Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jul 12, 2023

ข้อควรรู้ก่อนติดแก๊สรถยนต์ และรถติดแก๊สสามารถทำประกันรถยนต์ได้หรือไม่?

ปัญหาหลักๆ ของผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ นอกจากจะเป็นเรื่องของการบำรุงรักษา และตรวจเช็คสภาพ ยังมีปัจจัยที่จะต้องพบเจออยู่บ่อยครั้ง นั่นก็คือ “การเติมน้ำมัน” ซึ่งมีราคาที่แพง จนทำให้ใครหลายๆ คนตัดสินใจที่จะนำรถยนต์ไปติดตั้งแก๊สในการขับเคลื่อน ให้กลายเป็น “รถติดแก๊ส” นั่นเอง แต่ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย เพราะรถส่วนมากที่ผลิตกันออกมานั้น ไม่ได้ผลิตมาเพื่อให้ใช้แก๊สโดยเฉพาะ ดังนั้นบทความนี้จะมาบอก 5 ข้อควรรู้ ก่อนนำรถยนต์ไปติดแก๊ส แบบไหนที่ปลอดภัย เพื่อให้คุณตัดสินใจก่อนการนำรถยนต์ไปติดตั้งแก๊ส

แก๊ส มีราคาถูกกว่า น้ำมัน

เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัด และเป็นปัจจัยหลักๆ ที่จะส่งผลให้คนเปลี่ยนรถยนต์ธรรมดา ให้กลายเป็นรถติดแก๊ส เพราะต้องการที่จะประหยัดค่าน้ำมันในการเดินทาง โดยราคาต่อหน่วยถูกกว่าเกือบครึ่งนึงของน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปตามท้องตลาดเลยทีเดียว ทำให้รถติดแก๊สเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ผู้คนที่ต้องขับรถบ่อยๆ เช่น แท็กซี่ เป็นต้น

แก๊สรถยนต์มีกี่ประเภท

  • แก๊สธรรมชาติ (Natural Gas, NGV) : แก๊สธรรมชาติเป็นแก๊สธรรมชาติที่ได้มาจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ เป็นแหล่งพลังงานที่สะอาดและราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง
  • แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas, LPG) หรือเรียกกันง่ายๆว่า ก๊าซหุงต้ม : มีส่วนประกอบหลักๆ คือ โพรเพน และบิวเทน เป็นแก๊สที่เก็บในรูปแบบของเหลว มีน้ำหนักมากกว่าแก๊ส NGV

การเลือกชนิดของแก๊สรถยนต์อาจจะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ชนิดของเครื่องยนต์ พื้นที่ของรถยนต์เพราะแก๊สบางประเภทอาจจะใช้พื้นที่ในการติดตั้งค่อนข้างมาก และจำนวนของปั๊มแก๊สชนิดนั้นๆ

มีต้นทุนในเรื่องของค่าอุปกรณ์ในการติดตั้ง และพื้นที่ที่ใช้

รถติดแก๊ส มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เริ่มต้นที่ 20,000 - 40,000 บาท เป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊ส (NGV แก๊สธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ LPG แก๊สปิโตรเลียมเหลว) และยังมีค่าออกใบรับรองจากวิศวกร เพื่อนำใบไปยื่นให้กับขนส่ง แสดงตัวว่าเป็นรถติดแก๊ส ให้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังต้องเสียพื้นที่บางส่วนของกระโปรงหลังที่ไว้ใส่ของ เพื่อบรรทุกถังแก๊ส ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ใช้รถที่ต้องขนสัมภาระจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการติดแก๊ส

อายุการใช้งานรถยนต์สั้นลง และหมดประกันจากผู้ผลิตรถยนต์ทันที

เนื่องจากการติดตั้งแก๊ส ถือเป็นการดัดแปลงบางส่วนของรถยนต์ ดังนั้นจะหมดประกันจากผู้ผลิตรถยนต์โดยทันที และส่งผลให้อายุการใช้งานของรถยนต์สั้นขึ้น เนื่องจากความร้อนจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจากแก๊ส จะสูงกว่าความร้อนจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจากน้ำมัน ส่งผลให้ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในรถยนต์จะสึกหรอ หรือเสื่อมสภาพไวขึ้นจากปกติที่ควรจะเป็น ดังนั้นหากรถยนต์ของคุณกลายเป็น รถติดแก๊ส เรียบร้อยแล้ว จะต้องหมั่นตรวจสภาพรถ และตรวจสภาพถังแก๊สอยู่เป็นประจำ และต้องเปลี่ยนถังแก๊สทุก 10 ปี เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย

รถมีมูลค่าต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น หากต้องการขายต่อ

สาเหตุเชื่อมโยงจากข้อที่แล้ว เนื่องจากรถติดแก๊ส เป็นการดัดแปลงบางส่วนของรถ และมีอัตราเสื่อมสภาพค่อนข้างสูง ทำให้มูลค่าของรถยนต์ตกต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น และขายต่อได้ค่อนข้างยาก สิ่งที่สำคัญที่สุดในการซื้อรถมือสองนั่นคือ “เครื่องยนต์” หากเครื่องยนต์มีความเสื่อมสภาพไว ผู้ที่จะซื้อต่อก็จะมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะเสียเงินซื้อนั่นเอง นอกจากนี้ยังมองเรื่องของความเสี่ยงหากเกิดอุบัติเหตุ ที่มีโอกาสรุนแรงกว่าเนื่องจากเราบรรทุกถังแก๊สขนาดใหญ่ไว้ข้างหลัง

รถติดแก๊ส แบบไหนที่ปลอดภัย

หากคุณเป็นผู้ใช้รถที่มีความรู้ และความเข้าใจในการใช้รถยนต์มากพอ เราสามารถนำรถไปติดแก๊สได้โดยไม่ต้องกังวลข้อบนๆ ที่กล่าวมามากนัก โดยสามารถดูแลรักษารถติดแก๊สได้ดังนี้

  • เติมน้ำมันไว้เกิน 1/4 ของถังไว้เสมอ เพื่อให้รถยนต์มีน้ำมันเครื่องคอยหล่อเลี้ยง เพื่อคงสภาพของรถ และมีน้ำมันไว้ใช้สำรองกรณีที่แก๊สหมด
  • ใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนเสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานในส่วนต่างๆ ของรถ
  • ขับรถอย่างระมัดและวัง และปลอดภัยไว้ก่อนเสมอ
  • เลือกอู่ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญเรื่องรถติดแก๊ส เพื่อให้ได้รับการติดตั้งและตรวจเช็คที่ถูกวิธี รวมไปถึงการได้รับบริการอย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ

รถติดแก๊ส ทําประกันได้ไหม?

การทำประกันรถยนต์เมื่อนำรถไปติดแก๊สเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องความปลอดภัย แต่การติดแก๊สในรถยนต์สามารถทำได้กับบางประเภทของรถยนต์เท่านั้น และจะมีเงื่อนไขสำหรับการทำประกันรถยนต์เมื่อนำรถไปติดแก๊สอาจแตกต่างกันไปตามนโยบายของบริษัทประกันรถยนต์แต่ละแห่ง ดังนั้นควรตรวจสอบกับบริษัทประกันรถยนต์ของคุณ เพื่อขอข้อมูลที่แน่ชัดก่อนการติดแก๊ส อย่างไรก็ตาม ก็มีเงื่อนไขทั่วไปที่จะมีเพิ่มขึ้นมาอย่างแน่นอนจากการนำรถไปติดแก๊ส ดังนี้

  1. รถยนต์ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย: บริษัทประกันรถยนต์อาจมีเงื่อนไขว่ารถยนต์ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากศูนย์บริการรถยนต์ที่รับรองเพื่อทำการประกันรถยนต์ได้ นอกจากนี้อาจมีการตรวจสอบอื่นๆ เช่น รถยนต์ต้องอยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้น
  2. ติดตั้งระบบแก๊สที่มีคุณภาพสูง: บริษัทประกันรถยนต์อาจต้องการให้รถยนต์ของคุณติดตั้งระบบแก๊สที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง การติดตั้งแก๊สควรทำโดยช่างที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการรับรอง
  3. การแจ้งข้อมูลกับบริษัทประกัน เพื่อให้บริษัทประกันสามารถประเมินความเสี่ยง และกำหนดเบี้ยประกันได้อย่างถูกต้อง เพราะต้องมีการเพิ่มค่าเบี้ยประกัน การติดแก๊สอาจทำให้เบี้ยประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากการติดแก๊ส บริษัทประกันอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการประเมินความเสี่ยงและการวิเคราะห์สถิติต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นรถติดแก๊ส หรือรถยนต์ธรรมดาทั่วไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ควรมีสติ และตรวจสอบสภาพรถ รวมไปถึงขับขี่ให้ปลอดภัยตามกฎจราจร รวมไปถึงการทำประกันรถยนต์ไว้เผื่อเหตุสุดวิสัย ที่จะช่วยให้เราแบ่งเบาภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย และค่าซ่อมบำรุงต่างๆ สามารถเช็คราคาประกันภัยรถยนต์ และแผนการคุ้มครองที่เหมาะสม รวมถึงบริการต่างๆ ที่จะคอยช่วยเหลือมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น รถสำรอง หรือชดเชยค่าเดินทางกลับบ้าน และมีบริการช่วยเหลือแจ้งเคลม หรือช่วยเหลือบนท้องถนน เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ในยามที่ต้องรับมือกับปัญหาที่ไม่คาดคิดอีกด้วย

ติดแก๊สรถยนต์ คือ อะไร

ติดแก๊สรถยนต์ คือ การติดตั้งระบบจ่ายพลังงานเชื้อเพลิงด้วยแก๊สเพิ่มเติมในรถยนต์ ช่วยให้รถสามารถใช้งานได้ทั้งน้ำมันและแก๊ส เมื่อต้องการ หากแก๊สหมด ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ได้เช่นเดิม

ข้อแตกต่างระหว่างติดแก๊สรถยนต์ LPG และ NGV

ข้อแตกต่างระหว่างการติดแก๊สรถยนต์ LPG และ NGV มีดังนี้:

1. ชนิดของแก๊ส:

  • LPG (Liquefied Petroleum Gas) เป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลว ประกอบด้วยโปรเพนและบิวเทน
  • NGV (Natural Gas Vehicle) ใช้แก๊สธรรมชาติหลักคือมีเทน (Methane)

2. ประสิทธิภาพการเผาไหม้:

  • LPG มีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูงกว่า NGV
  • NGV มีค่ามลพิษต่ำกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

3. ระบบการจัดเก็บ:

  • LPG ถูกจัดเก็บในถังแรงดันสูงในรูปของเหลว
  • NGV ถูกจัดเก็บในถังแรงดันสูงในรูปของแก๊ส

4. ราคา:

  • LPG มักมีราคาถูกกว่า NGV

5. ความพร้อมใช้งาน:

  • สถานีบริการ LPG มีจำนวนมากกว่า NGV ในหลายพื้นที

ข้อดี-ข้อเสีย ของการติดแก๊สรถยนต์

ข้อดีของการติดแก๊สรถยนต์

1. ประหยัดค่าเชื้อเพลิง: การใช้แก๊สมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าน้ำมัน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขับขี่
2. มลพิษน้อยลง: แก๊ส LPG และ NGV มีการเผาไหม้ที่สะอาดกว่า ทำให้มีการปล่อยไอเสียน้อยลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. อายุการใช้งานของเครื่องยนต์: การใช้แก๊สช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ เนื่องจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า

ข้อเสียของการติดแก๊สรถยนต์

1. พื้นที่เก็บสัมภาระลดลง: ถังแก๊สมีขนาดใหญ่ ทำให้พื้นที่เก็บสัมภาระในรถยนต์ลดลง
2. การบำรุงรักษา: รถที่ติดแก๊สต้องการการดูแลรักษามากขึ้น และต้องมีการตรวจเช็คระบบแก๊สเป็นประจำ
3. น้ำหนักเพิ่ม: ถังแก๊สมีน้ำหนักมาก ทำให้รถยนต์หนักขึ้นและอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการขับขี่
4. ความปลอดภัย: แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีการพัฒนา แต่การใช้แก๊สยังคงมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูงกว่าการใช้น้ำมัน หากระบบแก๊สมีการรั่วไหล

อุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ติดแก๊สรถยนต์ประกอบด้วยหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้ระบบแก๊สทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนี้:

1. ถังแก๊ส : สำหรับเก็บแก๊ส LPG หรือ NGV โดยมีวาล์วปิดเปิดเพื่อควบคุมการจ่ายแก๊ส
2. หม้อต้มแก๊ส (Vaporizer/Regulator) : ทำหน้าที่แปลงแก๊สเหลวเป็นแก๊สไอ เพื่อให้สามารถเผาไหม้ได้
3. ท่อแก๊ส : ใช้ในการส่งแก๊สจากถังไปยังเครื่องยนต์
4. หัวฉีดแก๊ส (Injector) : ทำหน้าที่ฉีดแก๊สเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในเครื่องยนต์
5. รางหัวฉีด (Fuel Rail) : อุปกรณ์ที่ใช้ในการกระจายแก๊สไปยังหัวฉีดแต่ละตัว
6. กล่องควบคุมการทำงานของระบบแก๊ส (ECU - Electronic Control Unit) : ควบคุมการทำงานของระบบแก๊สให้สอดคล้องกับการทำงานของเครื่องยนต์
7. สวิตช์เลือกใช้น้ำมัน/แก๊ส : ใช้สำหรับสลับการใช้เชื้อเพลิงระหว่างน้ำมันและแก๊ส
8. เซนเซอร์ตรวจจับ : อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบและวัดค่าต่าง ๆ ของระบบแก๊ส เช่น อุณหภูมิและแรงดัน
9. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย : ประกอบด้วยวาล์วนิรภัยและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการป้องกันการรั่วไหลของแก๊ส

ติดแก๊สรถยนต์แล้วประกันรถติดแก๊สจะขาดไหม

การติดแก๊สรถยนต์อาจมีผลต่อประกันรถยนต์ เช่น หากรถยนต์ที่มีประกันภัยชั้น 1 หรือชั้นอื่น ๆ อยู่แล้วนำไปติดแก๊ส ประกันรถยนต์อาจหมดอายุทันที เนื่องจากถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพของรถยนต์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากศูนย์บริการ อย่างไรก็ตาม สำหรับรถยนต์ที่ติดแก๊ส เบี้ยประกันอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเสริมแต่งรถให้เปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยและบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง ดังนี้:

1. แจ้งบริษัทประกัน : หากต้องการติดตั้งแก๊ส ควรแจ้งบริษัทประกันภัยก่อนการติดตั้ง เพื่อให้ประกันครอบคลุมอุปกรณ์แก๊สและการปรับปรุงรถยนต์
2. การปรับเปลี่ยนกรมธรรม์ : บริษัทประกันอาจปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มค่าเบี้ยประกันเพื่อครอบคลุมความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการติดตั้งแก๊ส
3. เงื่อนไขการรับประกัน : หากไม่ได้แจ้งบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการติดตั้งแก๊ส อาจทำให้เงื่อนไขการรับประกันไม่ครอบคลุมในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่เกิดจากระบบแก๊ส
4. มาตรฐานการติดตั้ง : เพื่อให้ประกันครอบคลุม ควรเลือกติดตั้งระบบแก๊สที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญการ

เพื่อให้มั่นใจว่าเงื่อนไขประกันยังคงครอบคลุม ควรติดต่อบริษัทประกันภัยและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้งแก๊ส

รถติดไฟแนนซ์ ติดแก๊สได้ไหม

รถที่ยังอยู่ในสัญญาไฟแนนซ์สามารถติดแก๊สได้ แต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้:

1. ขออนุญาตจากไฟแนนซ์ : ควรแจ้งและขออนุญาตจากบริษัทไฟแนนซ์ก่อนทำการติดแก๊ส เนื่องจากรถยังอยู่ภายใต้สัญญาเช่าซื้อ และการดัดแปลงสภาพรถต้องได้รับการอนุมัติ
2. เลือกศูนย์ติดตั้งที่ได้รับการรับรอง : ควรเลือกติดตั้งแก๊สจากศูนย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและมีช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
3. แจ้งบริษัทประกันภัย : หลังจากติดตั้งแก๊สเสร็จสิ้น ควรแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อปรับปรุงกรมธรรม์ให้ครอบคลุมระบบแก๊สที่ติดตั้ง

การปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้การติดตั้งแก๊สเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

แจ้งติดแก๊ส ขนส่ง 2567 ทำอย่างไรบ้าง

หลังจากติดตั้งแก๊สในรถยนต์แล้ว จะต้องแจ้งกรมการขนส่งทางบกเพื่ออัพเดทข้อมูลและเอกสารของรถยนต์ตามขั้นตอนต่อไปนี้:

1. เตรียมเอกสารที่จำเป็น:
- ใบรับรองการติดตั้งแก๊สจากศูนย์ติดตั้งที่ได้รับการรับรอง
- ใบคู่มือการจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียน)
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
- หนังสือยินยอมจากบริษัทไฟแนนซ์ (กรณีที่รถยังอยู่ภายใต้สัญญาเช่าซื้อ)

2. นำรถไปตรวจสภาพ: นำรถยนต์ไปตรวจสภาพที่กรมการขนส่งทางบกหรือศูนย์ตรวจสภาพที่ได้รับการรับรอง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของระบบแก๊ส
3. ยื่นคำขอแก้ไขข้อมูลทะเบียนรถ: ไปที่สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือนครหลวงที่จดทะเบียนรถยนต์ เพื่อยื่นคำขอแก้ไขข้อมูลในทะเบียนรถ โดยแนบเอกสารทั้งหมดที่เตรียมไว้
4. รับเอกสารที่ปรับปรุงแล้ว: หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะได้รับใบคู่มือการจดทะเบียนรถที่มีการอัพเดทข้อมูลการติดตั้งแก๊ส

การแจ้งขนส่งหลังติดตั้งแก๊สเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้การใช้รถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายและปลอดภัย

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา