Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Apr 26, 2023

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง จุดบอดที่มือใหม่ต้องระวัง

"จุดบอด" หรือ "มุมอับสายตา" หรือ "มุมอันตราย" คือ บริเวณที่กระจกมองข้าง ที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นบริเวณข้างรถด้วยสายตาได้อย่างชัดเจน เพราะมีสิ่งบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นรอบรถ ซึ่ง "จุดบอด" หรือ "มุมอับสายตา" หรือ "มุมอันตราย" นี้จะอยู่ระหว่างแนวพักพิงของคนขับ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนจากด้านข้าง อย่างการที่ผู้ขับขี่เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หรือการเลี้ยวแซง รวมไปถึงอุบัติเหตุเฉี่ยวชนจากด้านหลัง อย่างการถอยหลังชนท้าย เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ผู้ขับขี่ควรระวังมีอยู่มากอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น หลับใน เมาแล้วขับ การขับรถเร็ว หรือแม้แต่การระวังการขับขี่จากรถคันอื่น ๆ แต่นอกจากปัจจัยเหล่านี้แล้วยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่ไม่ควรมองข้ามคือ จุดบอดรถยนต์ หรือ มุมอับสายตา หรือที่เรียกกันว่ามุมอันตราย ซึ่งมุมต่าง ๆ เหล่านี้จะบดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ของผู้ขับขี่ และถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มากับรถเพื่อใช้ลดอันตรายจาก "จุดบอด" หรือ "มุมอับสายตา" หรือ "มุมอันตราย" ในเวลาขับขี่นั้น

แรบบิท แคร์ก็ยังเชื่อว่า ผู้ขับขี่รวมไปถึงตัวผู้โดยสารเองก็ยังต้องทราบจุดบอด หรือ มุมอับสายตา หรือที่เรียกกันว่ามุมอันตรายรถยนต์เอาไว้ เพื่อหลบเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทั้งกับตัวผู้ขับขี่เอง ผู้โดยสาร และผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน แล้วมุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง ตามไปดูกันเลย

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง สอบใบขับขี่ เฉลย

1. มุมอันตรายจากริมไหล่ทาง

บริเวณริมไหล่ทางมักเป็นมุมอันตรายที่เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ผู้ขับขี่จึงไม่ควรจอดรถริมไหล่ทาง และไม่ควรขับรถในบริเวณไหล่ทาง โดยเฉพาะบริเวณทางขึ้น-ลงสะพาน ถนนที่มีไหล่ทางแคบ หรือถนนที่มีลักษณะเป็นคอขวด เพราะหากมีรถจอดฉุกเฉินริมข้างทาง แล้วมีรถแซงซ้ายบนไหล่ทางด้วยความเร็วสูง อาจจะทำให้ผู้ขับขี่เบรกไม่ทันส่งผลให้เกิดการพุ่งรถที่จอดริมข้างทางอย่างรุนแรงได้

หากจำเป็นต้องจอดรถริมไหล่ทาง อย่างกรณีที่รถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ ควรให้สัญญาณไฟล่วงหน้า โดยการเปิดไฟฉุกเฉิน หรือวางป้ายเตือนสะท้อนแสงส่งสัญญาณให้ผู้ร่วมถนนคันอื่น ๆ ได้รับรู้ หรือจอดในจุดจอดรถริมข้างทางที่จัดไว้เท่านั้น

2. มุมอันตรายจากทางขึ้น-ลงเขา

สำหรับบริเวณที่เป็นไหล่ทางขึ้นหรือลงเขายิ่งไม่ควรจอดรถ เพราะถนนอาจจะทรุดหรือแตกกะทันหันส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและความเสียหายต่อรถยนต์และผู้ขับขี่ได้ นอกจากนี้ในบริเวณทางขึ้นหรือลงเขาก็ควรห้ามแซงด้วยความเร็วสูงในระยะกระชั้นชิด ควรชะลอความเร็ว และอย่าวิ่งตัดโค้งอย่างเด็ดขาด เนื่องจากทางขึ้นหรือลงเขาเป็นมุมอับ ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ชัดเจน และตัวผู้ขับขี่เองก็ยังไม่เห็นปลายทางที่จะขับไปต่อ จึงควรให้บีบแตรส่งสัญญาณเตือนให้รถที่สวนขึ้นมาอีกด้านรับรู้ว่ามีรถเราด้วย หรือหากขับในเวลากลางคืนใช้สัญญาณไฟสูงช่วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

3. มุมอันตรายจากสี่แยก

หากถามว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง มุมอันตรายที่ติดอันดับต้น ๆ เลย คือ สี่แยก ซึ่งเป็นจุดที่มักเกิดอุบัติเหตุรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากรถที่วิ่งผ่านทางแยกมักใช้ความเร็วที่ค่อนข้างสูง ผู้ขับขี่จึงควรชะลอความเร็วลงและปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรอย่างเคร่งครัด หากเห็นสัญญาณไฟเหลืองควรเตรียมชะลอความเร็วและหยุดรถหลังเส้นที่กำหนด ในกรณีสำหรับการขับขี่ผ่านทางแยกที่มีทางม้าลาย พรบ.กฎหมายก็มีกำหนดห้ามให้รถจอดทับบริเวณเวณทางม้าลายทางม้าลายด้วยเช่นกัน

4. มุมอันตรายจากทางโค้งและโค้งหักศอกในชุมชน

มุมอันตรายถัดมาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย คือ มุมอันตรายจากทางโค้ง ซึ่งเกิดจากลักษณะทางกายภาพของเส้นทางทำให้มองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน ทัศนวิสัยไม่ค่อยดี ถือเป็นอีกหนึ่งมุมที่พบเจอได้บ่อยเวลาใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโค้งอันตรายหรือโค้งหักศอก หรือทางขึ้นลงเนินถนนมีสิ่งก่อสร้างบทบางเส้นทาง ผู้ขับขี่จึงควรลดความเร็วลงมื่อขับรถผ่านจุดอับของเส้นทาง ไม่หยุดรถกะทันหัน หรือเร่งแซงในทันที เพราะอาจทำให้เฉี่ยวชนกับรถที่ขับสวนมาได้ และผู้ขับขี่ก็ควรสังเกตป้ายบอกทาง ป้ายจราจรต่าง ๆ ให้ดี และปฏิบัติตามป้ายเตือนหรือสัญญาณจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น ให้ใช้เสียงแตรส่งสัญญาณเตือนผู้ร่วมใช้เส้นทางพร้อมสังเกตสภาพเส้นทางเมื่อขับรถผ่านจุดอับสายตาแล้วถึงค่อยใช้ความเร็วตามปกติ หากเป็นไปได้ควรศึกษาเส้นทางมาก่อนในกรณีที่ไม่คุ้นชิน

5. มุมอันตรายจากถนนที่มีกำแพง

สำหรับมุมอันตรายจากถนนที่มีกำแพงนั้น ผู้ขับขี่ควรชะลอความเร็ว ห้ามแซงหรือหยุดรถกะทันหันบริเวณทางโค้งอย่างเด็ดขาด พยายามขับให้อยู่ในช่องทางของตนเอง ในกรณีที่เจอทางโค้งที่แคบมาก หรือตามตรอก ซอยแคบ ๆ มีกำแพงตรงทางโค้งหรือทางแยก ผู้ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังก่อนเข้าโค้ง ให้สังเกตสภาพเส้นทางจากกระจกโค้งมุมถนนในกรณีที่โค้งนั้น ๆ มีกระจกติดไว้ หากทางโค้งไม่มีกระจกโค้งติดอยู่ ควรบีบแตรให้สัญญาณในเวลากลางวัน และกระพริบไฟสูงในเวลากลางคืน เพื่อให้สัญญาณเตือนเพื่อนร่วมทางก่อนจะเข้าโค้ง

6. มุมอันตรายจากจุดกลับรถ

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง ก็คงตอบได้ทันทีเลยว่าบริเวณจุดกลับรถนับเป็นมุมอันตรายที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย และควรระวังเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน ผู้ขับขี่ที่ต้องการกลับรถควรต้องหยุดรถรอในจุดที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ควรเคลื่อนรถไปกีดขวางช่องทางจราจรช่องทางอื่นพร้อมมองเส้นถนนอย่างละเอียดถี่ถ้วนจนมั่นใจ เช็กให้ดีว่ามีรถคันอื่นขับมาในทางตรงหรือไม่ หากไม่มีรถคันอื่นขับมาในทางตรง หรือมีแต่อยู่ในระยะที่จะทำให้กลับรถได้อย่างปลอดภัยจึงค่อยออกตัว พร้อมกะระยะวงเลี้ยวและเร่งอัตราความเร็วในการออกรถให้เหมาะสม

สำหรับผู้ขับขี่ที่ขับผ่านจุดกลับรถมาแล้ว ควรชะลอความเร็วหรือเปลี่ยนช่องทางไปทางด้านซ้าย เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการกลับรถ เพิ่มความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน

7. มุมอันตรายจากจุดตัดทางรถไฟ

อีกมุมอันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย คือ มุมอันตรายจากจุดตัดทางรถไฟ ที่มีให้เห็นอยู่เสมอสำหรับผู้ฝ่าฝืนขับรถฝ่าไม้กั้นรถไฟหรือสัญญาณเตือนจนทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา ผู้ขับขี่จึงควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องขับรถผ่านจุดตัดทางรถไฟ สังเกตป้ายเตือนว่าเป็นทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น หรือหากเป็นจุดตัดทางรถไฟแบบไม่มีเครื่องกั้น ให้ฟังสัญญาณเสียง หรือสังเกตสัญญาณไฟวาบ หากมีไฟเตือนขึ้นว่ารถไฟกำลังมา และไม้กั้นค่อย ๆ ปิดลง ผู้ขับขี่ควรลดความเร็วและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ยังไม่ควรขับแซงขึ้นหน้าในระยะ 30 เมตรก่อนจะถึงทางรถไฟ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายและอุบัติเหตุกับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนได้

8. มุมอันตรายจากแยกวัดใจที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

และหากถามว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง มุมอันตรายที่มีถติติอุบัติเหตุอย่างรุนแรงติดอันดับต้น ๆ อีกมุม คือ ทางแยกวัดใจที่ไม่มีสัญญาณจราจร เพราะรถที่วิ่งผ่านทางแยกมักใช้ความเร็วสูงด้วยความต้องการจะข้ามผ่านทางแยกก่อนด้วยเหตุผลบางประการ ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรชะลอความเร็วลงและปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง โดยเฉพาะในกรณีที่เห็นสัญญาณไฟสีเหลืองก็ควรเตรียมชะลอความเร็วและหยุดรถหลังเส้นตามที่กฏหมายกำหนด

และในกรณีที่ผู้ขับขี่ขับมาถึงทางแยกพร้อมกันสำหรับสี่แยกวัดใจที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร พรบ.กฎหมายก็กำหนดให้รถด้านซ้ายมือผ่านไปก่อน แต่ทั้งนี้ผู้ขับขี่ก็ต้องไม่อยู่ในความประมาท ผู้ขับขี่ควรจะต้องมองซ้าย-ขวาให้ดี จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีรถวิ่งผ่านมาแล้วจึงค่อยขับข้ามทางแยกไป

9. มุมอันตรายจากมุมอับของกระจกมองข้าง

เนื่องจากมุมมองของกระจกใกล้ฝั่งคนขับจะมีมุมไม่กว้างพอที่จะเห็นรถคันด้านข้างคนขับที่ค่อนไปด้านหลังได้ทั้งหมด สิ่งที่ผู้ขับขี่จะเห็นคือรถที่ตามมาในเลนข้าง ๆ ค่อนไปทางหลังทั้งซ้ายและขวา ทำให้เวลาเปลี่ยนเลนอาจจะมีรถยนต์อยู่ในตำแหน่งจุดบอด ส่งผลให้ผู้ขับเปลี่ยนเลนทั้ง ๆ ที่มีรถอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

แต่ในกรณีที่รถวิ่งเลยขึ้นมาทางหน้าแล้ว ผู้ขับขี่อาจจะมองจากกระจกมองข้างไม่เห็น เพราะอยู่นอกรัศมีการสะท้อนของกระจก ถ้าผู้ขับขี่มองจากกระจกข้างจะไม่เห็นรถที่ขนาบคู่ทั้งเลนขวาและเลนซ้าย จึงควรต้องระวังจังหวะรถคันข้าง ๆ ขับขึ้นมาตีคู่กับรถของเราให้มากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการปรับท่านั่งของรถในแบบที่ถนัด ให้สามารถเหลียวมองตามจุดต่าง ๆ และเป็นท่าที่สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของรถ และถูกต้องตามหลักขับขี่ที่ปลอดภัยหลังจากนั้นให้ปรับกระจกมองข้างให้ได้มุมมองกว้างที่สุด สามารถมองเห็นทั้งด้านข้างของตัวรถ พื้นผิวถนน และเส้นแบ่งเลน ซึ่งกระจกที่ปรับนั้นจะต้องไม่สูงจนเกินไป ที่สำคัญผู้ขับขี่จะต้องไม่เคลื่อนศีรษะมากเกินไปเพื่อมองทาง ควรใช้เพียงการหันศรีษะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำแบบนี้กับกระจกมองข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เพราะการเอี้ยวมองด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปจะทำให้เกิดจุดบอดการมองเห็นในบริเวณด้านตรงข้ามได้

