ข่าวสาร

‘เจอ แจก จบ’ อัพเดตขั้นตอนเตรียมพร้อมสู้โควิดในปี 65

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: March 9,2022
‘เจอ แจก จบ’

เข้าสู่ปี พ.ศ. 2565 แล้วหลาย ๆ ท่านยังคงตามข่าวอัพเดตโควิด-19 แบบเกาะติดสถานการณ์ ถึงแม้ว่าจะมีข่าวอื่น ๆ กลบเสียงไปบ้าง แต่เรื่องสุขภาพที่ต้องดูแลทำให้ผู้คนยังกังวลอยู่มาก และเตรียมรับมือกับการติดเชื้อแบบไม่ทันตั้งตัว จากสถานการณ์ตอนนี้ (8 มีนาคม 2565) อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสะสมอยู่ที่ 3.05 ล้านคน ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับต้นปีเพิ่มขึ้นถึง 37%


เมื่อดูข้อมูลผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจคาดว่าเป็นเหตุจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ‘โอมิครอน’ อาการอาจไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์เดลต้าหรืออัลฟ่า แต่มีประสิทธิภาพแพร่กระจาย และติดเชื้อได้รวดเร็วกว่า ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลต่อกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการรุนแรงได้ อาทิ ผู้สูงอายุ, เด็ก และผู้มีโรคประจำตัว เป็นต้น โดย iPrice Group ขอทำสรุปขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมกับการรับมือภัยโควิดในปัจจุบันจากผลตรวจเป็นบวกควรทำอย่างไร

ตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเองเมื่อพบอาการน่าสงสัย

ตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง

แม้ว่าทางรัฐบาลจะปลดล็อคให้ออกไปใช้ชีวิตข้างนอกได้ตามปกติ แต่ยังมีมาตราการควบคุมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และยับยั้งการแพร่กระจ่ายโดยการใส่หน้ากากอนามัยและล้างเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่วายต้องสังเกตุอาการที่เข้าข่าย เช่น ไอ, เจ็บคอ, มีไข้, มีน้ำมูก และหายใจลำบาก เป็นต้น อาการเหล่านี้สามารถใช้เครื่องตรวจ ATK หาซื้อได้ตามร้านเภสัชฯ ทั่วไป

2. ผลเป็นบวกทำอย่างไร?

เครื่องตรวจ ATK ผลเป็นบวกทำอย่างไร

หากผลเป็นบวกหรือขึ้น 2 ขีด ทางกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าไม่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ สามารถดำเนินขั้นตอนต่อไปได้ทันที

  • ตรงดิ่งไปโรงพยาบาลพื้นที่ใกล้เคียงหรือสามารถใช้สิทธิของตัวเองได้
  • โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อสอบถามข้อมูลคัดกรองเบื้องต้น และจับคู่โรงพยาบาลกับผู้ป่วยสำหรับการติดต่อดูแลระหว่างกักตัวที่บ้าน
  • ติดต่อหน่วยงานอาสาสมัครอย่างเช่น Thai Care ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อขอความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยโควิดอย่างทั่วถึง

นอกเหนือจากนั้นยังมีกลุ่มจิตอาสาอีกมาย เช่น กลุ่มอาสาสมัครเส้นด้าย, องค์กรทำดีของคุณปนัดดา วงศ์ผู้ดี และทีมอาสาร่วมกตัญญู ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ทำงานด้วยใจอาสา เข้าถึงผู้ป่วยได้เร็วก่อนส่งต่อมือหมออย่างปลอดภัย

3. คัดกรองผู้ป่วย ‘เจอ แจก จบ’

คัดกรองผู้ป่วยผู้ป่วยภาวะเสี่ยงต่ำ Tele-Health

อาการของผู้ป่วยโควิดแต่ละคนจะมีความรุนแรงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย, โรคประจำตัว, อายุ และวัคซีนป้องกันที่อาจมีผลยับยั้งเชื้อไม่ให้ลุกลามมากเกินไป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะมีการประเมินอาการเบื้องต้นว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงน้อยหรือมีภาวะเสี่ยงสูง

จากข้อกำหนดใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้านตามแนวทาง ‘เจอ แจก จบ’ จับคู่กับโรงพยาบาลในพื้นที่ด้วยระบบโทรติดตามอาการ Tele-Health ดังนี้

  • ผู้ป่วยภาวะเสี่ยงต่ำ
    • แยกกักตัวที่บ้าน 7 วันรักษาอาการ และ 3 วันเพื่อเฝ้าระวังอาการ
    • จ่ายยาตามอาการ (เจอ แจก จบ) โดยแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร, ยารักษาตามอาการ เช่น ลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก สุดท้ายคือยาฟาวิพิราเวียร์ จนผู้ป่วยสามารถรักษาตนเองจนหายได้
  • ผู้ป่วยภาวะเสี่ยงสูง

จากผลสรุปอาการคัดกรองเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงสูงถึงขั้นปอดอักเสบหรือโรคแทรกซ้อนจากการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) แพทย์จะพิจารณาส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล และให้ยาที่เหมาะสม

เดิมทีต้องเข้าใจแนวทางใหม่จากกระทรวงสาธารณะสุขที่กำหนดขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักคือ

  • 1) เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยในศูนย์พักพิง และโรงพยาบาล สำรองเตียงแก่ผู้ป่วยที่ฉุกเฉินได้ใกล้ชิดแพทย์อย่างเหมาะสม
    และ
  • 2) ผู้ป่วยเสี่ยงต่ำสามารถรับประทานยาตามแพทย์แนะนำ พร้อมรักษาตัวเองได้ที่บ้านจนหายดี

ความรุนแรงของโควิด-19 ยังไม่หมดไปโดยอิงจากยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นวันละ 10,000 ราย ซึ่งเป็นงานหนักแก่บุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อหาวิธีรับมือที่รวดเร็ว แม่นยำ ด้วยระบบคัดกรองผู้ป่วยให้สามารถกักตัวรักษาที่บ้านได้ แถมยังมีเจ้าหน้าที่พยาบาลโทรสอบถามอาการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ หากช่วยรณรงค์ป้องกันอย่างถูกต้อง ลดการแพร่กระจายเชื้อก็อาจจะหมดลงไปอย่างช้า ๆ ในอนาคต

เขียนโดย อัดนาน ปูตีลา


 

บทความข่าวสาร

Rabbit Care Blog Image 97185

ข่าวสาร

Rabbit Care Targets Leadership in the ‘GroupInsurance Brokerage’ Market, Aiming for 40% PolicyGrowth by 2025 with ‘Employee Well-Being’Strategies and Personalized Consultation Solutions

Bangkok, 24 October 2024 — Rabbit Care Co Ltd, Thailand’s leading online insurance (InsurTech) and financial product (FinTech) brokerage platform under the BTS Group, is advancing its corporate insurance services, a key revenue driver with a 30% YoY growth. Rabbit Care is reinforcing its role as an employee welfare consultant, focusing on an ‘Employee Well-Being’ approach. This solution goes beyond offering group employee benefits by
Thirakan T
25/10/2024
Rabbit Care Blog Image 97177

ข่าวสาร

“แรบบิท แคร์” ปักธงแบรนด์ผู้นำ “โบรกเกอร์บริการประกันกลุ่ม” วางเป้ายอดกรมธรรม์ ปี 68 โต 40% พร้อมลุยกลยุทธ์ “Employee Well-Being” รังสรรค์สวัสดิการที่ตรงใจ ชูไฮไลต์ โซลูชันให้คำปรึกษากับพนักงานแบบรายบุคคล

กรุงเทพฯ 24 ตุลาคม 2567 - บริษัท แรบบิท แคร์ จำกัด (Rabbit Care) แพลตฟอร์มโบรกเกอร์ชั้นนำด้านประกันภัย (InsurTech) และผลิตภัณฑ์ด้านการเงิน (FinTech) ออนไลน์ของประเทศไทยในเครือ BTS
Thirakan T
25/10/2024
Rabbit Care Blog Image 89135

ข่าวสาร

Rabbit Care Showcases FinTech Leadership, Sweeps Credit Card Usage, and Pushes Growth by 42%, Revealing Spending Trends for 2024

Bangkok, 27 March 2024 — Rabbit Care, Thailand's leading online insurance (InsurTech) and financial product comparison platform (FinTech), operating under the BTS Group, is enhancing its capabilities in comparing financial products. The platform has revealed a continued growth trend in the credit card business, witnessing a remarkable 42% increase in users applying for credit cards through Rabbit Care compared to 2022. Furthermore, Rabbit
กองบรรณาธิการ
28/03/2024