Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
พรบ มอเตอร์ไซค์

ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กับแรบบิท แคร์

ความคุ้มครองขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้แต่บุคคลภายนอก
พ.ร.บ. ไม่เกิน 75 ซีซี

พ.ร.บ. ไม่เกิน 75 ซีซี

161 บาท / ปี
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต 500,000 บาท/คน
  • เสียอวัยวะบางส่วนไม่เกิน 500,000 บาท
  • จัดส่งเอกสารฟรีทั่วประเทศ
  • รับกรมธรรม์ทางอีเมล
พ.ร.บ. 75 ถึง 125 ซีซี

พ.ร.บ. 75 ถึง 125 ซีซี

323 บาท / ปี
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต 500,000 บาท/คน
  • เสียอวัยวะบางส่วนไม่เกิน 500,000 บาท
  • จัดส่งเอกสารฟรีทั่วประเทศ
  • รับกรมธรรม์ทางอีเมล
พ.ร.บ. 125 ถึง 150 ซีซี

พ.ร.บ. 125 ถึง 150 ซีซี

430 บาท / ปี
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต 500,000 บาท/คน
  • เสียอวัยวะบางส่วนไม่เกิน 500,000 บาท
  • จัดส่งเอกสารฟรีทั่วประเทศ
  • รับกรมธรรม์ทางอีเมล
พ.ร.บ. มากกว่า 150 ซีซี

พ.ร.บ. มากกว่า 150 ซีซี

645 บาท / ปี
  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต 500,000 บาท/คน
  • เสียอวัยวะบางส่วนไม่เกิน 500,000 บาท
  • จัดส่งเอกสารฟรีทั่วประเทศ
  • รับกรมธรรม์ทางอีเมล

ต่อพรบรถจักรยานยนต์กี่บาท

ขนาดเครื่องยนต์ (CC)อัตราเบี้ย พรบ. (บาท/ปี)

ไม่เกิน 75 ซีซี

161

มากกว่า 75 ซีซี ถึง 125 ซีซี

323

มากกว่า 125 ซีซี ถึง 150 ซีซี

430

มากกว่า 150 ซีซี ขึ้นไป

645

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

323

พรบ.รถจักรยานยนต์ ราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดความจุกระบอกสูบ (CC) ของเครื่องยนต์ โดยแบ่งออกเป็น 3 อัตราหลักตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดไว้ การทราบราคา พรบ.มอเตอร์ไซค์ที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณเตรียมงบประมาณสำหรับการต่ออายุได้อย่างเหมาะสม และมั่นใจได้ว่าคุณจ่ายในราคาที่เป็นธรรม

หมายเหตุ: อัตราเบี้ยประกันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยหรือ คปภ. เพื่อข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุด

ทำไมต้อง ต่อและซื้อ พ.ร.บ. กับเรา

บริการ พ.ร.บ. ออนไลน์ที่สะดวก ประหยัดเวลา มั่นใจได้

ครอบคลุมการคุ้มครอง

คุ้มครองตามกฎหมาย พ.ร.บ. ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทน

รวดเร็วทันใจ

ได้รับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมล พร้อมจัดส่งเอกสารตัวจริงตามไปทีหลัง

จัดส่งฟรีทั่วประเทศ

บริการจัดส่งกรมธรรม์และ พ.ร.บ. ฟรีถึงบ้านทั่วประเทศไทย

ราคาเป็นมาตรฐาน

ราคาเดียวกับบริษัทประกันภัยโดยตรง ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง

พรบ.รถจักรยานยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ความคุ้มครองของ พรบ.รถจักรยานยนต์ เป็นเรื่องที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรรู้ เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง ความคุ้มครองหลักๆ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คุ้มครองตามกฎหมาย พ.ร.บ.

ค่าเสียหายเบื้องต้น

สูงสุด 35,000 บาท / คน
  • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต 35,000 บาท/คน
  • สูญเสียอวัยวะชดเชย 35,000 บาท/คน
ราคา พ.ร.บ.  เป็นมาตรฐาน

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด

สูงสุด 500,000 บาท/คน
  • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร 5 แสนบาท/คน
  • สูญเสียอวัยวะสูงสุด 5 แสนบาท/คน
  • นอนใน รพ. ชดเชย 200 บาท/วัน (20 วัน)

อยากต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ต้องทำยังไง?

ขั้นตอนง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน ง่าย รวดเร็ว ปลอดภัย

แจ้งทางแรบบิท แคร์

กรณีทำประกันจักรยานยนต์กับแรบบิท แคร์ แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการ ต่อ พ.ร.บ.

ชำระเงิน

ชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ที่สะดวก เช่น บัตรเครดิต, โอนเงิน, QR Payment

รับ พ.ร.บ.

รับ พ.ร.บ. และรับเอกสารตัวจริงทางไปรษณีย์

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

  • ความคุ้มครอง

  • ต่อ พ.ร.บ. / พ.ร.บ. ขาด

พรบ มอเตอร์ไซค์ คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?

พรบ มอเตอร์ไซค์ หรือชื่อเต็มคือ "พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535" เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันภัยภาคบังคับนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถคันที่เอาประกัน โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด

 

ความสำคัญของ พรบ มอเตอร์ไซค์ คือ:

 

  1. เป็นหลักประกันความรับผิดชอบพื้นฐาน : ช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับการเยียวยาค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
  2. ลดภาระค่าใช้จ่าย : ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพ กรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  3. เป็นข้อบังคับตามกฎหมาย : หากไม่มี พรบ.รถจักรยานยนต์ จะไม่สามารถต่อภาษีรถจักรยานยนต์ประจำปีได้ และมีโทษปรับ

ค่าเสียหายเบื้องต้นจาก พรบ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับความคุ้มครองในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ

 

  • กรณีบาดเจ็บ : ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร : ค่าปลงศพ หรือค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาทต่อคน

 

กรณีบาดเจ็บแล้วต่อมาเสียชีวิต : จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีก 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

ค่าสินไหมทดแทนจาก พรบ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

สำหรับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น หลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว หากผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ดังนี้

 

  • กรณีบาดเจ็บ : ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว)
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง : ค่าสินไหมทดแทน: สูงสุด 500,000 บาทต่อคน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ :
    • สูญเสียมือ แขน ขา เท้า หรือตาบอด (1 ข้าง) : 250,000 บาท
    • สูญเสียมือ แขน ขา เท้า หรือตาบอด (2 ข้างขึ้นไป) : 500,000 บาท
    • ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพการงานใดๆ ได้) : 300,000 บาท
    • สูญเสียนิ้ว : 200,000 บาท (ตามเงื่อนไขกรมธรรม์)

 

ค่าชดเชยรายวันกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) : วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (ยกเว้นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด จะไม่ได้รับส่วนนี้)

เบิก พรบ รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน?

หากเกิดอุบัติเหตุและต้องการเบิก พรบ มอเตอร์ไซค์ สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนี้:

 

  • บริษัทประกันภัยที่ออกกรมธรรม์ พ.ร.บ. : ติดต่อโดยตรงกับบริษัทที่คุณทำ พ.ร.บ. ไว้ เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำและดำเนินการเรื่องเคลม
  • บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RVP) : เป็นหน่วยงานกลางที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น และประสานงานเรื่องการเคลม พ.ร.บ. สามารถติดต่อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือโทรสายด่วน 1791 ทั้งนี้ RVP เป็นหน่วยงานกลาง มีมาตรฐานในการดำเนินการ และเข้าถึงได้ง่าย
  • โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทกลางฯ : โรงพยาบาลหลายแห่งสามารถดำเนินการเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ให้ผู้ประสบภัยได้โดยตรง ทำให้สะดวกและลดภาระการสำรองจ่าย ทั้งนี้ ควรสอบถามกับโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาว่าสามารถดำเนินการเบิก พ.ร.บ. ให้ได้หรือไม่

 

เอกสารประกอบการเบิก พ.ร.บ. โดยทั่วไป :

 

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัย
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
  • ใบรับรองแพทย์ หรือเอกสารการรักษาพยาบาล
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ฉบับจริง)
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน (กรณีมี)
  • สำเนากรมธรรม์ พ.ร.บ. (ถ้ามี)
  • กรณีเสียชีวิต: ใบมรณบัตร, สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของทายาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา