืองท้าย pcx หากไม่ได้มีการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจจะทำให้เฟืองท้ายรถมอเตอร์ไซค์นั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้น้อยลง เพราะฉะนั้นจึงควรมีการดูแลรักษาเฟืองท้ายรถมอเตอร์ไซค์อย่างสม่ำเสมอและมีการเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายอย่างถูกวิธีด้วย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหรือประสิทธิภาพในการทำงานของเฟืองท้ายรถมอเตอร์ไซค์ได้นั่นเอง

ส่วนประกอบเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์มีอะไรบ้าง?

เฟืองบายศรี (Differential Pinion)

จะทำหน้าที่ในการลดอัตราทดการหมุนจากเฟืองเดือยหมู โดยจะเปลี่ยนทิศทางในการหมุนเพื่อส่งแรงไปยังเพลาทั้ง 2 ข้าง

เฟืองเดือยหมู (Bevel Pinion)

จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลังของเครื่องยนต์จากชุดเกียร์ไปยังเฟืองบายศรี

เฟืองข้าง (Side Gear)

จะติดอยู่กับเพลาทั้งข้างซ้ายและข้างขวา คอยทำหน้าที่ในการส่งกำลังไปยังล้อรถเพื่อให้รถเกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

เฟืองดอกจอก (Differential Gear)

คอยทำหน้าที่ในการแบ่งแยกกำลังที่ถูกส่งไปยังเพลาข้างทั้งข้างซ้ายและข้างขวาให้แตกต่างกันในขณะที่รถมอเตอร์ไซค์กำลังเข้าโค้ง

เฟืองท้ายลิมิเตดสลิป (LIMITED SLIP DIFFERENTIAL)

เป็นเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์ระบบพิเศษที่จะคอยทำหน้าที่ล็อกล้อรถทั้ง 2 ข้างนั้นหมุนด้วยความเร็วที่เท่ากัน ถึงแม้ว่าล้ออีกด้านจะหมุนฟรีอยู่ก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องรถติดหล่ม ติดโคลนลึก และยังสามารถใช้งานในพื้นที่เปียกลื่นหรือทางที่เป็นโคลนได้ดีอีกด้วย

เฟืองมีกี่ชนิด?

เฟืองที่ใช้ในอุตสาหกรรมจะมีทั้งหมด 8 ชนิดด้วยกัน ดังนี้

เฟืองเกลียวสกรู (spiral Gears)

ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบส่งกำลังที่มีกำลังมาก ๆ เพราะเฟืองมีการเคลื่อนที่ส่งกำลังที่ลื่นไถลระหว่างผิวของฟันเฟืองคู่ที่ใช้ส่งกำลัง แต่จะเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในระบบส่งกำลังของรถยนต์ หรือเครื่องจักรที่ต้องเปลี่ยนมุมในการส่งกำลัง

เฟืองตัวหนอน (worm Gears)

ประกอบไปด้วยล้อตัวหนอน (Worm Wheel) และตัวเฟือง (Worm Gear) ที่มีการทำงานแบบ Self-locking ที่ทำมุมกัน 90 องศา มีเสียงเงียบ และมีแรงสั่นสะเทือนที่น้อย แต่ข้อเสียคือจะมีการสูญเสียพลังงานที่สูง และจะเกิดแรงกระทำบนตัวหนอนที่สูงไม่แพ้กันเลย

เฟืองดอกจอก (Bevel Gears)

มักจะถูกนำไปใช้ในยานพาหนะทั้งทางบกและทางน้ำ เช่น ยานยนต์ในระบบส่งกำลังและขับเคลื่อน เพราะมีการส่งถ่ายกำลังสูง แข็งแรง ทนทาน เสียงเงียบ และมีอัตราการทดที่มากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะประกอบยากด้วยเช่นเดียวกัน

เฟืองเฉียง (Helical Gears)

จะมีลักษณะคล้ายเฟืองตรง แต่แนวของฟันเฟืองจะเฉียงทำมุมออกไปตามการใช้งาน โดยจะสามารถรับแรงโหลดได้มากกว่าเฟืองตรงที่มีขนาดเท่ากัน เพราะฟันเฟืองที่เอียงและพื้นที่หน้าสัมผัสที่มากกว่าเฟืองตรง

เฟืองเฉียงก้างปลา (Herringbone Gears)

เป็นเฟืองที่ถูกพัฒนามาจากเฟืองเฉียง เวลาทำงานจะไม่มีเสียง และสามารถรับแรงโหลดได้มากกว่าเฟืองตรง อีกทั้งในขณะที่ทำงานก็จะเกิดแรงสั่นสะเทือนที่น้อยกว่าเฟืองตรงอีกด้วย

เฟืองวงแหวน (Internal Gears)

เช่น เฟืองปั๊มน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ โดยจะมีเฟืองตัวเล็กอยู่ภายในคอยทำหน้าที่เป็นตัวขับ ส่วนเฟืองตัวใหญ่จะหมุนในลักษณะการเยื้องศูนย์ เพื่อดูดน้ำมันเครื่องแล้วส่งไปใช้งานต่อได้

เฟืองสะพาน (Rack Gears)

มักจะถูกนำไปใช้ในการส่งถ่ายกำลังในเครื่องจักรกล

เฟืองตรง (Spur Gears)

เป็นเฟืองที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะหาซื้อง่าย มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ง่ายต่อการประกอบ และมักจะถูกนำมาใช้ในระบบส่งกำลัง

น้ำมันเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์ต้องเปลี่ยนตอนไหน?

น้ำมันเฟืองท้ายหรือน้ำมันเกียร์นั้นจะใช้เป็นน้ำมันตัวเดียวกันสำหรับในรถที่ขับเคลื่อนล้อหน้า ดังนั้นจึงสามารถใช้ร่วมกันได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นรถที่ขับเคลื่อนล้อหลังนั้นจะต้องแยกเบอร์ความหนืดของน้ำมันเฟืองท้ายเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นมาตรฐาน GL-4 จะเหมาะสำหรับเกียร์ ส่วนน้ำมันหล่อลื่นมาตรฐาน GL-5 นั้นจะเหมาะสำหรับเฟืองท้ายมากกว่า เพราะจะต้องใช้ความหนืดที่มากกว่าจากฟันเฟืองเดือยหมูและเฟืองบายศรีที่มีการเสียดสีกันอย่างรุนแรงนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นมาช่วยลดการสึกหรอไปในตัวด้วย ซึ่งเบอร์ความหนืดที่นิยมใช้จะมีทั้งหมด 2 เบอร์หลัก ๆ ด้วยกัน นั่นก็คือเบอร์ความหนืด SAE 90 ที่จะเหมาะกับรถยนต์ใช้งานทั่วไป ส่วนเบอร์ความหนืด SAE 140 นั้นจะเหมาะกับรถที่ใช้งานหนัก เช่น รถบรรทุก รถขนของ เป็นต้น เพราะว่าเฟืองท้ายนั้นจะใช้งานหนักกว่ารถยนต์ปกติทั่วไปจึงต้องเลือกใช้ความหนืดที่มากกว่านั้นเอง

วิธีการดูแลรักษาเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์?

  • ควรตรวจสอบเบอร์ความหนืดน้ำมันเฟืองท้ายของรถประเภทนั้น ๆ ให้ถูกต้อง เพื่อการใช้งานของรถที่ราบรื่น เช่น รถต้องใช้น้ำมันเฟืองท้ายเบอร์ความหนืด SAE 90 แต่ไปเติมเป็น SAE 140 แทนลงไป ก็จะทำให้รถนั้นอืดขึ้นกว่าเดิม วิธีแก้ไขก็คือการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายอันที่ผิดออก แล้วเติมน้ำมันเฟืองท้ายอันที่ถูกเข้าไปใหม่ตามปกติ
  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร เพราะถ้าหากว่าไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายเลย ก็จะทำให้เฟืองท้ายนั้นเกิดการสึกหรอมากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจะถึงขั้นเสียหายหนักขึ้นมาได้
  • สำหรับรถยนต์ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า สามารถใช้น้ำมันเกียร์เบอร์เดียวกันกับเฟืองท้ายได้เลยเช่นกัน
  • ควรเลือกใช้น้ำมันเฟืองท้ายที่มีมาตรฐาน GL-4 หรือ GL-5 เช่น SAE 80W-90 และ SEA 85W-140 รวมไปถึงรถที่มีเฟืองท้ายลิมิเตดสลิป (LIMITED SLIP DIFFERENTIAL) ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกัน

หากเกิดความเสียหายขึ้นกับเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์ แบบนี้ทางบริษัทประกันภัยจะรับเคลมไหม?

ถ้าหากว่าเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์นั้นเกิดความเสียหายขึ้นมาโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น เฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์เสื่อมสภาพจากอายุการใช้งาน หรือว่าเฟืองท้ายมอเตอร์ไซค์เกิดการคดงอจากอุณหภูมิสภาพแวดล้อมทั่วไป แบบนี้ทางบริษัทประกันภัยจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองหรือจะเคลมไม่ได้นั่นเอง แต่ถ้าหากว่ามีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นก็จะสามารถเคลมได้ เพราะว่าอยู่ในแผนความคุ้มครองของประกันรถมอเตอร์ไซค์นั่นเอง

ความคุ้มครองประกันรถจักรยานยนต์

ตารางความคุ้มครอง    
 
ผลประโยชน์ 
ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 1ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2+ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3+ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3
คู่กรณี
บุคคล ✔️✔️✔️✔️✔️
ทรัพย์สินของคู่กรณี✔️✔️✔️✔️✔️
รถของผู้เอาประกันภัย
การชนแบบมีคู่กรณี✔️✔️✔️
การชนแบบไม่มีคู่กรณี✔️
ไฟไหม้✔️✔️✔️
รถหาย✔️✔️✔️
ภัยธรรมชาติ✔️✔️✔️
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง✔️✔️
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล
อุบัติเหตุส่วนบุคคล✔️✔️✔️✔️✔️
การรักษาพยาบาล✔️✔️✔️✔️✔️
การประกันตัวผู้ขับขี่✔️✔️✔️✔️✔️

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรเลือกทำประกันภัยมอเตอร์ไซค์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

สำหรับลูกค้าท่านใดที่ต้องการจะเน้นไปที่ความคุ้มครองของตัวรถและผู้ขับขี่แบบสูงสุด และยิ่งถ้าเป็นรถมือหนึ่งนั้นการเลือกทำประกันรถมอเตอร์ไซต์ชั้น 1 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ควรทำมากที่สุด เพราะว่าจะได้รับความคุ้มครองทั้งตัวคู่กรณีและตัวผู้เอาประกันเอง หรือถ้าไม่มีคู่กรณีก็ยังคุ้มครองอีกด้วยสำหรับในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา อีกทั้งยังคุ้มครองค่าเสียหายของรถและค่ารักษาพยาบาลได้อีก เพราะว่ามอเตอร์ไซค์ก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่ดีไม่แพ้รถยนต์เหมือนกัน โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ที่มีราคาแพงนั้น ประกันชั้น 1 ก็จะถือว่าตอบโจทย์และครอบคลุมในทุกความต้องการได้มากที่สุดอีกด้วย

ซื้อประกันมอเตอร์ไซค์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

อันดับแรกเลยคือลูกค้าจะสามารถมั่นใจได้อย่างเต็มที่ว่าจะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มวางแผนซื้อประกันภัยกับทางแรบบิท แคร์ เพราะว่าแรบบิท แคร์ นั้นมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันออนไลน์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็วทันใจ ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็สามารถที่จะรู้ราคาของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศได้เลย ทำให้ลูกค้าได้เลือกสรรแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์และได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา