แคร์ไลฟ์สไตล์

ยามอุบากอง 2566 ศาสตร์การดูฤกษ์โบราณ ฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถ ดูได้หมด!

ผู้เขียน : ONLYWONDER
ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: March 8,2023
  
Last edited: April 5, 2023
สอนดูยามอุบากอง สำหรับออกเดินทาง หรือ ยามอุบากอง ออกรถ

ขึ้นชื่อว่าศาสตร์โบราณย่อมอดีตหรือประวัติศาสตร์ให้เราศึกษาอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับยามอุบากอง ที่เป็นเรื่องราวการดูฤกษ์สลักสำคัญจนสามารถช่วยชีวิตคนได้จริงในอดีต ซึ่งพอเวลาผ่านไปจากการใช้งานฤกษ์ยามอุบางกองเพื่อดูลู่ทางการหลบหนี ก็ได้ถูกนำไปปรับใช้งานจนกลายเป็นยามอุบากอง ออกเดินทาง จนถึงยุคสมัยปัจจุบันที่ใช้ยามอุบาออกรถก็มีเช่นกัน  

ยามอุบากองคืออะไร? มีประวัติที่มาอย่างไร?

ยามอุบากองหรือฤกษ์ยามอุบางกอง คือ ฤกษ์ที่เอาไว้ใช้ดูเวลาอันมงคล เพื่อใช้ในการเดินทางช่วงเวลาต่าง ๆ พบบันทึกการใช้ฤกษ์ดังกล่าวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยปรากฎชื่อ “อุบากอง” หรือนายทหารพม่าที่กำลังทำการหลบหนีเป็นผู้ใช้งานคนแรก ผ่านการใช้ “ตำรายันต์ยามยาตรา” และนำมาเผยแพร่ขณะถูกจับกุมตัวอยู่ที่เชียงใหม่ ทำให้สุดท้ายตัวอุบากองและพวก พากันแหกคุกวัดโพธิ์ได้สำเร็จ 

ทว่านักโทษพม่าเชื้อสายไทยบางคนก็ไม่ได้หนีไปพร้อมอุบากอง ทำให้พวกเขาเหล่านั้นนำเรื่องการใช้ตำรายันต์ยามตราไปเผยแพร่ต่อกับผู้คุ้มนักโทษ จนกลายเป็นที่เล่าขานในชื่อยามอุบากอง ถึงความแม่นยำในการดูฤกษ์ยาม เวลาดีในการเดินทางหรือหลบหนีจากที่แห่งนั้นนั่นเอง

ยามอุบากองใช้ดูฤกษ์อะไรได้บ้าง?

ในอดีตยามอุบากอง ใช้เป็นฤกษ์เดินทางในหลายโอกาส เช่น การเดินทัพ หรือการชนช้าง แต่ในปัจจุบันมีการนำมาปรับใช้เพื่อดูฤกษ์ที่เป็นสิริมงคลในหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่น ฤกษ์ออกรถ, ฤกษ์เดินทาง, ฤกษ์ทำธุรกิจ, ฤกษ์นำเสนองาน, ฤกษ์เข้าพบปะลูกค้า และอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำวิธียามอุบากองไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม 

ยามอุบากองมีทั้งหมดกี่รูปแบบ?

ฤกษ์ยามอุบากองที่มีปรากฏในตำราพรหมชาติ กับพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 1 มีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ยามอุบากองแบบวันเวลา 2) ยามอุบางข้างขึ้น และ 3) ยามอุบากองข้างแรม ทั้งนี้ มีรายละเอียดของฤกษ์ดังกล่าวในแต่ละรูปแบบ ดังต่อไปนี้

ยามอุบากองแบบวันเวลา

ฤกษ์ยามอุบากองแบบวันเวลา คือ การดูตารางฤกษ์เดินทางในรูปแบบที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากลองดูฤกษ์ด้วยตัวเอง เนื่องจากสามารถใช้ตารางฤกษ์แบบวันเวลาในการตรวจดูฤกษ์มงคลได้ครบถ้วนโดยไม่ต้องอาศัยตารางอื่นประกอบ

ตารางฤกษ์อุบากองแบบวันเวลา จะกำหนดวันในสัปดาห์ชัดเจนครบทั้ง 7 วัน ได้แก่ จันทร์ถึงอาทิตย์ตามปกติ แต่จะมีการแบ่งช่วงวันเวลา (ยาม) เป็นกลางวัน 5 ยาม และกลางคืน 5 ยาม ซึ่งใน 1 ยามจะมีค่าเท่ากับ 2 นาฬิกากับ 4 บาท หรือเทียบเท่ากับ 2 ชั่วโมง 24 นาที (1 บาทเท่ากับ 6 นาที)

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน

06.01 น.

08.24 น.

08.25 น.

10.48 น.

10.42 น.

13.12 น.

13.13 น.

15.36 น.

15.37 น.

18.00 น.

กลางคืน

18.01 น.

20.24 น.

20.25 น.

22.48 น.

22.49 น.

01.12 น.

01.13 น.

03.36 น.

03.37 น.

06.00 น.

วันอาทิตย์

0000

X

00

0

วันจันทร์

0

0000

X

00

วันอังคาร

00

0

0000

X

 วันพุธ

00

0

0000

X

วันพฤหัสบดี

X

00

0

0000

วันศุกร์

0000

X

00

0

วันเสาร์

0

0000

X

00

ยามอุบากองแบบข้างขึ้นและข้างแรม

ยามอุบากองแบบข้างขึ้น และยามอุบากองแบบข้างแรม คือ การดูฤกษ์เดินทางหรือฤกษ์ออกรถสำหรับผู้ที่ต้องการความแม่นยำในการออกฤกษ์มากยิ่งขึ้นเนื่องจากต้องใช้ตารางฤกษ์อุบากอง 2 แบบประกอบกัน ได้แก่ ตารางวันข้างขึ้นและตารางวันข้างแรม 

โดยในแต่ละตารางจะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด ทำให้การใช้งานฤกษ์ยามอุบากองข้างขึ้นข้างแรม ต้องดูทั้ง 2 ตารางประกอบกัน ซึ่งตารางฤกษ์ข้างขึ้นจะใช้ตารางรูปแบบเดียวกันกับตารางแบบวันเวลา ส่วนตารางฤกษ์ข้างแรมจะใช้ตารางรูปแบบที่เรียกว่า “กลับจากเย็นไปเช้า”

ยามอุบากองข้างขึ้น

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน

06.01 น.

08.24 น.

08.25 น.

10.48 น.

10.42 น.

13.12 น.

13.13 น.

15.36 น.

15.37 น.

18.00 น.

กลางคืน

18.01 น.

20.24 น.

20.25 น.

22.48 น.

22.49 น.

01.12 น.

01.13 น.

03.36 น.

03.37 น.

06.00 น.

วันอาทิตย์

0000

X

00

0

วันจันทร์

0

0000

X

00

วันอังคาร

00

0

0000

X

 วันพุธ

00

0

0000

X

วันพฤหัสบดี

X

00

0

0000

วันศุกร์

0000

X

00

0

วันเสาร์

0

0000

X

00

ยามอุบากองข้างแรม

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน

15.37 น.

18.00 น.

13.13 น.

15.36 น.

10.42 น.

13.12 น.

08.25 น.

10.48 น.

06.01 น.

08.24 น.

กลางคืน

03.37 น.

06.00 น.

01.13 น.

03.36 น.

22.49 น.

01.12 น.

20.25 น.

22.48 น.

18.01 น.

20.24 น.

วันอาทิตย์

0000

X

00

0

วันจันทร์

0

0000

X

00

วันอังคาร

00

0

0000

X

วันพุธ

00

0

0000

X

วันพฤหัสบดี

X

00

0

0000

วันศุกร์

0000

X

00

0

วันเสาร์

0

0000

X

00

ยามอุบากองแบบดิถีค่ำและเวลา

ยามอุบากองอ้างอิงตามดิถีค่ำและเวลา คือ ฤกษ์ยามอุบากองที่ใช้เวลาเหมือนกับตารางฤกษ์แบบวันเวลา เพียงแต่จะมีการตัดวันออกไป 2 วัน เหมาะกับคนที่มีความเข้าใจเรื่องโหราศาสตร์ประมาณหนึ่ง เข้าใจวิธีการนับแบบโบราณ เพื่อให้สามารถทดวันและเดือนสำหรับดูฤกษ์เดินทางได้อย่างแม่นยำ

ตารางในรูปแบบ 5×5 จะมีการนับก็แตกต่างออกไปเช่นกัน รูปแบบของยามอุบากองตามดิถีค่ำเวลา จะนับทีละช่องเริ่มจาก 1 ค่ำ – 5 ค่ำ พอเริ่มขึ้น 6 ค่ำ ก็จะนับช่องแรกแล้ววนใหม่ จนกว่าจะถึงช่วงค่ำที่ต้องการ 

สำหรับยามอุบากองแบบดิถีค่ำและเวลา ได้รับการสืบทอดรูปแบบความนิยมมากอีก 3 ประเภทย่อยด้วยกันดังนี้

  • แบบดิถีค่ำและเวลาที่ใช้ตามปฏิทินจันทรคติไทย มีการเพิ่มทดวันทดเดือน แต่อาจมีการคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย
  • แบบดิถีค่ำและเวลาที่ใช้ดิถีโหรคำนวณจากตำแหน่งจันทร์จริง เพราะอ้างอิงจากดิถีในปฏิทินโหรศาสตร์ ที่มีตำแหน่งดาวคำนวณไว้อย่างแม่นยำแล้ว
  • แบบดิถีค่ำและเวลาที่ใช้ตามปฏิทินจีน ที่ดูแม่นยำมากที่สุดหากพูดถึงเรื่องตำแหน่งจันทร์ของจริง โดยค่ำของปฏิทินจีนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ 1 – 30 ซึ่งบางเดือนอาจมี 29 วัน ไม่มีขึ้นแรม หากผู้ใดต้องการข้อมูลใช้อ้างอิงตามปฏิทินจีนนี้หรือแบบปฏิทิน 3 ภาษาได้เลย

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน

06.01 น.

08.24 น.

08.25 น.

10.48 น.

10.42 น.

13.12 น.

13.13 น.

15.36 น.

15.37 น.

18.00 น.

กลางคืน

18.01 น.

20.24 น.

20.25 น.

22.48 น.

22.49 น.

01.12 น.

01.13 น.

03.36 น.

03.37 น.

06.00 น.

1

0000

X

00

0

2

0

0000

X

00

3

00

0

0000

X

4

00

0

0000

X

5

X

00

0

0000

วิธีดูฤกษ์ยามอุบากองออกเดินทางและออกรถด้วยตัวเอง 

การดูตารางฤกษ์ออกเดินทางหรือดูฤกษ์ออกรถด้วยตนเอง ทำได้โดยการเลือกตารางฤกษ์อุบากองที่ตรงกับความต้องการของตนเองหรือวัตถุประสงค์การใช้งานที่สุด จากนั้นอ่านความหมายสัญลักษณ์ที่ปรากฎในช่องวันและเวลา (ยาม) ที่ต้องการใช้ หากปรากฎตัวเลขศูนย์ 2 ตัว (00) หรือเลขศูนย์ 4 ตัว (000) หมายความว่าเป็นช่วงฤกษ์งามยามดีมากที่สุด ส่วนสัญลักษณ์อื่น ๆ จะมีความหมายเบื้องต้นดังนี้

  • เลขศูนย์ 1 ตัว (0) หมายความว่า ช่วงเวลาที่ยังไม่ดี ไม่ควรออกเดินทาง หรือทำกิจใด
  • เลขศูนย์ 2 ตัว (00) หมายความว่า เป็นช่วงฤกษ์ดี ออกเดินทางหรือทำกิจใด จะได้รับโชคลาภมหาศาล
  • ไม่มีเลขศูนย์ หมายความว่า ช่วงเวลาปกติ ไม่ได้ถือว่าเป็นฤกษ์ดีหรือร้าย 
  • เครื่องหมายกากบาท (X) หมายความว่า เป็นช่วงเวลาแห่งความอัปมงคล ไม่ควรกระทำการสิ่งใดเลย
  • เลขศูนย์ 4 ตัว (0000) หมายความว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุด จะออกเดินทาง หรือทำกิจใดก็ประสบความสำเร็จ

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการดูฤกษ์เดินทางเพื่อหาช่วงเวลาที่ดีที่สุด อาจเริ่มต้นด้วยการเลือกดูยามอุบากองแบบวันและเวลาก่อน จากนั้นดูว่าวันที่ต้องการเดินทางมีวันไหนบ้างที่ตรงกับช่วงที่ฤกษ์ดี หากต้องการออกเดินทางในวันอังคาร ตามเลข 0 แล้ว จะมีช่วงเวลาดีทั้งหมด 2 ช่วงด้วยกัน คือ เช้า (เวลากลางวัน 06.01น. กับ 08.24 น. และกลางคืน 18.01 น. กับ 20.24 น.) และเที่ยง (เวลากลางวัน 10.42 น. กับ 13.12 น. และกลางคืน 22.49 น. กับ 01.12 น.)

ก่อนออกเดินทางใกล้หรือไกล นอกจากดูฤกษ์เดินทางด้วยยามอุบากอง และสวดคาถาเดินทางปลอดภัยแล้ว ลองพิจารณาเพิ่มเติมความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ตลอด 24 ชั่วโมงเสริมเข้าไปด้วย เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็จะมีคนคอยช่วยดูแลคุณอยู่เสมอ ซึงทาง แรบบิท แคร์ มีตัวเลือกให้ได้เข้ามาเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์จากบริษัทชั้นนำจำนวนมาก และรายล้อมด้วยข้อเสนอสุดพิเศษ เช่น ผ่อน 0% นาน 10 เดือน, ส่วนลดสูงสุด 70%, มีบริการติดต่อช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง และอื่น ๆ อีกเพียบ รับประกันคุ้มกว่าซื้อเองแน่นอน 

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024