แคร์การลงทุน

การฟอกเงิน คืออะไร ? มีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่นักลงทุนต้องรู้ก่อน ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: July 21,2023
  
Last edited: June 1, 2024
ฟอกเงิน

กลโกงทางการเงิน นับวันยิ่งซับซ้อน แยบยล นับวันยิ่งเนียน หลอกตาได้จนต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมาอุดรูโหว่สำหรับเหล่าพวกมิจฉาชีพหัวใส แม้แต่ธุรกิจที่ดูดี น่าเชื่อถือ ก็อาจเป็นการฟอกเงิน ที่หากนำตนเองเข้าไปเกี่ยวข้องก็อาจทำให้เสียทั้งเงิน เสียทั้งความน่าเชื่อถือ ฉะนั้น นักลงทุนทุกท่านนอกจากความรู้ด้านธุรกิจ ยังจะต้องมีความเป็นนักสืบ รู้ทันสัญญาณเตือนของการฟอกเงินทั้งหลาย

ฟอกเงิน คืออะไร ?

การฟอกเงิน (Money Laundry) คือการนำเงินที่ได้มาจากความผิดทางกฎหมาย เช่น เงินพนัน ธุรกิจการโกงกิน หรือค้าขายของผิดกฎหมาย มาบิดเบือน เปลี่ยนแปลงต้นทางว่ามาจากการทำธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือนำเงินมาลงทุนต่อในกิจการที่แลดูขาวสะอาด อธิบายตามความหมายของคำเลยก็คือการนำเงินสกปรก มาซักฟอกให้ขาวสะอาด

ฟอกเงิน

วิธีการฟอกเงิน

จะเข้าใจ และรู้เท่าทันสัญญาณของการฟอกเงินก็จะต้องเข้าใจวิธีการทั้งหลายให้ได้ระดับหนึ่ง โดยแน่นอนว่า money laundry มีความซับซ้อนอยู่ค่อนข้างสูง แต่เราสามารถแบ่งกระบวนการได้ออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ 

ขั้นตอนที่ 1 : Placement

หลังจากที่ทำธุรกิจผิดกฎหมายแล้วเราจะต้องพยายามหาที่ลง ให้เงินก้อนนั้นกลายเป็นเงินที่มาจากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่นหากได้เป็นเงินสีเทา หรือเป็นทองผิดกฎหมาย การ Placement คือการนำเงินไปฝากในธนาคารที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ขั้นตอนที่ 2 : Layering

ใช้การโอนเงินหลาย ๆ รอบ หรือการตบแต่งบัญชี เพื่อเพิ่มความซับซ้อนในการตรวจสอบที่ไปที่มาของเงินนั้น ๆ ทำให้ดูเหมือนกับว่าเงินได้เข้าสู่กระบวนการโอนเข้าออกจากบัญชีทั่วไป แต่แท้จริงแล้วเงินจะวนกลับมาให้ตนเอง

ขั้นตอนที่ 3 : Integration

เงินที่ถูกฟอกเรียบร้อยถูกนำมาใช้ หรือต่อยอดเป็นธุรกิจ ที่อาจใช้เป็นฉากกั้น บังหน้า เปลี่ยนเงินให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ถูกกฎหมาย ยากที่จะตรวจสอบ

โดยการฟอกเงิน บางครั้งอาจจะทำหลากหลายช่องทางผสมผสานกัน หรืออาจเลือกเพียงช่องทางเดียวก็เป็นได้ จึงทำให้ยากที่จะตรวจสอบมาก ๆ 

รูปแบบกลโกงฟอกเงิน

แน่นอนว่ามีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจ และช่องทางต่าง ๆ ที่มิจฉาชีพตัดสินใจใช้ แต่รูปแบบใหญ่ ๆ ที่มักนิยมใช้ มีด้วยกัน 3 วิธี ดังนี้

แบบสเมิร์ฟ (Smurfs)

คำว่า Smurf ใช้เป็นสแลงภาษาอังกฤษในหมู่คนเล่นเกมออนไลน์ ได้แก่การสร้างบัญชีปลอม เช่น คนที่เล่นเกมเก่งอยู่แล้วแต่สร้างบัญชีม้าขึ้นมาเพื่อเล่นเกมกับคนที่อ่อนกว่า การฟอกเงินก็เช่นเดียวกัน เป็นการยกย้ายเงินจากบัญชีหนึ่งไปไว้ในอีกบัญชี โดยจะต้องทำให้ไม่เป็นที่จับตามาของทางการ หรือถูกธนาคารตรวจสอบ การโอนเงินจึงมักทำขึ้นทีละน้อย ๆ เพราะหากโอนทีเดียวเยอะ ๆ อาจถูกตรวจสอบได้ จึงนิยมโอนเงินน้อย ๆ ไปสู่หลาย ๆ บัญชี 

แบบใช้นกต่อ (Mule)

ภาษาไทยจะใช้คำว่านกต่อ ส่วนตะวันตกจะใช้คำว่าลา หรือ Mule ซึ่งเป็นการจ้างบุคคลเพื่อให้ขนย้ายเงินสีเทา หรือเงินผิดกฎหมาย เพื่อย้ายสถานะ ทำให้เงินดูเหมือนกับว่าจะกลายเป็นเงินจากธุรกิจทั่วไป โดยนกต่อนี้อาจมีส่วนรู้เห็นในคดี หรือเป็นเพียงผู้ถูกว่าจ้างเท่านั้น เช่นถูกจ้างงานมาด้วยเงินจำนวนที่เยอะมากผิดปกติ ซึ่งผู้ที่เป็นนกต่อก็มีหน้าที่นำเงินเข้าไปอยู่ในบัญชีภายในชื่อตนเอง ทำให้ดูเหมือนกับว่าเงินนั้นมีที่มาที่ไปที่ถูกต้องตามกฎหมาย

แบบมีฉากหน้า (Shell)

การที่ตั้งบริษัทเปล่า ๆ ขึ้นมา โดยบริษัทนั้นอาจไม่ได้มีสินค้า บริการ ทรัพย์สิน หรือพนักงานเลยก็เป็นได้ หรืออาจมีจริง แต่เป็นเพียงฉากหน้าหลอกสรรพากรต่าง ๆ แต่เบื้องหลังเงินที่เข้าบริษัทมากมายจะได้จากธุรกิจสีเทา จะเห็นได้บ่อยในรูปแบบของบริษัท Holding Company หรือบริษัท Acquisition ต่าง ๆ ที่ตัวบริษัทเองไม่ได้มีสินค้า หรือบริการที่ตายตัว ซึ่งบริษัทที่ใช้เป็นฉากหน้าจะต้องมีการปลอมแปลงบัญชี ให้ดูเหมือนการเงินที่เข้ามาในบริษัทมีที่มาที่ไป ฉะนั้นจึงมักจะต้องมีคู่ค้า หรือผู้ร่วมฟอกเงินเป็นเครือข่าย

ฟอกเงิน

ความผิดของการฟอกเงิน คืออะไร ?

ความผิดฐานฟอกเงินตาม รบ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ 2542 เป็นได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ที่โจทก์มีหน้าที่นำเรียกร้องกับศาล

  • มาตรา 6 : ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน แม้จะกระทำนอกราชอาณาจักรผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
  • มาตรา 7 : ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ถ้าได้มีการกระทำความผิด เพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันตามวรรคหนึ่ง ผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
  • มาตรา 8 :  ผู้ใดพยายามกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ
  • มาตรา 60 : ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท
  • มาตรา 61[105] : นิติบุคคลใดกระทำความผิด ฟอกเงิน สมคบ หรือพยายาม ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 200,000 – 1,000,000 ล้านบาท และต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี

ฟอกเงิน

สัญญาณเตือน บุคคล หรือนิติบุคคลที่มีการฟอกเงิน

  • ทรัพย์สินไม่สอดคล้องกับรายได้ : บุคคล หรือบริษัทนั้น ๆ อาจดูไม่ได้มีรายได้เยอะ หรือรายได้ไม่สม่ำเสมอ แต่สามารถซื้อ หรือมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ที่สมควรจะได้รับ
  • พฤติกรรมโอนเงินมีความผิดปกติ : มีการทำธุรกรรมที่เยอะ และเป็นแบบแผน ย้ายเงินไปมาจากบัญชีหนึ่งไปสู่อีกบัญชีหนึ่ง โดยที่อาจเป็นบัญชีที่ไม่ได้จับจ่ายใช้สอยเยอะ ใช้เพียงโยกย้ายเงินไปมา
  • บริษัทมีโครงสร้างที่ซับซ้อนผิดปกติ : บริษัทที่ใช้เป็นฉากหน้า อาจมีขนาดเล็ก ๆ ไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่มีชื่อผู้บริหาร หรือชื่อตัวแทนผู้บริหารเยอะเพื่อปกปิดเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อาจไม่สอดคล้องกับขนาดของบริษัท
  • รู้จักกับผู้มีอิทธิพลเยอะ ๆ : มีคอนเน็กชันกับผู้มีอิทธิพลเยอะ ๆ โดยเฉพาะผู้มีอิทธิพลในระดับท้องถิ่น หากเป็นบริษัทอาจมีรายชื่อบุคคลนั้น ๆ อยู่ในรายชื่อผู้บริหาร หรือ Board of Investment

มาตรการป้องกันการฟอกเงิน

หน่วยงานที่ป้องกันการฟอกเงินมีอยู่ในทุกประเทศ สำหรับประเทศไทยคือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ Anti-Money Laundering Office (AMLO) ซึ่งสามารถตรวจสอบปัญหาเรื่องของการ Money Laundry ติดต่อดำเนินคดี รวมไปถึงให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับโจทก์ได้อีกด้วย

โดยหน้าที่หลัก ๆ ของหน่วยงานคือป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยการเสนอแนะนโยบายและมาตรการ วิเคราะห์ ตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ทางธุรกิจ และทรัพย์สิน สืบสวนสอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ยึด อายัด และบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม

ฟอกเงิน

หวังว่าอ่านมาถึงจุดนี้นักลงทุนทั้งหน้าใหม่ และมือเก๋า จะไม่ตกหลุมพรางด้านการลงทุน และไปลงทุนกับกลุ่มคน หรือบริษัท ที่เบื้องหลังทำธุรกิจสีเทา ธุรกิจฟอกเงิน ซึ่งหากใครอยากจะเพิ่มความอุ่นใจให้มากขึ้นในทุกการลงทุน แรบบิท แคร์ อยากแนะนำ ประกันภัยไซเบอร์ หรือประกันภัยธุรกรรมออนไลน์ ใครสนใจคลิกเลย

บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ icon รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว icon รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง icon รักความหรูหรา รักความหรูหรา icon รักสุขภาพ รักสุขภาพ icon รักการกิน รักการกิน
  

 

บทความแคร์การลงทุน

Rabbit Care Blog Image 97452

แคร์การลงทุน

ดัชนี S&P500 คืออะไร? ทำไมถึงน่าสนใจสำหรับเหล่านักลงทุน

นอกเหนือจากเรื่องของหุ้นดาวโจนส์แล้ว หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า S&P500 และถือเป็นอีกหนึ่งหุ้นหลักในการลงทุนกับตลาดหลักกันมาบ้าง
คะน้าใบเขียว
19/11/2024
Rabbit Care Blog Image 97364

แคร์การลงทุน

รู้จักกับ ดัชนี Dow Jones ทำไมนักลงทุนต้องจับตามอง?

สำหรับใครที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือเริ่มมีความสนใจด้านการลงทุนเกี่ยวกับเรื่องหุ้น โดยเฉพาะการเทรดหุ้นในต่างประเทศ อาจจะเคยได้ยินมาว่า dow jones หรือ
คะน้าใบเขียว
18/11/2024
Rabbit Care Blog Image 96036

แคร์การลงทุน

รวมวิธีที่จะเพิ่มโอกาสในการหลุดพ้นจากการ ‘ติดดอย’ ได้มากยิ่งขึ้น!

‘ติดดอย’ คำที่เหล่านักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก่าต่างก็ต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครต่างก็ไม่อยากจะเผชิญ
คะน้าใบเขียว
24/09/2024