ซื้อรถเงินสด คือ อะไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง ต้องจ่ายเงินอย่างไร
เคยได้ยินคำว่าซื้อรถเงินสดกันบ้างไหม? ถ้าในความเข้าใจแรกทุกคนคงคิดว่าเป็นการจ่ายเงินสดเพียงอย่างเดียว ส่วนอีกคำที่ได้ยินบ่อยกับการซื้อรถเงินผ่อน ก็เป็นการใช้บริการไฟแนนซ์สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ แล้วเราทำการผ่อนกับไฟแนนซืตามเงื่อนไขอีกที ทำให้มีรูปแบบการชำระเงินที่ต่างไปจากการซื้อรถเงินสด ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดที่คุณควรรู้ก่อนจ่ายเงินซื้อรถเงินสด ไม่ว่าจะเป็นซื้อรถเงินสด จ่ายยังไง ซื้อรถเงินสด ใช้เอกสารอะไรบ้าง ซื้อรถเงินสด กี่วันได้เล่ม ต่างกับการซื้อผ่อนยังไง แล้วเหมาะสมกับใคร พร้อมสรุปขั้นตอนการซื้อรถด้วยเงินสดแบบภาพรวมทั้งหมด เชื่อเลยว่าใครที่กำลังวางแผนการออกรถยนต์ด้วยการชำระวิธีนี้ จะได้ประโยชน์และข้อมูลความรู้แบบครบถ้วนกันเช่นเคย
ซื้อรถเงินสดคืออะไร
ซื้อรถเงินสด คือ การนำเงินก้อนเท่ากับราคารถไปจ่ายค่ารถแบบพอดีด้วยเงินสด ทำให้เราไม่ต้องเจอกำแพงดอกเบี้ยมหาศาลเหมือนกับการซื้อรถแบบดาวน์ 0% หรือการซื้อแบบผ่อนนั่นเอง เช่น ค่ารถที่เราต้องการราคา 700,000 บาท หากเราตัดสินใจซื้อรถเงินสด เราก็จะจ่ายค่ารถไปแค่นั้น เว้นแต่ว่าจะมีค่าบริการด้านอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากราคาค่ารถ
ซื้อรถเงินสดจ่ายยังไง
ซื้อรถเงินสด จ่ายยังไง วิธีการซื้อรถเงินสดสามารถชำระได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยธนบัตรตามจำนวนค่ารถ, การโอนเงินผ่านธนาคารไม่ว่าจะด้วยโอนที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือแอปพลิเคชัน Mobile Banking บนมือถือ และแคชเชียร์เช็คที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถเงินสด เนื่องจากตัวแคชเชียร์เช็ค จะเป็นการหักเงินหรือจ่ายเงินสำหรับเช็คไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ทางศูนย์บริการสามารถนำเช็คไปขึ้นเงินได้ 100% แบบไร้ปัญหา รวมถึงยังสะดวกสบายต่อผู้ซื้อที่ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก ไม่ต้องเสียเวลานับ และไม่ต้องเจอข้อจำกัดการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ ที่อาจมีการจำกัดการโอนต่อครั้งอีกด้วย
ซื้อรถเงินสดใช้เอกสารอะไรบ้าง
ซื้อรถเงินสด ใช้เอกสารอะไรบ้าง โดยปกติแล้วจะมีเอกสารสำคัญเพียงแค่ 2 รายการเท่านั้น คือ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ (ตัวจริง) และเล่มทะเบียนบ้าน (ตัวจริง) พร้อมกับเงินสดที่ใช้ในการซื้อรถเงินสด ไม่ว่าจะเป็นธนบัตรหรือการโอนเงิน แต่หากใครใช้แคชเชียร์เช็คตามที่เรานำเสนอไปในด้านบน ก็จะถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องมีเพิ่มไปอีก 1 รายการ เพียงเท่านี้ก็เตรียมเอกสารครบถ้วนพร้อมกับการซื้อรถเงินสดเรียบร้อยแล้ว
ซื้อรถเงินสด กี่วันได้เล่ม
ซื้อรถเงินสด กี่วันได้เล่ม หากมีเอกสารที่ครบถ้วนพร้อมดำเนินการ สามารถรับเล่มทะเบียนได้เลยภายใน 1 วันทำการ ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ, หนังสือแจ้งจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต, หลักฐานการได้มาของรถ (สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ ใบเสร็จ หรือใบกำกับภาษี), หลักฐานการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และคำขอจดทะเบียนรถ หรือหนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง) พอเรายื่นขอจดทะเบียนด้วยเอกสารที่ครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถเงินสด หรือซื้อผ่อน ก็สามารถรับทะเบียนได้อย่างรวดเร็วในเวลา 1 วันเช่นเดียวกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม: หลังจากที่เราทำการซื้อรถเงินสด พร้อมยื่นขอเล่มทะเบียนจนได้รับเรียบร้อยแล้ว รถยนต์ของเราจะสามารถใช้งานป้ายแดงที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก เพียงแค่ 30 วันเท่านั้น เนื่องจากตามระยะเวลาดำเนินการแล้ว คุณจะได้รับป้ายขาวภายใน 15-30 วัน ดังนั้นเมื่อได้ป้ายขาวมาแล้วควรเปลี่ยนใช้งานทันที พร้อมกับส่งป้ายแดงคืนให้ทางศูนย์บริการ ซึ่งบางศูนย์อาจมีการเก็บมัดจำป้ายแดงเอาไว้ อย่าลืมติดต่อขอรับมัดจำคืนให้เรียบร้อยกันด้วย
ซื้อรถเงินสด กับ ผ่อน ต่างกันอย่างไร
ซื้อรถเงินสด กับ ซื้อผ่อน ต่างกันอย่างไร ในเมื่อเป้าหมายเราได้รถยนต์มาใช้งานเหมือนกัน แม้สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนจะเป็นในเรื่องของดอกเบี้ย แต่ในความเป็นจริงแล้วการซื้อรถเงินสดกับผ่อน ยังมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปค่อนข้างมาก เพื่อให้คนที่กำลังวางแผนซื้อรถ สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าเลือกวิธีไหนจะเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดด้วยนั้น ลองดูเนื้อหาเพิ่มเติมจากหัวข้อย่อยด้านล่างนี้ได้เลย
ข้อดี ข้อเสีย ซื้อรถเงินสด vs ผ่อน
ข้อดี ข้อเสีย ซื้อรถเงินสด
ข้อดี
- สามารถซื้อรถช่วงไหนก็ได้ เพราะการซื้อรถเงินสด จ่ายแค่ค่ารถอยู่แล้ว ไม่ต้องรอโปรโมชันดอกเบี้ย
- ชำระเพียงแค่ค่ารถเท่านั้น ไม่ต้องคำนวณหรือกังวลเรื่องดอกเบี้ย
- ได้รถราคาที่ถูกกว่าคนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม
- ไม่มีภาระหนี้สินในระยะยาว
- ขั้นตอนการซื้อที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเตรียมเอกสารให้วุ่นวาย เพียงเข้าไปที่โชว์รูม แนบหลักฐานเป็นบัตรประชาชน กับทะเบียน และชำระเงิน เป็นอันเสร็จสิ้น
- บางศูนย์บริการยิ่งเราจ่ายเต็มมากเท่าไหร่ มีโอกาสได้รับส่วดลดหรือของแถม ไม่น้อยไปกว่าแบบผ่อนเลย
ข้อเสีย
- ไม่มีสิทธิพิเศษจากธนาคารหรือไฟแนนซ์
- ต้องอาศัยเวลาในการเก็บเงินก้อนมาซื้อรถเงินสด
- ไม่มีการบันทึกข้อมูลเครดิตบูโร หากอนาคตมีความจำเป็นต้องกู้เงิน เราต้องยื่นเอกสารยืนยันสถานะทางการเงินเพื่อขอพิจารณาสินเชื่อใหม่หมด
ข้อดีข้อเสีย ซื้อรถผ่อน
ข้อดี
- ต่อให้ไม่มีเงินก้อนก็สามารถออกรถได้ เพราะบางครั้งจะมีโปรโมชันออกรถดาวน์ 0 บาท
- บางช่วงเวลาจะมีโปรโมชันดอกเบี้ย 0% ให้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
- มีโอกาสได้รับสิทธิพิเศษจากธนาคารหรือสินเชื่อเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้รถ
- สามารถเลือกแบ่งจ่ายได้หลายงวด ลดภาระการใช้เงินก้อน
- ถ้ามีเครดิตดีจากการผ่อนรถ อนาคตมีโอกาสกู้เงิน หรือขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้นด้วย
ข้อเสีย
- ต้องเริ่มบริหารเงินแต่ละเดือนให้ดี เพื่อที่จะสามารถชำระค่างวดได้ตรงเวลา
- หากเงินดาวน์ไม่ถึงขั้นต่ำตามโปรโมชันดอกเบี้ย 0% อาจต้องเจอดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง
- ขั้นตอนการดำเนินการซื้อรถแบบผ่อนค่อนข้างยุ่งยาก เอกสารเยอะ
- กรณีที่ผิดนัดชำระอาจมีค่าปรับเพิ่มเติม และทำให้เสียเครดิต
- มีฐานะเพียงผู้เช่าซื้อ ยังไม่ใช่เจ้าของรถตัวจริงจนกว่าจะผ่อนครบทุกงวด
- หากไม่มีส่วนลดหรือโปรโมชัน อาจเป็นการซื้อรถที่ยังไม่ค่อยคุ้มค่ามากเท่าไหร่นัก
ซื้อรถเงินสดเหมาะกับใคร
ซื้อรถเงินสดเหมาะกับคนที่มีเงินก้อนจำนวนหนึ่งที่พอดีกับค่ารถที่ต้องจ่าย โดยเงินก้อนนั้นต้องไม่เป็นเงินร้อน ไม่เป็นเงินหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน ไม่เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นเงินเย็นที่เก็บเอาไว้ไม่ได้ใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับคนที่ไม่อยากเจอปัญหาเรื่องเอกสารที่ค่อนข้างยุ่งยาก จะเหมาะกับการซื้อรถเงินสดมากเป็นพิเศษ
ซื้อรถเงินผ่อนเหมาะกับใคร
ซื้อรถเงินผ่อนเหมาะกับที่มีเงินก้อนไม่มากเท่าไหร่นัก แต่สามารถบริหารเงินในแต่ละเดือนได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการคำนวณหาค่าดอกเบี้ยที่คุ้มค่า หรือช่วงเวลาที่มีโปรโมชันเหมาะสมกับการซื้อรถเงินผ่อน ใครที่ไม่อยากเก็บเงินก้อนเพื่อรอซื้อรถเงินสด วิธีนี้จะค่อนข้างเหมาะสมกว่ามาก
ภาพรวมของขั้นตอนการซื้อรถเงินสด
สรุปภาพรวมขั้นตอนการซื้อรถเงินสดนั้นง่ายมาก ขอแค่เราเตรียมเอกสารให้พร้อม ทั้งบัตรประชาชนตัวจริงกับทะเบียนบ้าน พร้อมวิธีการจ่ายเงินสดที่เราสะดวกมากที่สุด เดินทางเข้าไปยังศูนย์บริการหรือโชว์รูมรถยนต์ เลือกรถที่เราต้องการพร้อมตกลงว่าจะใช้วิธีซื้อรถเงินสด เซ็นสัญญาซื้อขาย รับใบเสร็จ เพียงเท่านี้ก็เป็นเสร็จสิ้นการซื้อรถเงินสดแล้ว ถือว่าไม่ยุ่งยาก และรวดเร็วมากที่สุดนั่นเอง
ซื้อรถเงินสด คันใหม่ ควรเลือกประกันรถยนต์ชั้นไหน
การเลือกประกันรถยนต์สำหรับรถใหม่มีความสำคัญ เนื่องจากรถใหม่มีมูลค่าสูง และหากเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายใด ๆ การซ่อมแซมจะมีค่าใช้จ่ายสูง การเลือกประกันจึงควรคำนึงถึงการคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุด ต่อไปนี้คือคำแนะนำในการเลือกประกันรถยนต์สำหรับรถใหม่:
1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 (แนะนำมากที่สุด)
- คุ้มครองครอบคลุมที่สุด: ประกันชั้น 1 ให้การคุ้มครองครบทุกด้าน ทั้งรถของคุณและรถของคู่กรณี ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก รวมถึงคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี (เช่น รถชนต้นไม้ รถพลิกคว่ำ) นอกจากนี้ยังคุ้มครองกรณีรถสูญหาย ถูกโจรกรรม หรือเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม หรือไฟไหม้
- ความเสี่ยงต่ำสำหรับผู้ขับขี่: หากคุณเป็นมือใหม่หรือขับรถในเมืองที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ประกันชั้น 1 จะช่วยลดความกังวล เนื่องจากคุ้มครองทั้งตัวรถและค่ารักษาพยาบาลของทุกฝ่าย
- ซ่อมศูนย์บริการ: สำหรับรถใหม่ การซ่อมแซมในศูนย์บริการที่เป็นมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญ ประกันชั้น 1 มักจะครอบคลุมการซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิตหรืออู่ในเครือที่มีคุณภาพสูง
2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ (ทางเลือกที่รองลงมา)
- คุ้มครองดี แต่ราคาถูกกว่า: ประกันชั้น 2+ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถของคุณเองหากชนกับยานพาหนะทางบก (มีคู่กรณี) รวมถึงคุ้มครองกรณีรถสูญหาย ถูกโจรกรรม หรือเสียหายจากไฟไหม้ อย่างไรก็ตาม ประกันชั้น 2+ ไม่คุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนกำแพงเองหรือรถพลิกคว่ำ
- เหมาะสำหรับผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์: หากคุณมีประสบการณ์ขับรถและมีความมั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี ประกันชั้น 2+ อาจเป็นทางเลือกที่ดี เพราะมีค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่าชั้น 1 แต่ยังคุ้มครองในกรณีที่สำคัญ เช่น การชนกับรถอื่นหรือโจรกรรม
3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ (ทางเลือกที่ประหยัดที่สุด)
- คุ้มครองเฉพาะเมื่อมีคู่กรณี: ประกันภัยชั้น 3 ถูกที่สุดในบรรดาตัวเลือกที่เหมาะสม และจะคุ้มครองค่าซ่อมรถของคุณเองเฉพาะในกรณีที่เกิดการชนกับยานพาหนะทางบกที่มีคู่กรณี แต่ไม่คุ้มครองในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนเสาไฟหรือรถพลิกคว่ำเอง นอกจากนี้ยังไม่คุ้มครองกรณีรถสูญหายหรือถูกโจรกรรม
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด: หากคุณมั่นใจว่าคุณขับรถด้วยความระมัดระวังและมีงบประมาณจำกัด ประกันชั้น 3+ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
4. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 3
- ไม่แนะนำสำหรับรถใหม่: เนื่องจากประกันรถยนต์ชั้น 2 และประกันรถยนต์ชั้น 3 ไม่คุ้มครองรถยนต์ของคุณเองหากเกิดอุบัติเหตุ ประกันประเภทนี้จึงไม่เหมาะสำหรับรถใหม่ที่มีมูลค่าสูง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายต่อตัวรถเอง
ทีนี้ทุกคนคงตัดสินใจได้แล้วว่าการซื้อรถเงินสด หรือซื้อรถเงินผ่อน แบบไหนเหมาะสมกับตัวเองมากกว่ากัน ที่สำคัญขาดไม่ได้เลยหลังจากซื้อรถยนต์คันใหม่ป้ายแดงมาแล้ว การพิจารณาเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง เพื่อเป็นการดูแลคุ้มครองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเคลมซ่อมแซมรถยนต์หลังเกิดอุบัติเหตุ, การดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ไปจนถึงการคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก
สงสัยข้อมูลเกี่ยวกับประกันรถยนต์ สามารถติดต่อหา แรบบิท แคร์ เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม และรับส่วนลดพิเศษได้สูงสุดถึง 70% ที่เบอร์ 1438 (โทรได้ 24 ชั่วโมง)
สรุป
ซื้อรถเงินสด คือ การนำเงินก้อนเท่ากับราคารถไปจ่ายค่ารถแบบพอดีด้วยเงินสด ทำให้เราไม่ต้องเจอกำแพงดอกเบี้ยมหาศาลเหมือนกับการซื้อรถแบบดาวน์ 0% หรือการซื้อแบบผ่อน โดยวิธีการซื้อรถเงินสดสามารถชำระได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยธนบัตรตามจำนวนค่ารถ, การโอนเงินผ่านธนาคารไม่ว่าจะด้วยโอนที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือแอปพลิเคชัน Mobile Banking บนมือถือ และแคชเชียร์เช็ค นอกจากนี้ยังใช้เอกสารสำคัญเพียงแค่ 2 รายการเท่านั้น คือ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ (ตัวจริง) และเล่มทะเบียนบ้าน (ตัวจริง) พร้อมกับเงินสดที่ใช้ในการซื้อรถเงินสดเท่านั้น เมื่อมีเอกสารที่ครบถ้วนพร้อมดำเนินการ สามารถรับเล่มทะเบียนได้เลยภายใน 1 วันทำการ
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology