Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

ก่อนผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ควรรู้อะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Jan 17, 2023

ตั๋วเงินรับ ตั๋วเงินจ่าย คืออะไร? รวมไปถึงเรื่องของ “ตั๋วสัญญาใช้เงิน”

และ “ตั๋วแลกเงิน” สิ่งสำคัญที่คนเริ่มทำธุรกิจจะต้องรู้?

ในการทำธุรกิจนั้นจะมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือการทำบัญชีและรายการซื้อขายที่อาจจะมีมูลค่ามาก ถ้ากิจการจำเป็นจะต้องรับจ่ายเป็นเงินสดทุกรายการ ก็จะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก และก็จะไม่สะดวกในการรับจ่าย ดังนั้นถ้าหากมีเครื่องมือหรือมีการจัดทำตราสารขึ้นมาส่งมอบให้แก่กัน เพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าจะชำระเงินให้เมื่อครบกำหนดจ่ายเงินตามตราสารนั้น แทนที่จะมีการจ่ายชำระเงินสดทันทีที่เกิดรายการ แบบนี้ก็จะเป็นอีกวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ในการทำธุรกิจ เพื่อยืดระยะเวลาในการชำระเงินออกไป ดังนั้นตั๋วเงินจึงเป็นตราสารประเภทหนึ่งที่กิจการสามารถจัดทำขึ้นมา เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อกลางแทนเงินสด และทำให้เกิดสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการทำธุรกิจนั่นเอง ซึ่งในบทความนี้ก็จะพาไปทำความรู้จักกับตั๋วเงินประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ตั๋วเงินรับ ตั๋วเงินจ่ายคืออะไร แล้วตั๋วสัญญาใช้เงินกับตั๋วแลกเงินนั้นมีความหมายและความสำคัญทางธุรกิจอย่างไร

ความหมายของตั๋วเงิน?

ตั๋วเงินจะมีความหมายที่แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ในทางบัญชีและในทางกฎหมาย ดังนี้

  • ในทางบัญชี ตั๋วเงินจะหมายถึง ตราสารทางการเงินที่ถูกจัดทำขึ้นมา เพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าจะมีการจ่ายเงินโดยผู้จัดทำตราสาร หรือผู้ที่ถูกระบุชื่อให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตราสารนั้น เมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในตราสาร
  • ในทางกฎหมาย ตั๋วเงินจะหมายถึง หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงิน หรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2542, 453)

ลักษณะเด่นของตัวเงิน

จะเป็นเอกสารที่มีข้อความเป็นคำสั่งว่าให้จ่ายเงิน หรือเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะจ่ายเงินในลักษณะของหนังสือตราสาร (Written Instruments) หรือหนังสือสัญญาที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่ผู้ทรงตราสาร (Holder)

ตั๋วเงินมีกี่ประเภท?

จากความหมายของตั๋วเงินที่แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังข้อความข้างต้นนั้น ในแต่ละประเภทก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทย่อยลงไปอีก ดังนี้

1. ตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(มาตรา 898)

จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.1 ตั๋วแลกเงิน(Bill of exchange)

คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย จะสั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับเงิน

3.2 ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory note)

คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับเงิน

4.3 เช็ค(Cheque)

คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย ที่จะสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับเงิน

2. ตั๋วเงินในทางบัญชี

จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 ตั๋วเงินรับ

คือ ตราสารที่กิจการได้รับมา และกิจการจะเป็นผู้ที่ได้รับเงินตามตราสารนั้น เมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ ตั๋วเงินรับนี้จะถือว่าเป็นสินทรัพย์ของกิจการ

4.2 ตั๋วเงินจ่าย

คือ ตราสารที่กิจการได้จัดทำขึ้นมาและจะจ่ายเงินตามตราสารนั้น หรือตราสารที่บุคคลอื่นจัดทำให้กิจการ พร้อมลงชื่อสลักหลังรับทราบว่าถูกระบุชื่อให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตราสารนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ ตั๋วเงินจ่ายจึงถือว่าเป็นหนี้สินของกิจการนั่นเอง

ตั๋วเงินจ่ายอยู่หมวดไหน และตั๋วเงินจ่ายเป็นสินทรัพย์ประเภทใด?

ตั๋วเงินจ่าย(Notes Payable) คือ ตั๋วแลกเงินที่กิจการเป็นผู้รับรอง หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กิจการเป็นผู้ออกเพื่อชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยที่กิจการจะต้องจ่ายเงินตามตั๋วเมื่อถึงวันที่ครบกำหนด ซึ่งตั๋วเงินจ่ายนี้ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • ตั๋วเงินจ่ายทางการค้า(Notes Payable-Trade) เป็นตั๋วเงินที่ออกให้เพื่อชำระหนี้
  • ตั๋วเงินจ่ายธนาคาร(Notes Payable-Bank) เป็นตั๋วเงินที่ออกให้ธนาคารไว้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน
  • ตั๋วเงินจ่ายอื่น ๆ (Notes Payable-Others) เป็นตั๋วเงินที่ออกให้เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หรือชำระหนี้สินอื่น ๆ

ตั๋วสัญญาใช้เงินคืออะไร?

ตั๋วสัญญาการใช้เงินจะเป็นตราสารหรือเป็นเอกสารประเภทหนึ่งในกลุ่มของตั๋วเงิน ที่จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับการดำเนินกิจกรรมทางการเงินในระบบของธุรกิจ โดยที่ตั๋วสัญญาการใช้เงินจะเป็นเอกสารทางการเงินที่มีผู้เกี่ยวข้องแค่ 2 ฝ่ายเท่านั้น คือ ทางฝ่ายผู้ออกตั๋ว และทางฝ่ายผู้รับเงิน ซึ่งการจัดทำตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นจะเป็นเอกสารที่เอาไว้ใช้แสดงคำมั่นสัญญาของผู้ออกตั๋วหรือลูกหนี้ว่าจะนำเงินมาจ่ายให้แก่ผู้รับเงิน โดยในเอกสารจะระบุจำนวนเงินไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งระบุวันที่เริ่มใช้เงินและวันที่สิ้นสุดการใช้เงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตัวอย่างเป็นอย่างไร?

หากจะพูดตัวอย่างที่ง่ายที่สุดและมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน คงจะเป็นในรูปแบบของผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มาจากธนาคาร ที่เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกทางการเงินให้แก่ลูกค้า และจะมาพร้อมกับเงื่อนไขที่ทางธนาคารนำเสนอออกมา เช่น การเป็นตัวช่วยในการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อหมุนเวียนธุรกิจ โดยที่ทางธนาคารจะพิจารณาการจ่ายเงินโดยอ้างอิงจากความเสี่ยงของลูกค้าหรือความจำเป็นในการใช้เงิน ซึ่งทางธนาคารก็จะมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือการตัดสินใจของลูกค้า และผลิตภัณฑ์สินเชื่อเหล่านี้ก็จะมีการกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ชัดเจน อีกทั้งลูกค้าจำเป็นจะต้องมีการนำทรัพย์สินมาใช้เพื่อเป็นหลักประกัน แต่อายุสัญญาก็จะเป็นเพียงแค่ระยะสั้น ๆ เท่านั้นเช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งการกระทำดังกล่าวเหล่านี้ ทางกลุ่มธนาคารจะเรียกว่าเป็นบริการสินเชื่อ โดยที่ทางธนาคารจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของดอกเบี้ยที่ทางลูกค้าหรือผู้ออกตั๋วได้ให้คำมั่นและทำสัญญากับทางธนาคารหรือผู้รับเงินนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วทางธนาคารก็จะมีอำนาจในการปรับอัตราดอกเบี้ยได้ในกรณีต่าง ๆ โดยอ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย และในตั๋วสัญญาใช้เงินนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนไปให้บุคคลอื่นได้

ตั๋วสัญญาใช้เงิน ดอกเบี้ยคืออะไร?

ในกรณีที่ชำระหนี้สินระหว่างกันนั้น ถ้าตั๋วเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว ผู้จ่ายเงินก็จะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินหน้าตั๋วพร้อมทั้งดอกเบี้ยที่ปรากฏเมื่อถึงวันที่ครบกำหนด

ประโยชน์ของตั๋วสัญญาการใช้เงิน

จากความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมทางการเงินใด ๆ ที่มีความเสี่ยงว่าผู้ออกตั๋วจะไม่ชำระเงินให้แก่ผู้รับเงิน การทำตั๋วสัญญาการใช้เงินจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผู้รับเงินสามารถใช้ตั๋วสัญญาการใช้เงินนี้เป็นหลักฐานในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับคดีได้ และในเวลาเดียวกันนี้ ผู้ออกตั๋วก็สามารถใช้ตั๋วสัญญาการใช้เงินนี้เป็นหลักประกันได้ว่าจะชำระเงินให้แก่ผู้รับเงินอย่างตรงเวลาแน่นอน จึงทำให้สบายใจกันทั้ง 2 ฝ่าย

บทสรุปเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน

การบันทึกเกี่ยวกับตั๋วเงินนั้น จะบันทึกไว้ใน 2 บัญชี คือ บัญชีตั๋วเงินรับและบัญชีตั๋วเงินจ่าย ตั๋วเงินรับจะถือว่าเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ส่วนตั๋วเงินจ่ายจะถือเป็นหนี้สินของกิจการ หากกิจการมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก่อนตั๋วเงินรับครบกำหนด ก็สามารถนำตั๋วไปขายลดตั๋วให้กับทางสถาบันการเงินได้ เรียกว่า การขายลดตั๋ว ซึ่งจำนวนเงินที่กิจการจะได้รับจากการขายลดตั๋วนั้นจะน้อยกว่ามูลค่าตั๋วเมื่อครบกำหนด เนื่องจากผู้ซื้อตั๋วจะต้องหักส่วนลดไว้จำนวนหนึ่ง และตั๋วสัญญาการใช้เงินก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่เราพบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งเชื่อว่าหลายคนในที่นี้อาจจะยังไม่รู้ตัวเลยว่าได้เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีการค้ำประกัน
  • เงินทันทีใน 1 วัน หลังอนุมัติ
  • ผ่อน 12 ถึง 72 เดือน
  • จ่ายเพียง 80 บาท/วัน ต่อแสน
  • อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป พร้อมเอกสารเงินเดือน
  • ต้องมีรายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโกทีทีบี แคชทูโก

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 17%/ปี, 14%/ปี เมื่อใช้ ttb all free
  • วงเงินถึง 2 ล้าน หรือ 5 เท่าของรายได้
  • ผ่อน 72 เดือน สบาย ไม่มีค้ำ
  • รวบหนี้สูงสุด 4 รายการ ดอกเบี้ยลด
  • เงินเดือน 20,000 บาท/เดือน อายุงาน 4 เดือน
  • ดำเนินธุรกิจ 2 ปี รายได้ 30,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% นาน 5 เดือน
  • สูงสุด 1.5 ล้านบาท
  • ผ่อน 60 เดือน ไม่ต้องมีค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป รวมอายุผ่อนไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท
  • อายุงาน 6 เดือน+, เจ้าของธุรกิจ 3 ปี+
CardX SPEEDY LOANCardX SPEEDY LOAN

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ผ่อน 540 บาท/เดือน ดอกเบี้ย 25%
  • รับเงิน 1 วันหลังอนุมัติ
  • ผ่อน 72 เดือนสบาย
  • ฟรีประกันชีวิตตลอดอายุสินเชื่อ
  • พนักงานขั้นต่ำ 30,000 บาท
  • อายุงาน 4 เดือน ผ่านทดลองงาน

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจ ควรขอสินเชื่อแบบไหนดี?

อันดับแรกแนะนำให้วางแผนก่อน จะได้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และจะทำให้เรารู้ถึงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการทำธุรกิจ จากนั้นจึงค่อยมาศึกษาและทำความรู้จักกับสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ว่ามีเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการอนุมัติอย่างไร หากเรามีความประสงค์จะยื่นกู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะเป็นวงเงินกู้ที่ผู้กู้นั้นจะสามารถนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของตนเอง โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน ก็สามารถชำระเงินแบบผ่อนจ่ายได้

เลือกสมัครสินเชื่อผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

เพราะแรบบิท แคร์ มีตัวเลือกมากมายให้ลูกค้าได้เลือกสรรจากแบรนด์ทางการเงินอันดับต้น ๆ อีกทั้งยังสมัครแบบออนไลน์ได้ ไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลาไปที่ธนาคาร พร้อมให้คำปรึกษาหากคุณมีข้อสงสัยต่าง ๆ ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่าปลอดภัย รวดเร็วทันใจเพียงในไม่กี่ขั้นตอน สามารถคลิกดูสิทธิประโยชน์และข้อเสนอดี ๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ของแรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา