คำนวณค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ค่าชาร์จรถไฟฟ้า แพงไหม ถูกกว่าเติมน้ำมันหรือไม่ คุ้มกว่าไหมในระยะยาว ?
สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจว่าจะซื้อรถไฟฟ้าดีหรือไม่ ค่าชาร์จรถไฟฟ้าแพงไหม ? จะคุ้มค่ากว่าการเลือกซื้อรถซึ่งใช้น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนหรือไม่ ? หรือสำหรับใครที่เพิ่งตัดสินใจถอยรถไฟฟ้าคันแรกมาใหม่และต้องการทราบค่าชาร์จรถไฟฟ้าว่าหากเทียบเป็นตัวเงินแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหนต่อครั้ง วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมมาให้ ทั้งอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า ทางลัดในการคำนวณค่าไฟอย่างโปรแกรมคำนวณค่าไฟที่นำมาแนะนำให้ รับรองว่าเป็นประโยชน์กับผู้ใช้รถไฟฟ้า หรือว่าที่ผู้ใช้รถไฟฟ้ามือใหม่อย่างแน่นอน
รถไฟฟ้า คืออะไร ค่าชาร์จรถไฟฟ้า2-อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าแพงไหม ?
ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลักที่เกี่ยวกับค่าชาร์จรถไฟฟ้านั้นก่อนอื่น แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันก่อนว่ารถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร
รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ใช้แหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนด้วยการใช้ไฟฟ้าซึ่งกักเก็บอยู่บริเวณแบตเตอรี่ของรถยนต์ต่างกับรถยนต์ปกติที่จะมีแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนจากน้ำมัน โดยปัจจุบันผู้คนได้ให้ความสนใจและมีการพัฒนานวัตกรรมทางยานยนต์ใหม่ ๆ ออกมามากมายเพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ด้วยระบบไฟฟ้า เนื่องจากได้มีนักวิทยาศาสตร์ออกมาคาดการณ์ว่าในอนาคตนั้นน้ำมันที่เราใช้กันอยู่ทุกวันจะหมดไปจากโลก ทำให้เราไม่สามารถมีน้ำมันไว้ใช้เพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเครื่องจักรรอบตัวเราได้อีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็มีพลังงานซึ่งสามารถนำมาทดแทนพลังงานน้ำมันได้อย่างพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมนุษย์เราสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเองได้ทั้งจาก หลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เขื่อน
แต่แน่นอนว่าแม้ว่าพลังงานไฟฟ้าจะเป็นพลังงานที่มนุษย์สามารถผลิตขึ้นมาเองได้แต่ก็ยังมีในเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่าย จึงยังมีหลายคนที่กังวลและลังเลว่าหากเปลี่ยนจากรถยนต์ระบบน้ำมันธรรมดามาใช้รถไฟฟ้า จะต้องเสียค่าชาร์จรถไฟฟ้าแพงหรือไม่ คุ้มกับเงินที่ต้องลงทุนซื้อรถไฟฟ้าราคาเหยียบล้านหรือล้านกว่าไหม ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีหลายคนออกมาให้ข้อมูลว่าลงทุนซื้อรถไฟฟ้าคันเดียวและเสียค่าชาร์จรถไฟฟ้าซึ่งมีราคาค่าชาร์จรถไฟฟ้าไม่แพงตลอดไป คุ้มค่ากว่าการเติมน้ำมันขั้นต่ำเดือนละ 2-3 พันบาทแน่นอน
ค่าชาร์จรถไฟฟ้า หน่วยละกี่บาท
แน่นอนว่าถึงแม้หลังจากได้ยินว่าค่าชาร์จรถไฟฟ้าหรืออัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้านั้นคุ้มค่ากว่าการเติมน้ำมันรายเดือนแล้วก็ตาม แต่หลายคนก็คงยังสงสัยว่าค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่ว่ากันว่าไม่แพงนี่มันเท่าไหร่ เมื่อคิดค่าชาร์จรถไฟฟ้าเป็นตัวเงินแล้วต่างกับค่าน้ำมันมากไหม วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงมาตอบคำถามให้ โดยแจกแจงค่าชาร์จรถไฟฟ้า หน่วยละกี่บาท ให้เห็นกันแบบชัดเจน
ประชาชาติธุรกิจได้ให้ข้อมูลค่าชาร์จรถไฟฟ้าตามประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่า ตามราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) นั้นจะมีการคิดค่าชาร์จไฟรถไฟฟ้าในประเทศในสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ PEA ในอัตราตั้งแต่ 4.50-8.80 บาท/หน่วย ซึ่งอัตราค่าบริการนี้จะมีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ค. 2566 เป็นต้นไป
ชาร์จไฟที่บ้าน ค่าชาร์จรถไฟฟ้าถูกกว่าหรือไม่ ?
อย่างที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่านอกจากจะนำรถไฟฟ้าไปชาร์จที่สถานีบริการหากมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียบร้อยยังสามารถชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านได้อีกด้วย แล้วค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านกับค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่สถานีบริการนั้นแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ค่าชาร์จรถไฟฟ้าจาก 2 สถานที่นี้ต่างกันหรือไม่ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร มาดูไปพร้อมกันได้เลย
- ค่าชาร์จรถไฟฟ้ากรณีชาร์จไฟที่บ้านโดยไม่ได้ขอหม้อ TOU ค่าชาร์จรถไฟฟ้าจะแพงกว่าค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่สถานีบริการเพราะจะมีการบวกค่า FT และค่า VAT ร่วมด้วย
- ค่าชาร์จรถไฟฟ้าระหว่างชาร์จที่สถานีบริการและค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านนั้นอาจไม่ต่างกันมากหรือแทบไม่ต่างกันหากมีการขอติดตั้งหม้อ TOU
- แม้ค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่ต้องเสียหากชาร์จที่บ้านอาจแพงกว่าค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่สถานีบริการแต่ก็มีข้อได้เปรียบที่ความสะดวกสบาย สามารถชาร์จทิ้งไว้ตอนกลางคืนระหว่างนอนหลับได้
- การชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการหลีกเลี่ยงการที่ต้องรอคิวชาร์จที่สถานีบริการเป็นเวลานาน
หมดห่วงเรื่องค่าชาร์จรถไฟฟ้า กับแอปคำนวณค่าไฟ โปรแกรมคํานวณค่าไฟ watt
สำหรับผู้ที่ต้องการชาร์จรถไฟฟ้าของตนเองที่บ้านและยังคงมีความกังวลกับค่าชาร์จรถไฟฟ้า(อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า)นั้น สามารถลองใช้แอปพลิเคชันคำนวณค่าไฟ/โปรแกรมคำนวณค่าไฟที่ แรบบิท แคร์ นำมาฝากได้ เผื่อจะได้เพิ่มความอุ่นใจ ชาร์จไฟกันแบบไม่ต้องพะวงเรื่องค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านกันนั่นเอง
Evo Energy แอปพลิเคชัน/โปรแกรมคํานวณค่าไฟ watt
แอปพลิเคชันซึ่งสามารถใช้ช่วยในการคำนวณค่าไฟฟ้า-อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นรายชิ้นภายในบ้านที่สามารถทำการคำนวณได้อย่างละเอียดถึงระดับ ชั่วโมง และนาทีเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถเก็บรวบรวมการคำนวณการใช้ไฟไว้ในรายการของเครื่องใช้ไฟฟ้าและทำการคำนวณค่าไฟรวมกันก็สามารถทำได้ ซึ่งการใช้แอปพลิเคชันนี้จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินค่าไฟฟ้าที่จะใช้แต่ละเดือนเพื่อวางแผนการใช้จ่ายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี
แอปพลิเคชัน Evo Energy จะมีคุณสมบัติหลัก ๆ ดังนี้
- สามารถรองรับหน่วยกำลังไฟฟ้า (W วัตต์/kW กิโลวัตต์) และกระแสไฟฟ้า (mA มิลิแอมป์/A แอมป์)
- สามารถตั้งค่าโวลต์ให้ตรงตามประเทศที่คุณใช้งาน (ตั้งแต่ 100 ถึง 240 Volt) ทั่วโลก
- สามารถรองรับการบันทึกรายการเครื่องไฟฟ้าแต่ละชิ้นแยกเก็บข้อมูลไว้ได้
- สามารถตั้งค่า สกุลเงิน ที่จะใช้ในการคำนวณได้
- สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าตามชั่วโมง-นาทีที่ใช้งานต่อวัน
- สามารถคำนวณผลได้ในทันทีที่กรอกค่าทั้งหมดครบถ้วน
สถานีบริการชาร์จรถไฟฟ้า
บางคนอาจยังไม่ทราบว่าหากซื้อรถไฟฟ้ามาแล้วจะสามารถหาสถานีบริการชาร์จรถไฟฟ้าได้ที่ไหน ในปี 2566 นี้ ทั่วประเทศไทยของเรามีสถานบริการสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้ามากถึง 1,479 แห่งด้วยกัน ซึ่งจะแบ่งเป็นสถานีหลัก ๆ ดังนี้
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. (PTTOR)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เอ็มจี (MG EV Charger Station)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า บีเอ็ม ดับเบิลยู (BMW EV Charger Evolt)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เทสลา (Tesla)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า BYD (Rêver Automotive)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง (MEA EV)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA VOLTA)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
- สถานีชาร์จรถไฟฟ้า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)
โดยจะมีสถานีสาขาย่อยของกระจายตัวอยู่ตามจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และจะมีอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้ารวมถึงสิทธิพิเศษดี ๆ สำหรับลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น สถานีชาร์จรถไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA VOLTA) ค่าชาร์จรถไฟฟ้าหรืออัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าช่วง Peak Time จะอยู่ที่ 7.5489 บาทต่อหน่วย Off Time จะอยู่ที่ 4.1663 บาทต่อหน่วย ส่วนค่าชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. (PTTOR) Off Time จะอยู่ที่ 5.5 บาทต่อหน่วย เป็นต้น
ค่าชาร์จรถไฟฟ้า Peak Time - Off Time ต่างกันอย่างไร ?
แน่นอนว่าสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรถไฟฟ้าและค่าชาร์จรถไฟฟ้าคงจะได้ยินเกี่ยวกับคำว่า Peak Time และ Off Time มาบ้าง ซึ่งความจริงแล้วความหมายของ 2 คำนี้นั้นตรงตัวมากนั่นก็คือ Peak Time จะเป็นช่วงที่คนต้องการชาร์จไฟกันมาก มีอัตราการเข้าใช้บริการสถานีชาร์จไฟสูง ในทางตรงกันข้าม Off Time คือช่วงเวลาที่คนต้องการชาร์จไฟน้อย มีอัตราการเข้าใช้บริการสถานีชาร์จไฟน้อย ทำให้ค่าชาร์จไฟรถไฟฟ้าช่วง Peak Time สูงกว่าช่วง Off Time นั่นเอง
ข้อควรระวังและสิ่งที่ควรคำนึงนอกจากค่าชาร์จรถไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจว่าจะซื้อรถไฟฟ้าดีหรือไม่ นอกจากจะต้องคำนึงถึงค่าชาร์จรถไฟฟ้าคำนวณค่าไฟว่าคุ้มกว่าค่าน้ำมันจริงหรือไม่ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องใส่ใจและนำมาประกอบการพิจารณา
- ความจุของแบตเตอรี่-ระยะทางที่วิ่งได้ไกลที่สุด
- ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ต่อครั้ง
- ค่าใช้จ่ายที่ต้องเจอในการซ่อมบำรุง
- บริการหลังการขายที่ดี
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ห้ามละเลยเป็นอันขาดก็คือการทำประกันรถยนต์ไฟฟ้า กับ แรบบิท แคร์ ที่จะสามารถช่วยดูแลรถของคุณได้อย่างครอบคลุมยามเกิดเหตุฉุกเฉินและแบ่งเบาในเรื่องค่าซ่อมแซมต่าง ๆ เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุขึ้นตอนไม่มีประกัน สำหรับรถไฟฟ้าที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในยุคนี้ค่าซ่อมแซมย่อมบานปลายอย่างแน่นอน
ความคุ้มครองประกันรถยนต์