10. มุมอันตรายจากมุมอับหน้ารถ

มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง ก็ต้องเป็นมุมอับหน้ารถจากเสาเอ หรือเสาที่ใช้สำหรับติดตั้งกระจกบานคู่หน้ารถ ซึ่งทำให้เกิดมุมอับด้านข้างสายตา บดบังทัศนวิสัย ทำให้เกิดจุดบอดที่ยากต่อการมองเห็นในระหว่างขับขี่ โดยเฉพาะด้านขวาของตัวรถจะมีบางมุมที่เสาเอบังอยู่ และเมื่อผู้ขับขี่จะเลี้ยวรถ หรือกลับรถจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเสาเออาจบังจนทำให้มองไม่เห็นรถคันอื่น ๆ หรือ มองไม่เห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่ขับตามมาในมุมนั้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการปรับเบาะนั่งไม่ให้สูงจนเกินไป โดยวัดจากระดับศีรษะของผู้ขับขี่กับระดับของหลังคารถจะต้องมีความห่างกันประมาณ 6 นิ้ว จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางได้ชัดเจนกว่ามุมปกติ หรือหากเป็นช่วงที่เสี่ยงอันตรายศีรษะก็ควรโยกไปข้างหน้า หรือเอียงศีรษะเพิ่มเติมได้เพื่อมองข้ามเสาเอไปดูทางให้ปลอดภัยก่อนเลี้ยวรถ หรือกลับรถ

11. มุมอันตรายจากมุมอับของกระจกมองหลัง

จุดอับกระจกมองมักเป็นจุดที่ผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวัง และหลังหลายครั้งที่ผู้ขับขี่ละเลยการใช้กระจกมองหลัง เพราะจะถนัดใช้กระจกมองข้างด้านซ้ายเสียเป็นหลักเนื่องจากสามารถสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่า หรือบางคนมีการติดนิสัยวางสิ่งของบริเวณกระจกด้านหลัง จนเหลือหน้าที่ของกระจกมองหลังไว้เพื่อมองหน้าตัวเอง หรือดูผู้โดยสารด้านหลังเพียงเท่านั้น

แต่รู้หรือไม่ว่ากระจกมองหลังนั้นมีประโยชน์อย่างมากทั้งในการแซง การเปลี่ยนเลน และการถอยรถ ซึ้งแก้ไขได้โดยการปรับกระจกมองหลังให้เห็นได้ทั้งบาน เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยของรถที่อยู่ด้านหลัง และต้องปรับด้วยองศาของกระจกมองหลังให้มองไม่เห็นศีรษะของผู้ขับขี่ สำหรับการใช้กระจกมองหลังเพื่อแซง ให้ผู้ขับขี่ใช้กระจกมองหลังไปยังตำแหน่งหน้ารถคันที่ต้องการแซง ควรกะระยะห่างให้มั่นใจว่าอยู่ห่างประมาณ 2-3 ช่วงตัวรถ หรือในระยะที่ปลอดภัย การมองด้วยกระจกมองหลังจะช่วยรกะระยะได้ดีกว่าการใช้กระจกมองข้าง แต่ก็ต้องมองให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันรถที่อยู่ในจุดบอดในเลนที่ต้องการแซงหรือเปลี่ยนเลนก่อน

ในกรณีแซงแล้วต้องกลับมาที่เลนซ้ายเหมือนเดิม บางคนอาจใช้กระจกมองข้างไม่ถนัด หรือมีวิศัยทัศน์ที่ไม่ชัด หรือกะไม่ถูกว่าท้ายรถของเราพ้นจากคันที่แซงแล้วหรือยัง หรือระยะห่างกับคันที่แซงพอดีกันหรือยัง เมื่อผู้ขับขี่แซงขึ้นมาแล้วให้มองที่กระจกมองหลัง หากเห็นหน้ารถคันที่แซงขึ้นมาอยู่ในกระจกมองหลังแล้ว ให้ผู้ขับขี่ขับกลับเข้าเลนซ้ายได้เลย ก็จะได้ระยะห่างประมาณ 2-3 ช่วงตัวรถพอดี ไม่เป็นการแซงแล้วปาดหน้าอย่างแน่นอน

12. มุมอันตรายจากการขับตามรถที่ใหญ่กว่า

หากถามว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง มุมอันตรายจากการขับตามรถที่ใหญ่กว่าก็คงเป็นอีกหนึงปัจจัย และถึงแม้ข้อนี้อาจจะไม่ได้เกิดจากรถของเราโดยตรง แต่มีโอกาสพบได้บ่อยและอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะการขับตามรถคันหน้าที่คันใหญ่กว่าทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นข้างหน้าและด้านข้างแย่ลงและเหลือน้อย ส่งผลให่ผู้ขับขี่ประเมินสภาพเส้นทาง รวมถึงกะระยะ และความเร็วของรถที่ร่วมใช้เส้นทางได้ยากขึ้น เช่น ผู้ขับขี่จะไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าเส้นทางนั้นมีทางแยก ทางโค้ง หรือมีรถสวนทางมาหรือไม่ ทางที่ดีผู้ขับขี่ควรเว้นระยะให้มากที่สุด ค่อย ๆ ตามอย่างระมัดระวังและลดความเร็วลง หรืออาจจะกะระยะคร่าว ๆ จากความสามารถในการมองเห็นเลนที่กว้างขึ้นและเลนที่สวนทางได้อย่างชัดเจน โดยระยะที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ช่วงคันรถ หรือราว ๆ 10 เมตร หลีกเลี่ยงการขับรถตีคู่กับรถขนาดใหญ่เป็นเวลานานเพราะด้านข้างรถขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในจุดอับสายตา ทำให้ผู้ขับรถขนาดใหญ่มีขอบเขตในการมองเห็นจำกัด

หากมีโอกาสที่เหมาะสมก็พยายามหาจังหวะแซงขึ้นไปในทันที โดยการแซงรถคันใหญ่กว่านั้นมีกฏตายตัว คือ ห้ามแซงซ้าย เพราะถือเป็นจุดบอดของรถที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งผู้ขับขี่รถใหญ่จะมองไม่เห็นเราจึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง

ส่วนใครอยากจะป้องกันไว้ก่อน ขอแนะนำประกันอุบัติเหตุจากแรบบิท แคร์ เลย เพราะที่นี่ให้คุณเพิ่มหรือลดความคุ้มครองเพื่อให้ตรงตามความต้องการที่มากกว่า คุณสามารถยกเลิกแผนประกันเดิมเพื่อเปลี่ยนมาทำประกันรถตัวใหม่ได้โดยที่คุณแจ้งยกเลิกแผนประกันกับบริษัทเดิมเพื่อขอเบี้ยประกันคืน (แต่คุณจะได้เบี้ยคืนมาไม่หมดตามเงื่อนไขข้อตกลงของบริษัท) จากนั้นก็แจ้งกับบริษัทใหม่หรือบริษัทเดิมเพื่อที่จะทำประกันตัวใหม่ หากคุณคิดว่าประกันรถยนต์ที่มีอยู่นั้นไม่เหมาะกับคุณ คุณสามารถมองหาแผนประกันรถยนต์ที่เหมาะกับคุณได้ยิ่งกว่าที่แรบบิท แคร์ เพราะเรามีแผนให้คุณเลือกหลากหลาย พร้อมบริการความแคร์แบบจัดเต็มให้กับคุณยิ่งกว่าใคร ต่อประกันภัยรถยนต์ กับเราเลย

เกิดอุบัติเหตุตรงมุมอันตราย สามารถเคลมประกันอย่างไรได้บ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุบริเวณ "มุมอันตราย" หรือบริเวณที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง การเคลมประกันยังคงสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนทั่วไป แต่มีบางจุดที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อให้การเคลมประกันเป็นไปอย่างราบรื่น โดยมีขั้นตอนการเคลมประกันดังนี้:

1. ตรวจสอบความปลอดภัยและเรียกรถฉุกเฉิน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ให้ตรวจสอบความปลอดภัยของตนเองและผู้โดยสารก่อน หากมีผู้บาดเจ็บให้โทรแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาลทันทีที่หมายเลข 1669

2. ติดต่อบริษัทประกัน

โทรแจ้งบริษัทประกันที่คุณทำกรมธรรม์ทันที โดยแจ้งรายละเอียดของอุบัติเหตุ เช่น ตำแหน่งที่เกิดเหตุ ลักษณะของความเสียหาย และข้อมูลของคู่กรณี (ถ้ามี) เจ้าหน้าที่เคลมประกันจะถูกส่งไปยังสถานที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบและทำรายงาน

3. เก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ

ถ่ายรูปที่เกิดเหตุ รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับรถของคุณและรถคู่กรณี (ถ้ามี) พร้อมเก็บหลักฐานอื่น ๆ เช่น บันทึกจากกล้องติดรถยนต์, พยานที่เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานอื่น ๆ ที่จะช่วยยืนยันความถูกต้องของเหตุการณ์

4. รอเจ้าหน้าที่ตำรวจและทำบันทึกประจำวัน

หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นในบริเวณมุมอันตราย เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจเข้ามาตรวจสอบสถานที่ โดยอาจมีการทำบันทึกประจำวัน (หากมีผู้บาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหายหนัก) ซึ่งข้อมูลจากตำรวจสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการเคลมประกันและช่วยยืนยันความถูกต้องของเหตุการณ์

5. การเคลมประกัน

การเคลมประกันจะแตกต่างกันตามประเภทของประกันที่คุณทำไว้ ดังนี้

  • ประกันชั้น 1 : สามารถเคลมได้ทั้งในกรณีที่มีหรือไม่มีคู่กรณี หากคุณชนสิ่งของหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนกำแพง เสาไฟ หรือสิ่งกีดขวางในมุมอันตราย ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถคุณ
  • ประกันชั้น 2+ และ 3+ : จะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่มีคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบก ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุชนกับยานพาหนะอื่น ๆ คุณสามารถเคลมประกันได้ แต่ถ้าไม่มีคู่กรณี ประกันชั้นนี้จะไม่คุ้มครอง
  • ประกันชั้น 2 และชั้น 3 : คุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายของคู่กรณี ไม่ครอบคลุมความเสียหายต่อรถของคุณในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี

6. ตรวจสอบเอกสารและข้อตกลงการซ่อมแซม

เมื่อบริษัทประกันพิจารณาเคลมเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับการยืนยันวงเงินหรือรายละเอียดการซ่อมแซมรถของคุณ โดยอาจมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่คุณต้องจ่ายเองในกรณีที่มีเงื่อนไขในกรมธรรม์ เช่น ค่าความเสียหายส่วนแรก เป็นต้น

7. ส่งซ่อมรถตามที่บริษัทประกันแนะนำ

เลือกอู่ซ่อมที่ได้รับการรับรองจากบริษัทประกัน เพื่อให้สามารถซ่อมรถโดยไม่มีปัญหาในการเบิกค่าใช้จ่าย

ดังนั้น หากคุณรู้ว่าเป็น "มุมอันตราย" และมีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ควรระวังเป็นพิเศษเมื่อขับรถผ่านจุดนั้น และถ้าต้องเคลมประกัน ก็ควรตรวจสอบเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ทำไว้ว่าครอบคลุมในกรณีชนสิ่งกีดขวางหรือไม่ โดยการเคลมประกันในกรณีอุบัติเหตุที่มุมอันตรายจะเป็นไปตามขั้นตอนปกติ แต่ควรให้ความสำคัญกับการเก็บหลักฐานเพื่อป้องกันปัญหาการเคลมในภายหลัง

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

บทความแนะนำ

ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร
  • ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร? สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรรู้เกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายและขั้นตอนการเบิกเคลมประกัน
แซงบนท้องถนนจนเกิดอุบัติเหตุเคลมประกันได้ไหม?
  • การแซงรถที่ไม่ถูกต้องตามกฎจราจรเป็นอันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หากเกิดเหตุแล้วจะสามารถเคลมประกันได้หรือไม่?
ทางร่วมทางแยก คืออะไร
  • เมื่อถึงทางร่วมทางแยก ควรรู้ว่าต้องให้รถทางไหนไปก่อน และถ้าเกิดอุบัติเหตุ ประกันจะคุ้มครองหรือไม่?
เพื่อนยืมรถแล้วเกิดอุบัติเหตุต้องทำอย่างไรบ้าง
  • หากเพื่อนยืมรถแล้วชน เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบหรือไม่? และประกันครอบคลุมเหตุการณ์นี้อย่างไร?

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา