ซิงเกิลมัม ซิงเกิลแด๊ด บริหารการเงินยังไงดี
คำว่าครอบครัว ในบางครั้งอาจจะไม่ได้หมายถึง พ่อ แม่ ลูก เสมอไป เมื่อความรักถึงทางตัน หรือต้องสูญเสียคู่ชีวิตไป การเลี้ยงดูลูกเพียงคนเดียวจึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับ คุณพ่อ หรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว และไม่ใช่แค่การเลี้ยงดูนะ เพราะค่าใช้จ่าย หรือเรื่องการเงินในบ้านก็สำคัญมากๆ เช่นกัน
วันนี้ Rabbit Care จะพาเหล่าคุณพ่อ คุณแม่ มาบริหารการเงินกันดีกว่า วางแผนยังไงดีนะ?
ซิงเกิลมัม ซิงเกิลแด๊ด บริหารการเงินยังไงดี
ตรวจเช็กบัญชีทั้งรายรับ รายจ่าย
ก่อนจะวางแผน เริ่มต้นทำอะไร เราขอแนะนำให้คุณลองเช็กรายรับ รายจ่ายของตัวเองเสียก่อน ในกรณีที่คู่ชีวิตเสียไปแล้วทิ้งประกันชีวิต หรือมรดกต่างๆ เอาไว้ให้ ก็ลองแจกแจงดูว่าเราสามารถนำเงินก้อนนี้ไปอุดรายจ่ายอะไรได้บ้าง?
หากใครโชคดี คู่ชีวิตอาจจะทิ้งเบี้ยประกันชีวิตต่างๆ ไว้ให้ หรือใครที่หย่าร้างแต่อีกฝ่ายมีค่าเลี้ยงดูบุตรให้ ก็อาจจะช่วยแบ่งเบาภาระไปได้บ้าง ในทางกลับกัน หากไม่มีให้ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ เราจะได้วางแผนหาทางกันต่อไป
การตรวจเช็กบัญชีรายรับ รายจ่ายต่างๆ ภายในบ้าน จะทำให้คุณพ่อหรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยววางแผนได้เป็นระบบมากขึ้น
อย่างน้อยๆ เราก็รู้ว่า ภายใน 1 เดือน ครึ่งปี หรือ 1 ปีเต็มๆ นั้น เราต้องเสียรายจ่ายไปกับอะไรบ้าง สามารถลด ตัด เพื่อประหยัดรายจ่ายได้ไหม หรือถ้าไม่พอจริงๆ ควรหารายได้เสริมยังไง ลงทุนแบบไหนบ้าง ต้องเก็บออมเงินแบ่งเป็นกี่ก้อน การวางแผนการเงินไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ลองค่อยๆ ปรับไปตามไลฟ์สไตล์ และบัญชีรายรับ รายจ่าย ไปเรื่อยๆ
ปรับความเข้าใจกับลูกเรื่องการเงินในบ้าน
นอกจากเรื่องสภาพครอบครัวที่คุณต้องพูดคุยให้เข้าใจกับลูกแล้ว หากสภาพการเงินจำเป็นต้องประหยัด รัดเข็มขัด หรือไม่สามารถซัพพอร์ตกิจกรรมของลูกได้เหมือนทุกครั้ง เราขอแนะนำให้คุณจับเข่าคุย เปิดอกเปิดใจคุยกับลูกอย่างตรงไปตรงมา
ผู้ปกครองหลายคนเลือกที่จะปิดบังเรื่องสภาพการเงินกับลูกๆ เพราะไม่อยากให้ลูกกังวล หรือเครียดไปด้วยกับเรา บอกเลยว่าวิธีการนี้ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์นัก
เพราะเมื่อคุณเลือกที่จะไม่บอก ลูกก็จะไม่รู้ เมื่อลูกไม่รู้ ไม่เข้าใจ ก็คิดว่าพ่อแม่ส่งเรียนไหว หรืออยากจะทำกิจกรรมอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ ยิ่งถ้าคุณปิดบัง ไม่บอกสาเหตุที่แท้จริง และไม่สามารถให้ตามที่ลูกต้องการได้ อาจจะยิ่งสุมไฟในครอบครัวมากขึ้นไปอีก
เมื่อลูกไม่เข้าใจ ไม่รู้ ไม่ทราบ นอกจากนี้ผู้ปกครองไม่ให้ข้อมูลที่แท้จริง บอกบ่ายเบี่ยง บอกปัด ก็ยิ่งทำให้ลูกไม่พอใจได้ เหตุผลก็เพราะไม่รู้ว่าปัญหาอยู่ที่เรื่องเงินนั่นเอง
การจะบอกลูกถึงเรื่องสภาพการเงินในบ้านเอง ก็ใช้จิตวิทยาในเด็กไม่แพ้กับตอนที่พ่อแม่หย่าร้าง หรือต้องสูญเสียคู่ชีวิตไป เราแนะนำให้เล่าเรื่องแบบกลางๆ ไม่ต้องใส่อารมณ์ลงไป พร้อมกับบอกวิธีแก้ไขด้วยว่าทุกคนจะช่วยกันได้อย่างไรบ้าง
คุณอาจไม่ต้องบอกละเอียดถึงขนาดว่ามีเงินเดือนเท่าไหร่ก็ได้ แต่ให้ลองยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า บางกิจกรรม เสื้อผ้า มือถือที่แพงมากๆ จะซื้อตลอดก็ไม่ไหว อาจจะต่อรองว่าควรเป็นนานๆ ครั้ง และมีการวางแผนจะใช้เงินเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านี้จึงจะสามารถทำได้ ลูกจะรู้สึกไม่เครียด และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องการเงินจนเกินพอดีด้วย
มองหารายได้เสริม
หากรู้ตัวว่ารายรับที่ได้มาไม่เพียงพอ หรือเดือนชนเดือน ถึงแม้จะประหยัดกันทั้งบ้านแล้วก็ตาม แต่ยังไง๊ยังไงก็ยังไม่พออยู่ดี คุณอาจจะต้องลองหาทางเพิ่มรายได้ให้ตัวเองสิ แน่นอนว่าเรื่องหารายได้ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่ถนัด บางคนเริ่มงานเสริมข้างนอก บางคนเปิดธุรกิจ ค้าขาย หรือสร้างรายได้จากแหล่งอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน
แน่นอนว่าหารายได้เสริมแล้ว คุณไม่ควรลืม หรือละเลยการเก็บออมต่างๆ อาจจะเริ่มออมเงินเล็กๆ น้อยๆ ก่อน ไม่ต้องถึงขนาดหักดิบเริ่มออมด้วยเงินก้อนครั้งละมากๆ (เนื่องจากสภาพการเงินไม่อำนวย) เอาเป็นว่า ออมเท่าที่สะดวกจะออม แต่ไม่ควรลืมออมเงินเป็นอันขาด ลองคิดดูสิ ถ้าวันหนึ่งเกิดเจอเรื่องไม่คาดฝันขึ้นมา เราไม่มีเงินก้อนอยู่ในมือ ไม่ใช่แค่เราที่ลำบาก แต่ลูกเราอาจจะลำบากไปด้วย
เน้นลงทุนระยะยาว และความเสี่ยงต่ำ
นอกจากเรื่องการออมเงิน หารายได้เสริม เมื่อคุณเก็บเงินก้อนได้สักก้อน เราจะแนะนำให้ลองแบ่งออกมาลงทุนด้วย ซึ่งการลงทุนที่ว่า ควรเป็นการลงทุนที่ระยะยาว และมีความเสี่ยงต่ำ
สำหรับการลงทุนที่เราแนะนำ ซ้ำยังช่วยเก็บออมเงินไปในตัว จะเป็นพวกกองทุนร่วมแบบ LMF RMF พวกกองทุนพันธบัตร หรือ ประกันชีวิตนั่นเอง
โดยเฉพาะกับประกันสะสมทรัพย์ ที่นอกจากจะให้ความคุ้มครองชีวิตแล้ว ยังให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ช่วยให้คุณออมเงินได้ง่ายมากขึ้น เงินไม่รั่วไหล มีเงินก้อนไว้เก็บใช้เพื่อการศึกษาของลูกหลานในอนาคตได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกเป็นวัยที่เตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย อย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่าเงินก้อนไว้คอยซัพพอร์ต จ่ายค่าใช้จ่ายหนักๆ ได้ไม่ยาก หรือเก็บเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินก็ได้เช่นกัน
สำหรับยุคนี้แล้วอาจจะไม่จำเป็นเสมอไปที่ครอบครัวต้องมีองค์ประกอบพ่อแม่ลูกครบถ้วน ขอเพียงแค่ความรัก ความเข้าใจ ก็กลายเป็นครอบครัว เป็นบ้านที่ดีได้เช่นกัน
และเหล่าคุณพ่อคุณแม่คนไหน ที่วางแผน มองการณ์ไกลถึงอนาคตของลูก เรื่องการเงินก็เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม การเก็บออมเงิน ทำประกันสะสมทรัพย์ นับเป็นอีกหนทางสร้างหลักมั่นคงให้กับอนาคต นอกจากจะได้ความคุ้มครองแล้ว ยังช่วยบริหารเงินออม สร้างระเบียบวินัยทางการเงินได้อีกด้วย
ถ้าไม่รู้ว่าจะทำ ประกันสะสมทรัพย์ ที่ไหนดี ก็ต้องที่นี้เลย Rabbit Care เพราะที่นี่มีประกันให้คุณได้เลือกเปรียบเทียบ และบริการทำประกันออนไลน์ได้ง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct