Leverage คืออะไร? ทำไมถึงเป็นดาบสองคมในโลกการลงทุน

คะน้าใบเขียว
ผู้เขียน: คะน้าใบเขียว Published: March 27, 2025
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
คะน้าใบเขียว
ตรวจทาน: คะน้าใบเขียว Last edited: March 26, 2025
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
leverage แปลว่า

ในโลกของการเงินและการลงทุน คำว่า Leverage เป็นหนึ่งในแนวคิดการลงทุนที่น่าสนใจ แบบนี้เราลองมาทำความเข้าใจกับแนวคิดนี้กันเสียหน่อยดีกว่าว่าเลเวอเรจ คืออะไร? Leverage บอกอะไรเราได้บ้าง? ทำไมถึงเป็นเครื่องมือที่สามารถขยายทั้งผลกำไรและผลขาดทุนได้มหาศาล ที่หลายคนต่างให้ความเห็นว่าเปรียบเสมือนดาบสองคมที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังกัน? ไปลองหาคำตอบพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า

Leverage คืออะไร? 

สำหรับบริบทในด้านการเงิน Leverage แปลว่า การใช้เงินทุนที่กู้ยืมมาเพื่อเพิ่มขนาดของการลงทุนให้มากกว่าเงินทุนที่เรามีอยู่จริง โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายผลตอบแทนจากการลงทุน 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การใช้เงินกู้ซื้อบ้าน, การซื้อขายหุ้นด้วยบัญชีมาร์จิ้น หรือการใช้ตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการลงทุนในหุ้นนที่มีมูลค่าสูงกว่าเงินทุนที่ตนเองมี, การซื้อขาย Forex เพื่อเปิดสถานะที่มีขนาดใหญ่กว่าเงินทุนจริง

โดยพื้นฐานแล้ว Leverage จะบอกถึงระดับของการใช้หนี้สินเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงานหรือการลงทุน ยิ่งอัตราส่วน Leverage สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงว่ามีการพึ่งพาเงินทุนจากภายนอก (หนี้สิน) มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการสร้างผลตอบแทน และในขณะเดียวกันก็เพิ่มระดับความเสี่ยงทางการเงินด้วย จะเห็นได้ว่า หลัก ๆ การทำงานของ Leverage คือการที่นักลงทุนจะใช้เงินกู้จากโบรกเกอร์หรือแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขนาดของเงินลงทุนนั่นเอง

Leverage Ratio คืออะไรกันนะ?

Leverage Ratio หรือ อัตราส่วน Leverage คือ ตัวชี้วัดทางการเงินที่ใช้ประเมินว่าบริษัทหรือนักลงทุนมีการพึ่งพาหนี้สินมากน้อยเพียงใดในการดำเนินธุรกิจหรือการลงทุน อัตราส่วนนี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทได้อีกด้วย

ซึ่งการทำความเข้าใจ Leverage Ratio และความหมายของอัตราส่วน Leverage ต่าง ๆ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงและตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการลงทุนให้มากขึ้นด้วย

รู้จักกับ สูตรคำนวณ Leverage Ratio Formula

มีหลายวิธีในการคำนวณ Leverage Ratio ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ต้องการประเมิน แต่สูตรที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

Debt-to-Equity Ratio (อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น) โดยอัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการใช้หนี้สินกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น หากค่าสูงแสดงว่าบริษัทมีภาระหนี้สูงเมื่อเทียบกับเงินทุนของเจ้าของ

Debt-to-Asset Ratio (อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์) สำหรับอัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทได้รับเงินทุนมาจากหนี้สินกี่เปอร์เซ็นต์ ค่าที่สูงแสดงถึงการพึ่งพาหนี้สินในการจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์

Financial Leverage Ratio (อัตราส่วนการใช้ประโยชน์ทางการเงิน) อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นกี่เท่า หากค่าสูงแสดงว่าบริษัทมีแนวโน้มที่จะใช้หนี้สินเพื่อจัดหาสินทรัพย์มากขึ้น

ตัวอย่างการคำนวณ Leverage Ratio แบบง่าย ๆ สมมติบริษัท A มีหนี้สินรวม 500 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 250 ล้านบาท ดังนั้นจะสามารถคำนวนได้เป็น

Debt-to-Equity Ratio = 500 / 250 = 2 เท่า (หมายความว่าบริษัทมีหนี้สิน 2 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น)

Leverage 1:100 คืออะไร?

Leverage 1:100 มักจะพบในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินบางประเภท เช่น Forex หรือ CFD ซึ่งหมายความว่า คุณสามารถควบคุมมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ได้ถึง 100 เท่าของเงินที่คุณมีจริง นอกจากนี้การเลือก Leverage ที่เหมาะสม สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ การเลือก Leverage ในระดับที่ต่ำ เช่น 1:10 หรือ 1:20 เป็นการเริ่มต้นที่ดี

ตัวอย่าง หากคุณมีเงินในบัญชีเทรด 1,000 ดอลลาร์ และใช้ Leverage 1:100 คุณจะสามารถเปิดสถานะการซื้อขายที่มีมูลค่าสูงถึง $1,000 x 100 = $100,000 ได้ นั่นหมายความว่าเงิน 1,000 ดอลลาร์ของคุณทำหน้าที่เป็น เงินหลักประกัน สำหรับการซื้อขายมูลค่า 100,000 ดอลลาร์

คำนวณ Leverage ยังไง?

การคำนวณ Leverage ในบริบทของการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน (เช่น Forex) มักจะอยู่ในรูปแบบของอัตราส่วน (Ratio) ซึ่งโบรกเกอร์มักจะกำหนดไว้ให้ อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการคำนวณเงินทุนที่คุณสามารถควบคุมได้เมื่อมี Leverage จะต้องใช้สูตรดังนี้

มูลค่าการลงทุนที่ควบคุมได้ = เงินทุนที่คุณมีในบัญชี x อัตราส่วน Leverage

ตัวอย่าง คุณมีเงินในบัญชี 1,000 ดอลลาร์ โบรกเกอร์เสนอ Leverage 1:200 คุณจะสามารถควบคุมการลงทุนได้ = 1,000 x 200 = 200,000 ดอลลาร์

ในทางกลับกัน หากคุณต้องการทราบว่าต้องใช้ Margin เท่าไหร่สำหรับการเปิดสถานะการเทรด สามารถใช้สูตรเบื้องต้นคำนวนได้ ดังนี้

Margin ที่ต้องวาง = มูลค่าการเทรดทั้งหมด / อัตราส่วน Leverage

ตัวอย่าง คุณต้องการเปิดสถานะการเทรดมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ โบรกเกอร์เสนอ Leverage 1:100 ทำให้ Margin ที่ต้องวาง = 10,000 / 100 = 100 ดอลลาร์

โดยสรุปแล้ว Leverage คือเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเพิ่มอำนาจการซื้อและขยายผลตอบแทนที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม แม้ Leverage จะสามารถช่วยให้คุณได้กำไรก็ตาม แต่การจะใช้หลัก Leverage มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย หากไม่ระวังให้ดี ตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับที่คาดการณ์ไว้ก็อาจทำให้คุณขาดทุนได้ง่าย ๆ 

แต่สำหรับใครที่มั่นใจแล้ว และเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี แพลตฟอร์มอย่าง Webull ที่ช่วยให้คุณเทรดลงทุนหุ้นได้ตลอด 24 ชม. ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะที่นี้ ค่าธรรมเนียมต่ำ เชื่อถือได้ แถมยังมีฟีเจอร์เสริมดี ๆ ให้คุณได้ช้งานฟรี! ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์ข่าวสาร เครื่องมือการเทรด เครื่องมือวิเคราะห์แบบเจาะลึก รวมไว้ให้ครบในแอปฯ คลิกสมัครเลย!

สรุป

เป้าหมายหลักของการใช้เลเวอเรจคือ การเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้จากการลงทุน หากการลงทุนประสบความสำเร็จ กำไรที่ได้จะถูกคำนวณจากมูลค่ารวมของสินทรัพย์ที่ควบคุมอยู่ ไม่ใช่แค่เงินทุนที่คุณลงไปเอง ทำให้ผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จากเงินทุนของคุณสูงขึ้นมาก แต่การจะใช้หลัก Leverage มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย

ที่มา

บทความแคร์การลงทุน

Rabbit Care Blog Image 101510

แคร์การลงทุน

หุ้นปันผลสหรัฐ ทางเลือกการลงทุนสร้างรายได้แบบ Passive

หุ้นปันผลถือเป็นอีกหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่ แรบบิท แคร์ อยากแนะนำให้เหล่านักลงทุนได้รู้จัก ทำไมหุ้นปันผลถึงได้น่าสนใจกันนะ? เหมาะกับการลงทุนแบบไหนบ้าง?
คะน้าใบเขียว
27/03/2025
Rabbit Care Blog Image 101498

แคร์การลงทุน

ภาษีหุ้นต่างประเทศต้องเสียยังไง? ยุ่งยากไหมนะ?

เรื่องภาษีนั้นฟังดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ลำพังแค่การเสียภาษีรายได้ธรรมดาก็หัวหมุนจะแย่ แบบนี้จะจัดการกับภาษีที่ลงทุนในหุ้นได้อย่างไหร่บ้างนะ
คะน้าใบเขียว
24/02/2025