Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info
🎵 เดือน 10 นี้!! Rabbit Care แจกลำโพง Marshall Emberton 2 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 13,490 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Fed
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Aug 17, 2023
Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐ หน่วยงานทรงอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก

Fed (เฟด) เป็นชื่อที่คุ้นหูเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อเวลามีรายงานข่าวทางการเงินหรือเศรษฐกิจในระดับโลก โดยทุกครั้งที่ Fed การขยับตัวไม่ว่าจะเป็นออกนโยบายทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ หรือว่าจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ย่อมเป็นที่จับตามองจากสำนักข่าวต่าง ๆ และส่งแรงกระเพื่อมต่อโลกของการเงินและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ก็ถือเป็นโอกาสดีที่น้องแคร์จะขออาสาพาทุกคนไปรู้จักกับ Fed กันให้มากขึ้นว่า Fed คืออะไร? มีหน้าที่หรือรับผิดชอบต่อสิ่งใดกันบ้าง รับรองได้เลยว่าเพื่อน ๆ ทุกคนจะรู้จักกับหน่วยงานนี้กันมากขึ้นอย่างแน่นอน

Fed คืออะไร? เป็นหน่วยงานที่สำคัญอย่างไรกับเศรษฐกิจ?

Fed คือ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา มีชื่อเต็ม ๆ ว่า The Federal Reserve System โดยเป็นหน่วนงานกลางที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมเสถียรภาพการเงินของประเทศในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเฟ้อ รักษาระดับอัตราการว่างงาน ดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินภายในประเทศ ผ่านนโยบายการเงิน อีกทั้งยังรวมถึงดูภาพรวมสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

โดย Fed ประกอบไปด้วย 3 หน่วยงานย่อยที่ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลด้านต่าง ๆ อันได้แก่ Federal Reserve banks หรือธนาคารกลางส่วนภูมิภาคอีก 12 แห่งที่ตั้งอยู่ในรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา, Board of governors และ Federal Open Market Committee (FOMC) ซึ่งหน้าที่ของ Fed ก็ยังคงเหมือนกับธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกอีกด้วย

Fed มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?

Fed มีหน้าที่หลัก ๆ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นการ ควบคุมตัวเลขเงินเฟ้อและเงินฝืดให้อยู่ภายในกรอบที่กำหนดไว้ กำหนดอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ และเรื่องต่าง ๆ ทางด้านการเงินของสหรัฐอเมริกาดังต่อไปนี้

  • Fed จะดําเนินนโยบายการเงิน (Monetary Policy) เพื่อส่งเสริมการจ้างงานให้อยู่ในระดับสูง ควบคุมอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • ให้ความดูแลและสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันการเงินภายในประเทศ และ เฟดจะเฝ้าและติดตามปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดกระทบต่อระบบการเงินโดยรวมในระบบเศรษฐกิจ
  • เพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านการใช้เครื่องมืออย่างนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Quantitative Easing : QE) โดยเฟดจะเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบทางการเงิน หรือว่าจะใช้เลือกใช้เป็น Quantitative Tightening (QT) นำเงินออกจากระบบกลับเพื่อลดความร้อนแรงและผันผวนของเศรษฐกิจ
  • Fed จะเข้ามาดูแลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชําระเงินภายในประเทศ
  • ทำการพัฒนา ส่งเสริมการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการบริโภคในภาคประชาชนอันเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ หรือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น
  • Fed จะทำการควบคุมอัตตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินภายในประเทศอย่างดอลลาร์สหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

FOMC คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับ Fed?

คณะกรรมการ Federal Open Market Committee หรือ FOMC คือ 1 ใน 3 องค์ประกอบที่สำคัญของ Fed โดยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการเงิน (Monetary Policy) รวมไปถึงนโยบายต่าง ๆ และเครื่องมือทางเศรษฐกิจหลักให้กับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และกำหนดของเงินสำรองภายในประเทศ ซึ่งก็คือจำนวนเงินที่ต้องถือไว้ภาวะฉุกเฉิน จากทัั้งหมดที่กล่าวมาเพื่อที่จะได้คงสเถียรภาพทั้งทางด้านการเงินและระบบเศรษฐกิจ

โดยตัว FOMC ของเฟดจะมีการการจัดประชุมใหญ่ปีละ 8 ครั้งเพื่อเป็นการกำหนดภาพรวมของการดำเนินงาน กำหนดนโยบายทางทางการเงินต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่จะใช้ในการรับมือหรือกระตุ้นให้เศรษฐกิจให้ยังมีความราบรื่น โดยที่สามารถเข้าไปดูกำหนดการประชุมตลอดทั้งไป รวมไปถึงผลการประชุมได้ที่หน้าเว็ปไซต์หลักของ Fed

Fed ขึ้นดอกเบี้ย คืออะไร มีผลอย่างไรกับเศรษฐกิจ?

การปรับลดรวมไปถึงการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย คือ หนึ่งในเครื่องมือทางของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ใช้ในการควบคุมด้านการเงินและระบบเศรษฐกิจภาพรวมภายในประเทศ โดยเป็นหนึ่งในมาตราการทางการเงินที่สำคัญของเฟดที่ออกโดย FOMC หรือ Federal Open Market Committee โดยที่อัตราดอกเบี้ย Fed มีอีกชื่อหนึ่งว่า Fed Fund Rate

Fed Fund Rate คือ อะไร ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจอย่างไร

Fed Fund Rate คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ซึ่งเป็นดอกเบี้ยกลางที่ทางธนาคารกลางสหรัฐกำหนดออกมาเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ภายในประเทศนำไปเป็นแนวทางในการปรับใช้เป็นดอกเบี้ยเพื่อการกู้ยืมหรือว่าเป็นดอกเบี้ยเงินฝากให้กับประชาชนโดยทั่วไป

โดยผลของจากการที่ Fed กำหนด Fed Fund Rate (FFR) จะส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจจริงหรือที่เรียกว่า Real Sector ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงิน การออมเงิน โดยกระทบเป็นวงกว้าง เพราะว่า FFR ถือว่าเป็นดอกเบี้ยกลางที่ใช้อ้างอิงในทุก ๆ ดอกเบี้ย โดยถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการควบคุมปริมาณเงินในระบบ

โดยการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย คือ การชะลอการใช้จ่ายในภาคเศรษฐกิจ ในทางกลับกันหากธนาคารกลางสหรัฐมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำก็เพื่อเป็นการกระตุ้นด้านเศรษฐกิจ ให้ภาคเอกชนสามารถกู้เงินมาลงทุนด้วยดอกเบี้ยต่ำ กระตุ้นการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน

ทำไมนโยบายของ Fed และการปรับอัตราดอกเบี้ยถึงส่งกระทบทั่วโลก?

ด้วยการที่ Fed หรือ The Federal Reserve System ซึ่งเป็นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ถือว่ามีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก เมื่อเฟดออกนโยบบายทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาโดยที่เล็งผลลัพท์ไปที่ประเทศของตนเอง แต่สุดท้ายแล้วผลที่ได้ก็จะสัมพันธ์ไปกับระบบเศรษฐกิจของทั้งโลกด้วย

ทำให้ในการประชุมของ Fed ในแต่ละครั้งจึงเป็นที่จับตามองของทั้งธนาคารกลางในแต่ละประเทศ รวมถึงภาคเอกชนและประชาชนต่าง ๆ เนื่องจากถ้ามาตราการที่ออกมาจาก Fed ก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ก็จะทำการออกมาตราการหรือนโยบายต่าง ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ผลลัพธ์ก็จะวนมาที่ภาคประชาชนทั่วไปในที่สุด

แม้ว่า Fed จะไม่ได้เกี่ยวของกับประเทศไทยโดยตรง แต่ทุก ๆ ครั้งที่มีการออกนโยบาย มาตราการทางการเงิน ไปถึงการปรับ Fed Fund Rate ที่ออกโดยธนาคารกลางสหรัฐก็ย่อมส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยอยู่ดี โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed หากเกิดผลกระทบมาที่ไทยแบ็งค์ชาติก็ย่อมต้องออกมาตราการเพื่อเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการกู้ยืมเงินหรืออนุมัติสินเชื้อ ทางที่ดีควรติดตามข่าวสารและวิเคราะห์เหตุการณ์อยู่เสมอ และถ้าหากคุณกำลังมองหาสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อในรูปแบบอื่น ๆ อยู่แล้วล่ะก็สามารถมาสมัครกับเราได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย เพราะเราสินเชื่อให้เลือกมากมาย และมีตัวช่วยในการเปรียบเทียบสินเชื่อเพื่อให้ตรงกับความต้องการของคุณอีกด้วย

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • รวมหนี้บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท กิจการ 3 ปี
  • อายุ 20-60 ปี รวมอายุผ่อน
สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 12.99% ปี, 6-12 เดือน อาชีพพิเศษ
  • ดอกเบี้ย 15.99% ปี, 6-12 เดือน เจ้าของธุรกิจพิเศษ
  • ผ่อน 60 เดือน เริ่มต้นแสนละ 2,2XX บาท/เดือน
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน หรือ 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองบริษัท
  • รายได้พนักงาน 20,000 บาท, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 9.99% ต่อปี
  • อนุมัติสูงสุด 2 ล้านบาท
  • จ่ายคืนขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี ชาติไทย
  • รวบหนี้บัตรเครดิตและเงินสด
  • ไม่ต้องค้ำประกัน
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท
  • อนุมัติใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนขั้นต่ำเริ่ม 200 บาท
  • รับเงินเต็มจำนวน แบ่งจ่าย 60 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา