อยากมีรถยนต์นำเข้าขับสักคัน ทำไมถึงต้องเสียภาษีแพง?
ปัจจุบันแม้ว่า ภาครัฐจะเสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินให้แก่คนเมืองหลากหลายประเภท แต่อีกหลาย ๆ คนก็ยังอยากที่จะขับรถอยู่บนท้องถนน โดยเฉพาะผู้ที่พอจะมีรายได้ก็มักจะหารถยนต์นำเข้า ที่สวยหรูและมีราคาแพงมาขับกัน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งของรถยนต์นำเข้านั่นมีราคาที่แพงเป็นหลักล้านถึงสิบล้านก็เพราะว่าต้องเสียภาษีนำเข้าค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 300 นั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการคิด คำนวนอย่างไร วันนี้ Rabbit Care จะมาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยกัน
บทความนี้มีอะไรบ้าง?
- ทำไมกรมศุลกากรถึงต้องคิดภาษีรถยนต์นำเข้า?
- อยากคิดภาษีรถยนต์นำเข้าก่อนซื้อจริง คำนวนอย่างไร?
- รวมรถยนต์นำเข้าที่น่าสนใจ
กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้งบประมาณ 2562 จัดเก็บได้ 108,523 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,523 ล้านบาทจากที่ตั้งไว้ 100,000 ล้านบาทหรือ 8.5% และสูงกว่าคาดการณ์ 523 ล้านบาทจากที่ตั้งไว้ 108,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่สามารถจัดเก็บได้ 12,816 ล้านบาท โดยเฉพาะรถยนต์ยี่ห้อปอร์เช่ และเบนท์ลีย์ ที่จัดเก็บได้เพิ่มกว่าปีงบประมาณ 2561 ถึง 102.9%
โดยกรมศุลกากร หลักเกณฑ์การประเมินภาษีของรถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศตามสเปกของรถแต่ละคันไว้ชัดเจน ซึ่งมีวิธีการคำนวณอย่างละเอียด ดังนี้
การคิดภาษีรถยนต์นำเข้านั้จะคิดจากราคา CIF หรือ Cost+Insurance+Freight ซึ่งก็คือ ราคาขายของรถบวกด้วยค่าอากร+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่งจากต่างประเทศ มาถึงที่ท่าเรือที่ประเทศไทย ราคา CIF นี้จะถูกกำหนดไว้ในเอกสารการนำเข้าอย่างชัดเจน โดยภาษีที่ต้องจ่ายจะประกอบไปด้วย
- อากรขาเข้า ภาษีแรกที่ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนนำรถออกจากท่าเรือเข้ามาในประเทศ ในอัตรา 80% ของราคา CIF ซึ่งเท่ากับ 80 บาท
- ภาษีสรรพสามิต ซึ่งกรมศุลกากรจะเก็บภาษีนี้พร้อมกับอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตนี้จะถูกเก็บในอัตราต่างกันตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ที่ถูกจัดเก็บในอัตรา 30% ของราคา CIF รวมกับภาษีอากรขาเข้า โดยใช้สูตรการคำนวณการจัดเก็บ ที่เรียกว่า “ฝังใน” คือ = ((100+80)x30%) 1 – (1.1×30%)
- ภาษีมหาดไทย ชื่อภาษีมีที่มาจากภาษีที่เก็บได้นี้ถูกนำไปบริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของราคา CIF+อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถนำเข้า เช่น ถ้าราคารถยนต์นำเข้าอยู่ที่ 400,000 บาท
- ราคาที่รวม CIF = 450,000 (ราคา + ค่าประกันภัย + ค่าขนส่ง)
- ภาษีอากรขาเข้า 80% = 360,000
- ภาษีสรรพสามิต = ((450,000 + 360,000 x 50%) )/(1 – (1.1×50%) ) = 900,000
- ภาษีมหาดไทย 10% = 1,800,000 บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% =126,000 ดังนั้นราคารถ = 1,926,000 บาท
รถยนต์นำเข้าขวัญใจคนไทยที่สุดของปี 2021
-
Ferrari F430
เป็นรถยนต์ซุปเปอร์คาร์สัญชาติอิตาลีเป็นรุ่นที่ต่อยอดมาจากเฟอร์รารี่ 360 มีด้วยกันถึง 6 รุ่น ได้แก่ F430 Spider, F430 Challenge, 430 Scuderia, Scuderia Spider 16M, F430 Spider Bio Fuel และ SP1 เป็นต้น ซึ่งมาพร้อมกับเครื่องยนต์เบนซิน V8 ขนาด 4,308 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 465 นิวตัน-เมตร ที่ 8,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 47.4 กก.-ม. ที่ 5,250 รอบ/นาที หรือ 114 แรงม้า/ลิตร ผสานกับเกียร์แบบธรรมดาแบบ 6 จังหวะ ควบคุมการทำงานการเปลี่ยนเกียร์ และคลัทซ์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งให้อัตราการเร่งที่ 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงโดยใช้เวลาเพียง 4 วินาที และให้ความเร็วสูงสุดที่ 315 กิโลเมตร/ชั่วโมง สนนราคาเริ่มต้นป้ายแดงอยู่ที่ 27 ล้านบาท
-
Lamborghini Aventador
เป็นอีกหนึ่งรถยนต์นำเข้าที่เป็นที่นิยมของคนไทยไม่ใช่น้อย ซึ่งในประเทศไทยมีนำเข้ามาเพียงไม่กี่คัน รวมถึงคนทั่วโลกรู้จักกันดี ด้วยรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์แบนราบ และโฉบเฉี่ยว พร้อมโลโก้กระทิงแบบดุดัน มาพร้อมกับภายในที่ตกแต่ง หรูหราสไตล์สปอร์ต ให้อารมณ์คล้ายกับนั่งอยู่ในรถแข่ง พร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน มาพร้อมกับขุมพลังเครื่องยนต์ขนาด 6.5 ลิตร แบบ V12 ให้พละกำลังสูงสุดที่ 740 แรงม้า ทำงานร่วมกับเกียร์อัตโนมัติ ISR แบบ 7 จังหวะ สนนราคาเริ่มต้นที่ 38.7 ล้านบาท
-
BMW Z4 Roadster
รถยนต์ส่วนบุคคลระดับพรีเมียม ทั้งรูปลักษณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน ดีไซน์ภายนอกสปอร์ตหรูหรา มีให้ 2 แบบ คือ ในรุ่น Z4 sDrive30i M Sport เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ4 สูบ 2.0 ลิตร รหัส B48B20B ให้พละกำลังสูงสุด 254 แรงม้าที่ 5,000-6,500 รอบ/นาที แรงบิด 400 นิวตันเมตรที่ 1,550-4,400 รอบ/นาที เร่งความเร็วจาก 0 ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ใน 5.4 วินาที และรุ่น Z4 M40i มาพร้อมกับเครื่องยนต์เบนซิน 6 สูบ 3.0 ลิตร รหัส B58B30C ที่ส่งพลังถึง 387 แรงม้าที่ 5,000-6,500 รอบ/นาที แรงบิด 500 นิวตันเมตรที่ 1,600-4,500 รอบ/นาที ลงสู่ล้อหลัง เร่งความเร็ว 0-100 ได้ภายใน 4.5 วินาที ทั้ง 2 ขนาดจับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด Sport Steptronic สนนราคาเริ่มต้น 3,969,000 บาท
รถยนต์นำเข้าเหมาะกับประกันรถยนต์ชั้นไหนบ้าง
รถยนต์นำเข้าเป็นรถที่มีราคาสูงและมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่สูงกว่ารถยนต์ทั่วไป ดังนั้นการเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่ไม่คาดคิด ในกรณีของรถยนต์นำเข้า นี่คือประกันรถยนต์ที่เหมาะสม
1. ประกันชั้น 1 (แนะนำมากที่สุดสำหรับรถนำเข้า)
- ครอบคลุมมากที่สุด: ประกันชั้น 1 คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณเองไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ การชน สัตว์กัดแทะ อัคคีภัย การโจรกรรม หรือภัยธรรมชาติ รวมถึงการชนที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนกำแพงหรือสิ่งของอื่น ๆ
- คุ้มครองอุปกรณ์เสริมและค่าใช้จ่ายสูง: รถยนต์นำเข้ามักมีอุปกรณ์พิเศษหรือชิ้นส่วนที่มีราคาสูง ซึ่งประกันชั้น 1 สามารถครอบคลุมได้ดี เช่น การซ่อมที่ศูนย์บริการเฉพาะทางหรือการเปลี่ยนอะไหล่แท้
- คุ้มครองในกรณีที่รถถูกขโมย: รถนำเข้ามักเป็นเป้าหมายของการโจรกรรม ดังนั้น การมีประกันชั้น 1 จะช่วยให้คุณได้รับการชดเชยหากรถถูกขโมยหรือเสียหายจากการพยายามโจรกรรม
- คุ้มครองการชนกับคู่กรณี: ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก ประกันชั้น 1 จะครอบคลุมทั้งค่าซ่อมของรถคุณเองและของคู่กรณี
2. ประกันชั้น 2+
- คุ้มครองรถในกรณีโจรกรรมและอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี: ประกันชั้น 2+ ยังให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีคู่กรณี หรือกรณีที่รถถูกขโมย แต่จะไม่ครอบคลุมความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนต้นไม้หรือสิ่งกีดขวาง
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดเบี้ยประกัน: หากคุณต้องการความคุ้มครองที่ใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 แต่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันที่ถูกลง ประกันชั้น 2+ อาจเป็นตัวเลือกที่พอเหมาะ แต่ควรระวังว่าในกรณีที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี คุณจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
- คุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น: ประกันชั้น 3+ จะคุ้มครองเฉพาะกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี และจะไม่ครอบคลุมในกรณีที่รถชนเองหรือถูกขโมย
- ไม่แนะนำสำหรับรถนำเข้า: เนื่องจากความคุ้มครองที่จำกัด การเลือกประกันชั้น 3+ สำหรับรถนำเข้าอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากหากรถได้รับความเสียหายหรือถูกขโมย คุณจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเอง
รถยนต์นำเข้าควรทำประกันชั้น 2 หรือชั้น 3 หรือไม่
สำหรับรถยนต์นำเข้า การเลือกทำประกันชั้น 2 หรือประกันรถยนต์ชั้น 3 อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากรถนำเข้ามักมีมูลค่าสูง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงแพง และบางครั้งอะไหล่ก็หาได้ยาก ดังนั้นการคุ้มครองจากประกันชั้น 2 และชั้น 3 ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง? ทั้งประกันชั้น 2 และ 3 มีขอบเขตจำกัดอาจไม่ครอบคลุมความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงไม่เหมาะสมกับรถยนต์นำเข้าด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- ค่าซ่อมบำรุงและอะไหล่แพง: รถยนต์นำเข้ามีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและอะไหล่ที่สูงกว่ารถยนต์ทั่วไป การเลือกประกันที่ไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถของคุณเองจะทำให้คุณต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจำนวนมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- ความเสี่ยงสูงต่อการถูกโจรกรรม: รถยนต์นำเข้ามักเป็นเป้าหมายในการโจรกรรม การทำประกันชั้น 3 ที่ไม่คุ้มครองกรณีโจรกรรม หรือประกันชั้น 2 ที่มีการคุ้มครองเฉพาะการโจรกรรมแต่ไม่ครอบคลุมความเสียหายจากอุบัติเหตุ จะไม่เพียงพอในการลดความเสี่ยง
- ไม่ครอบคลุมภัยธรรมชาติหรือความเสียหายจากสัตว์: ประกันชั้น 2 และ 3 ไม่ครอบคลุมความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม หรือลมพายุ หรือแม้แต่การถูกสัตว์กัดแทะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับรถนำเข้า
อย่างไรก็ตาม การขับรถหรู รถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วเครื่องยนต์มักจะแรง ทำให้บางครั้งไม่เหมาะสมที่จะขับขี่ในเมืองหลวงที่มีการสัญจรรถยนต์ที่แออัด ทำให้หลายครั้งเรามักจะเห็นข่าวอุบัติเหตุกันอยู่เป็นประจำ ฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน การทำประกันรถยนต์ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากที่คนรักรถไม่ควรมองข้าม สนใจทำประกันรถยนต์ได้ที่ Rabbit Care
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี