วิเคราะห์ประกันรถยนต์ : ทำไมสิ้นปี 64 คือ โอกาสดีที่สุดในการซื้อประกันรถยนต์
ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาจากผลต่อเนื่องของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีมาอย่างยาวนาน มาตรการความช่วยเหลือคนทำประกันรถจากหน่วยงานที่กำกับดูแล สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจประกันในช่วงท้ายปี หรือพฤติกรรมการใช้งานรถที่เปลี่ยนไป ล้วนเป็นโอกาสที่ต้องจับตามองสำหรับคนที่กำลังลังเล กำลังเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ หรือคิดจะซื้อประกันรถยนต์ในช่วงสิ้นปีนี้
แรบบิท แคร์ รวบรวมทุกเหตุผลที่ทำให้ปลายปี 64 เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเปรียบเทียบประกันรถยนต์และช่วยตัดสินใจว่าจะซื้อประกันรถที่ไหนดีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
1. แบบประกันรถยนต์มีให้เลือกมากขึ้น
ยุค New Normal ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยน ใช้รถน้อยลง ต้องการจ่ายเบี้ยตามการใช้งานจริง รวมถึงสำนักงาน คปภ. เอื้อให้ทำประกันรถระยะสั้นได้ ทั้งแบบรายวัน รายเดือน หรือรายไตรมาส จึงเกิดเป็นรูปแบบประกันที่มีความยืดหยุ่นต่อความต้องการใช้งานมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “ประกันรถยนต์คุ้มครองระยะสั้น”
1.1 พฤติกรรมการใช้งานรถยนต์เปลี่ยนไป
แม้ว่ายุค New Normal จะทำให้การใช้รถยนต์น้อยลง ส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุประเภท ‘รถชนรถ’ ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่ความเสี่ยงดังกล่าวอาจถูกแทนที่ด้วยอุบัติเหตุการเฉี่ยวชนเล็กน้อยแบบไม่มีคู่กรณี เช่น การเฉี่ยวชนเสาหรือประตูบ้าน ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นใช้งานรถยนต์ระยะสั้นในระหว่างทำงานอยู่ที่บ้าน (WFH)
ทั้งนี้ สัดส่วนการแจ้งเคลมที่ไม่มีคู่กรณี มีปริมาณมากถึง 2 ใน 3 ของการแจ้งเคลมทั้งหมดในระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 63 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่บังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิวและนโยบาย WFH อย่างเข้มข้น ทำให้ประกันรถยต์ที่มีวงเงินทุนเอาประกันน้อยลง แต่ยังคงมีความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถ และบุคคลภายนอก สามารถเลือกจ่ายได้ตามการใช้งานจริง และมีเบี้ยประกันที่ถูกลง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้
1.2 ประกันรถยนต์ระยะสั้นเพิ่มมากขึ้น
สำนักงาน คปภ. ได้อนุญาตให้บริษัทประกันภัยคิดอัตราเบี้ยประกันภัยเป็นแบบรายวัน รายเดือน หรือรายไตรมาส ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ทำประกันตกลงกับบริษัทประกันภัยในการปรับเปลี่ยนกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป เลือกความคุ้มครองตามระยะเวลาที่ต้องการ และเลือกชำระเบี้ยประกันตามความสามารถ ซึ่งหลายบริษัทประกันภัยได้มีการขายประกันรถระยะสั้นมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยใช้ชื่อแบบประกัน เช่น ประกันตามไมล์ ประกันเปิดปิด ฯลฯ
ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ก่อนสิ้นปี 64 นี้ จะไม่พลาดโอกาสในการเลือกแบบประกันรถเบี้ยถูก ความคุ้มครองตรงตามต้องการใช้งานที่อาจเปิดขายถึงแค่สิ้นปีนี้เท่านั้น ซึ่งหากยังรอตัดสินใจต่อไป สถานการณ์ต่างๆ อาจดีขึ้น และอาจพลาดโอกาสที่ดีที่สุดในการซื้อประกันภัยรถยนต์ก็เป็นได้
แบบประกันรถยนต์ที่น่าสนใจในช่วงโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง?
- ประกันรถยนต์คุ้มครองระยะสั้น คิดเบี้ยตามเวลาและระยะการใช้งานจริง หรือเลือกความคุ้มครองได้ตั้งเเต่ 3, 6, 9 เดือน
- ประกันรถ ชั้น 1 ความคุ้มครองชดใช้ค่าสินไหมกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อย 500,000 – 2,000,000 บาท ต่อคน ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- ประกันรถ ชั้น 3, 4 และ 5 ทุนเอาประกันลดลงตามค่าเสื่อมรถ แต่ยังมีความคุ้มครองที่ต้องการ เช่น ความคุ้มครองบุคคลภายนอก
- ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ค่าชดเชยผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเป็น 500,000 บาท โดยไม่ปรับเบี้ยประกันเพิ่มแต่อย่างใด
2. ความคุ้มครอง พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์เพิ่มมากขึ้น
หน่วยงานกำกับดูแลปรับเพิ่มความคุ้มครองทั้งในส่วนของประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจให้มีความคุ้มครองเพิ่มมากขึ้น สามารถชดเชยแก่ผู้ประสบภัย หรือครอบครัวได้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุด ลดการฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายที่ยืดเยื้อ
จากกรณีบรรทัดฐานคำตัดสินของศาลในการสั่งชดใช้ค่าสินไหมแก่ผู้ประสบภัยทางถนนที่เพิ่มสูงมากขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาความสูญเสียแก่ผู้ประภัยและครอบครัวได้ครอบคลุมยิ่งขึ้นเช่น กรณีคดี ‘นักศึกษาสาว’ ขับรถยนต์โดยประมาทชนกับ ‘รถตู้สาธารณะ’ (ค่าเสียหายรวมกว่า 25 ล้านบาท) หรือกรณีคดี ‘เสี่ยรถเบนซ์’ (ค่าเสียหายรวมกว่า 45 ล้านบาท)
รวมไปถึงปัญหาการพิจารณาจ่ายสินไหมชดใช้ตามความเสียหายจริง หรือตาม ‘ฐานานุรูป’ (ความเป็นอยู่ ฐานะและอาชีพของผู้ประสบภัย) ที่อาจใช้เวลายาวนานในการรวบรวมหลักฐาน จนคล้ายกับการประวิงเวลาจ่ายชดเชยล่าช้า และอาจไม่จ่ายความคุ้มครองเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ จึงทำให้มักเกิดเป็นข้อพิพาทระหว่างบริษัทประกันภัยและครอบครัวของผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
สำนักงาน คปภ. และสมาคมประกันวินาศภัยไทย จึงได้ร่วมกันปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ทำให้ผู้ที่ซื้อประกันรถยนต์ก่อนหมดปี 64 ได้รับความความคุ้มครองและผลประโยชน์สินไหมทดแทนที่รวดเร็วและเป็นธรรมมากขึ้นจากทั้งสองกรมธรรม์ ในกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รวมไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาทต่อราย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 63 ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญของการเพิ่มความคุ้มครองดังนี้
2.1 ความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. ที่เพิ่มขึ้น
- ปรับเพิ่มความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำ หรืออาชีพอื่นใดได้ตลอดไป) จากเดิม 300,000 บาท เป็น 500,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- เพิ่มความคุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะอื่นใด ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เช่น การสูญเสียม้าม ปอด ตับไต ฟันแท้ทั้งซี่ ตั้งแต่ 5 ซี่ขึ้นไป หรือกะโหลกศีรษะเสียหายเป็นเหตุให้ต้องใช้กระโหลกเทียม 250,000 บาท ต่อหนึ่งคน
- ปรับเพิ่มความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต จากเดิม 300,000 บาท เป็น 500,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2.2 ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เพิ่มขึ้น
- ปรับเพิ่มความคุ้มครองกรณีบุคคลภายนอกเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากเดิม ขั้นต่ำ 100,000 บาท หรืออย่างน้อยไม่เกิน 300,000 บาท เป็น อย่างน้อย 500,000 – 2,000,000 บาท ต่อคน ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- เปลี่ยนวิธีการพิจารณาจ่ายสินไหมทดแทน จากจ่ายตามความเสียหายจริง หรือตามฐานานุรูป (สภาพฐานะความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย) เป็น จ่ายเต็มตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ทันที โดยไม่ต้องรอพอสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
3. เบี้ยประกันรถยนต์ถูกลง
บริษัทประกันภัยสามารถลดเบี้ยประกันรถในปี 64 ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 10% – 30% จากยอดเคลมที่ลดลง และจากการที่สำนักงาน คปภ. ให้ลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดสูงสุด 30% ตามความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป
3.1 อัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ที่ลดลง
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนออกมาตรการและนโยบายลดการเดินทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเคอร์ฟิว หรือการทำงานที่บ้าน (WFH) ส่งผลให้ราคาเบี้ยประกันรถยนต์มีแนวโน้มถูกลง 10% จากอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ของประกันรถที่ลดลงจากการแจ้งเคลมที่น้อยลง สะท้อนมาจากความเสี่ยงในการขับขี่และการเกิดอุบัติเหตุที่บางตาลงอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ จากสถิติอัตราส่วนค่าสินไหมทดแทนย้อนหลังตั้งแต่ปี 61 – 63 จะอยู่ที่ 65.3%, 66.1%, และ 63.2% ตามลำดับ ในขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ของปี 64 จะอยู่ที่ไม่เกิน 62%
3.2 ส่วนลดประกันรถยนต์ที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด
สำนักงาน คปภ. ยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยออกคำสั่งให้สามารถลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ สูงสุดมากถึง 30% ตามความเสี่ยงภัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์การใช้รถยนต์ของผู้เอาประกันภัยแต่ละราย ซึ่งโดยปกติแล้ว บริษัทประกันภัยจะไม่สามารถคำนวณหรือให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ต่างจากที่หน่วยงานกำหนดไว้ได้
ทำให้ผู้ที่กำลังจะซื้อประกันรถยนต์ในช่วงปลายปี 64 นี้ จะยังได้รับอานิสงส์ค่าเบี้ยประกันที่ลดลงเพิ่มอีกอย่างน้อย 10% – 30% ทันที จากทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ยอดเคลม (เรียกร้องสินไหม) ยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก ตลอดจนมาตรการความช่วยเหลือของหน่วยงานที่กำกับดูแลที่จะช่วยเอื้อให้บริษัทประกันภัยต่างๆ สามารถลดเบี้ยประกันได้เพิ่มมากขึ้น
4. ส่วนลดและโปรโมชั่นเพิ่มมากขึ้น
บ. บัตรเครดิตชั้นนำจัดโปรโมชั่นผ่อนประกันรถยนต์ 0% นานสูงสุด 10 เดือน พร้อมคะแนนสะสมพิเศษอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ‘ประกันภัย’ คือ หมวดที่มียอดใช้จ่ายมากที่สุด และเพิ่มขึ้น 20% ในปี 64 รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ใช้รถน้อย เกิดอุบัติเหตุต่ำ ทำให้มีโอกาสได้รับส่วนลดประวัติดี 20% – 50% ในปีต่อไปง่ายยิ่งขึ้น
4.1 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่สูงขึ้น
“ประกันรถยนต์ผ่อนได้” เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการชำระเบี้ยประกันที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเลือกผ่อนชำระประกันด้วยดอกเบี้ยเพียง 0% นานสูงสุด 3 – 10 เดือน ผ่านบัตรเครดิต หรือผ่อนเงินสด สอดคล้องกับโปรโมชั่นผ่อนประกันรถยนต์ส่งท้ายปี ที่สะท้อนจากตัวเลขการใช้จ่ายสินค้าผ่านบัตรเครดิตของบริษัทชั้นนำ (KTC, KBANK และกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 64 ที่ต่างมียอดใช้จ่ายใน “หมวดประกันภัย” สูงที่สุดเป็นอันดับแรก และมียอดเติบโตเพิ่มขึ้น 20%
4.2 ส่วนลดประวัติดีที่ได้รับง่ายขึ้น
มาตรการเคอร์ฟิวและนโยบายทำงานที่บ้าน (WFH) ส่งผลให้ใช้งานรถยนต์ในการเดินทางน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง และโอกาสแจ้งเคลมน้อยลงตามลำดับ ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ที่ขับขี่ระมัดระวัง มั่นใจในทักษะการขับขี่ของตนเองอยู่แล้ว และไม่มีการแจ้งเคลมตลอดระหว่างสิ้นปี 64 นี้ ถึงปี 65 จะช่วยเพิ่มโอกาสได้รับส่วนลดประวัติดี เริ่มต้นทันที 20% ได้ง่ายยิ่งขึ้นสำหรับการต่อประกันรถในปีต่อไป
ทำให้ผู้ที่ซื้อประกันรถยนต์ก่อนสิ้นปี 64 นี้ จะได้รับสิทธิพิเศษผ่อนชำระเบี้ยประกันรถ 0% นานสูงสุดถึง 10 เดือน พร้อมคะแนนสะสมพิเศษจากโปรโมชั่นของบัตรเครดิตหรือผ่อนเงินสดกับโบรคเกอร์ที่ร่วมรายการ และเพิ่มโอกาสได้รับส่วนลดประวัติดี 20% – 50% ได้ง่ายขึ้น สำหรับต่อประกันรถในปีถัดไป
บทสรุปส่งท้าย
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา จะทำให้การใช้งานยนต์น้อยลงจนทำให้ใครหลายๆ คน ลังเลที่จะซื้อหรือต่อประกันรถยนต์ เเต่ด้วยความคุ้มค่าในด้านความคุ้มครองต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น หรือความคุ้มค่าจากแบบประกันที่หลากหลายมากขึ้น และเบี้ยประกันที่ลดลงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ปลายปี 64 นี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะซื้อประกันรถยนต์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
เปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ได้ก่อนตั้งแต่วันนี้! มีประกันรถให้เลือกตามความต้องการ เช็คราคาประกันภัยรถยนต์ได้รวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับโปรโมชั่นส่วนลดและสิทธิพิเศษผ่อน 0% นานสูงสุด 3 -10 เดือนทันที เฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อประกันรถกับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเท่านั้น
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต