ตะลอนเที่ยว

พาเที่ยววัดนาคปรก วัดดังย่านภาษีเจริญ เด่นในเรื่องไหน ไปยังไง เดินทางด้วย BTS ได้หรือไม่ ?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
ตรวจทาน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
Published November 21, 2023

หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างกับชื่อเสียงของ ‘วัดนาคปรก’ หรือที่คนเรียกกันจนติดปากว่า ‘วัดนาคปรก ภาษีเจริญ’ วัดที่คนเกิดวันเสาร์ หรือนับถือองค์พญานาคจะต้องไปสักการบูชาสักครั้ง เพราะภายในวัดนาคปรกแห่งนี้นั้นนอกจากจะมีองค์พระพุทธรูปปางนาคปรกที่มีความเก่าแก่ให้สักการะ ก็ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ทำการขอพรมากมายนั่นเอง 

ในวันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมาทำศึกษาเรื่องราวน่ารู้ที่เกี่ยวกับวัดนาคปรก ทั้งในเรื่องประวัติความเป็นมาของวัด จุดเด่นความดัง ความเชื่อ แนะนำจุดท่องเที่ยวเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด พิกัดที่ตั้ง และวิธีการเดินทางไปวัดนาคปรกให้แบบครบครัน มาอ่านไปพร้อมกันได้เลย!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ประวัติวัดนาคปรก

    วัดนาคปรก เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่มากวัดหนึ่งโดยมีความเก่าแก่ยาวนานเกือบ 300 ปี แต่เดิมชาวบ้านเรียกวัดแห่งนี้ว่า ‘วัดปก’ เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนป่าที่ปกคลุมไว้ มีข้อสันนิษฐานในการสร้างวัดว่าวัดนาคปรกแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาชนชาวบ้านในชุมชนที่ร่วมช่วยกันสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโศก ราวปีพุทธศักราช 2291 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เพียง 19 ปีเท่านั้น

    ต่อมาสืบเนื่องจากภาวะสงคราม ประชาชนทั่วบริเวณต่างได้รับความลำบากในการหลบลี้หนีภัยจึงเป็นเหตุให้วัดนาคปรกได้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลานาน มีสภาพเสื่อมโทรมจะเหลือเพียงอุโบสถและวิหารที่เหลือแต่บริเวณฝาผนังและหลังคาเพียงเท่านั้น

    เมื่อเวลาผ่านไปวัดนาคปรกได้มีการถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ในช่วงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 3 ได้มีพ่อค้าคหบดีเชื้อสายจีน หรือ ‘เจ้าสัวพุก’ ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) ต้นสกุล โชติกพุกกณะ ผู้ที่มีศรัทธาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปก หรือวัดนาคปรก จากการชักชวนจากพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง ต้นสกุลอิงคานนท์) และได้เริ่มทำการบูรณะวัดนาคปรกตั้งแต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 3 ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 

    นอกจากนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวพุก แซ่ตัน) ยังได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 700 ปี จำนวน 2 องค์ เพื่อมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ทดแทนพระประธานองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นและมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว โดยพระพุทธรูปองค์ปัจจุบันองค์นี้ เป็นที่รู้จักกันในนามว่า ‘หลวงพ่อเจ้าสัว’

    และอีกองค์หนึ่ง ได้ทำการประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในวิหาร โดยพระประธานองค์นี้นั้น ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐีได้สร้างพญานาคปรกขึ้นครอบไว้ มีขนดกายม้วนขึ้นซ้อนกัน 4 ชั้น มีเศียร 7 เศียร โดยสร้างด้วยปูนปั้นและมีแกนโครงสร้างเป็นไม้ตะเคียน ปูนปั้นทำสีประดับลายกระจก ด้วยเหตุนี้พระประธานองค์นี้จึงได้รับการเรียกขานนามกันว่า ‘หลวงพ่อนาคปรก’ และการเรียกชื่อวัดปกจึงได้กลายมาเป็นชื่อ ‘วัดนาคปรก’ นับแต่จากนั้นเป็นต้นมา

    ประวัติพุทธสถานภายในวัดนาคปรก

    นอกจากวัดนาคปรกแห่งนี้จะเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานสืบเนื่องต่อกันมากว่า 300 ปีแล้ว พุทธสถานภายในวัดก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมากเช่นกัน

    วิหารนาคปรก

    วิหารวัดนาคปรก เปรียบเสมือนอนุสรณ์แห่งความรัก คือ เมื่อช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบริบูรณ์ธนากร (เจ้าสัวพุก แซ่ตัน) ผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างมากในพระพุทธศาสนา หลังจากที่ได้บูรณะอุโบสถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ทำการบูรณะวิหารขึ้นคู่กันซึ่งมีลักษณะทรงไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยาและแสดงความกตัญญูต่อแผ่นดินไทย

    อุโบสถเจ้าสัว

    อุโบสถเจ้าสัว เมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เจ้าสัวพุก แซ่ตัน ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะโค้งแอ่นเหมือนเรือสำเภาเล็กน้อย พร้อมกับให้จิตรกรชาวจีนวาดภาพจิตรกรรมบนฝาผนังแสดงเรื่องราวเครื่องมงคล เครื่องบูชาของชาวจีน 

    สำหรับอุโบสถหลังนี้นอกจากสร้างถวายเป็นพุทธบูชา ส่วนหนึ่งทำการสร้างขึ้นโดยความคิดที่ว่าให้เป็นอนุสรณ์แก่ตนเอง โดยเจ้าสัวพุกได้ทำการสร้างอุโบสถหลังนี้ขึ้นมาก่อน และหลังจากนั้นได้ทำการบูรณะวิหารนาคปรกเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา จึงเรียกได้ว่า ทั้งอุโบสถและวิหารแห่งนี้ คืออนุสรณ์สถานแห่งความรัก ความเมตตาของเจ้าสัวพุกและภรรยาผู้เป็นที่รักอย่างแท้จริง

    จุดเด่นของวัดนาคปรก

    ความโดดเด่นโด่งดังของวัดนาคปรกนี้นอกจากจะโด่งดังในเรื่องที่ต้องไปทำการสักการะ หลวงปู่ชู คงชูนาม อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก เกจิอาจารย์ชื่อดัง เพื่อขอพรแล้ว พระนาคปรกในวิหารวัดนาคปรกภายในวัดแห่งนี้ ยังถือว่าเป็นพระนาคปรกแห่งเดียวที่องค์พระพุทธรูปเป็นปางมารวิชัย (โดยทั่วไปจะเป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ) และถือได้ว่าเป็นพระนาคปรกที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดนาคปรกยังให้ข้อมูลว่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดนาคปรก ให้เป็นโบราณสถาน ตั้งแต่วันที่ 13  ธันวาคม 2520 อีกด้วย

    ความเชื่อเกี่ยวกับวัดนาคปรก ภาษีเจริญ

    นอกจากจะมีความโด่งดังในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดแล้ว คณะผู้ศรัทธาในวัดนาคปรกยังมีความเชื่อที่โดดเด่น เกี่ยวกับการเข้ามาทำบุญสักการะเพื่อทำการขอพร แก้กรรม

    ถอนคำสาบาน รวมถึงล้างสิ่งไม่ดีที่อาจติดตัวมาทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวจากที่ต่าง ๆ นับว่าเป็นวัดที่เป็นที่พึ่งทางใจของคนที่รู้สึกว่าช่วงนี้ตัวเองดวงตก ทำอะไรก็ไม่ขึ้น มักเจออุปสรรคติดขัด เกิดอุบัติเหตุน้อยใหญ่ขึ้นกับตัวเองไม่เว้นแต่ละวัน มีกรรมติดตัวได้เป็นอย่างดี

    และสำหรับผู้ที่รู้สึกว่าช่วงนี้ดวงไม่ดี เจออุปสรรคและเหตุการณ์ไม่คาดฝันในแง่ลบอยู่เสมอ หรืออาจเจออุบัติเหตุน้อยใหญ่รอบตัว นอกจากจะทำการทำบุญแก้กรรมล้างสิ่งไม่ดีออกจากตัวที่วัดนาคปรกแล้ว แรบบิท แคร์ ขอแนะนำให้ทำประกันอุบัติเหตุกันไว้ เพื่อความอุ่นใจและป้องกันภัยที่อาจต้องเผชิญโดยไม่ทันได้ตั้งตัว

    วัดนาคปรก เหมาะสำหรับใคร ?

    • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำบุญสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลากหลายองค์ภายในวัดเดียว
    • เหมาะกับผู้ที่มีจิตศรัทธาในการสร้างเสริมบุญบารมีโดยการสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
    • เหมาะกับผู้ที่มีความเชื่อและความศรัทธาเกี่ยวกับองค์พระนาคปรกหรือองค์พญานาค
    • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขอขมากรรม แก้กรรม อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร

    จุดท่องเที่ยวสักการะภายในวัดนาคปรก ภาษีเจริญ

    สำหรับคนที่คิดจะไปท่องเที่ยวหรือสักการบูชาวัดนาคปรก ลองมาดูกันว่าภายในวัดมีจุดไหนให้เข้าไปสักการบูชากันบ้าง

    • วิหารวัดนาคปรก
    • องค์พระนาคปรก
    • อุโบสถ
    • จุดลอดอุโบสถ
    • จุดถวายสังฆทาน
    • ศาลาอัยศิริ
    • วิหารหลวงพ่อโต
    • มณฑปหลวงปู่ชู
    • จุดสักการะเจ้าแม่กวนอิม
    • พญานาคา พญานาคี
    • อนุสาวรีย์ ร.5
    • จุดสักการะท้าวเวสสุวรรณ
    • หอระฆัง
    • ศาลาทานบารมี (ชั้น 2)
    • ประตูทอง
    • ประตูเงิน

    ที่ตั้งและช่องทางติดต่อวัดนาคปรก

    สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังวัดนาคปรกหรือต้องการสอบถามเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพในการทำบุญ สร้างบุญสร้างกุศลและต้องการติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถทำการติดต่อวัดนาคปรก ภาษีเจริญได้ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

    ที่ตั้งของวัดนาคปรก ภาษีเจริญ : วัดนาคปรก เลขที่ 99 ถนนเทอดไท ซอย 49  แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160

    เวลาเปิดทำการ : เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.

    เบอร์ติดต่อ : 02-467-2380

    เว็บไซต์วัดนาคปรก : www.watnakprok.com 

    วิธีการเดินทางไปวัดนาคปรก

    สำหรับวิธีการเดินทางไปวัดนาคปรก เส้นทางการเดินทางนั้นไม่ยากอย่างที่ใครหลายคนกังวล เพราะนอกจากจะสามารถขับรถส่วนตัวไปตามเส้นทางใน Google Map นี้ได้แล้ว ยังสามารถเลือกเดินทางด้วย BTS ได้ เพียงแค่ทำการโดยสาร BTS ไปลงสถานีวุฒากาศ และออกประตูทางออก 2 จากนั้นจะทำการเดินหรือนั่งวินมอเตอร์ไซค์ต่อไปยังวัดก็ได้


     

    บทความตะลอนเที่ยว

    ตะลอนเที่ยว

    แนะนำถนนคนเดินเชียงใหม่ ที่นักท่องเที่ยวนิยมไป พร้อมสรุปให้ว่ามีวันไหนบ้าง

    ถนนคนเดินเชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งใครเดินทางมาท่องเที่ยวเชียงใหม่ก็พลาดไม่ได้ ต้องลองไปเดินเที่ยวที่ถนนคนเดินเชียงใหม่สักแห่งที่อยู่ใกล้ ๆ
    Nok Srihong
    11/03/2024

    ตะลอนเที่ยว

    พาเที่ยวม่อนกุเวร ไหว้ท้าวเวสสุวรรณที่ จ.เชียงใหม่ วิธีการเดินทาง-รายละเอียดที่ต้องทราบก่อนไป

    ‘ม่อนกุเวร’ จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ที่หากใครเป็นสายชื่นชอบในการทำบุญขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือนับถือองค์ท้าวเวสสุวรรณจะพลาดไม่ได้
    Nok Srihong
    05/03/2024

    ตะลอนเที่ยว

    วันเดย์ทริป กรุงเทพ มีที่ไหนให้ได้ไปเที่ยวบ้าง ใครเวลาน้อยแต่อยากพักผ่อนควรดู!

    ถ้าหากคุณเป็นคนที่มีวันหยุดค่อนข้างน้อย เวลาออกเที่ยวไม่เยอะมากเท่าไหร่นัก คุณอาจเหมาะกับวันเดย์ทริปก็เป็นได้ โดยเฉพาะใครที่มีรถยนต์ส่วนตัว
    Nok Srihong
    05/03/2024