แคร์สุขภาพ

ระวัง! ตากแดดนานๆ ก็เป็นไข้หวัดแดดได้

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published April 29, 2021

อากาศร้อนๆ แบบนี้ หลายคนอาจจะรู้จักมักคุ้นกับโรคหน้าร้อนยอดฮิตอย่าง ฮีทสโตรก (ลมแดด) , ท้องร่วง ท้องเสีย หรือโรคลมพิษ ผดผื่น อื่นๆ แต่มีอีกโรคหนึ่ง ที่คุณไม่ควรมองข้าม อย่าง ไข้หวัดแดด ว่าแต่โรคนี้แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาทั่วไปอย่างไร ใกล้เคียงกับ โควิด-19 ด้วยหรือเปล่า ? ไปเช็กกันเลยดีกว่า 

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    การตรวจสอบโรคไข้หวัดแดด

    ระวัง! ตากแดดนานๆ ก็เป็นโรคไข้หวัดแดดได้

     

    รู้จักกับ ไข้หวัดแดด อีกหนึ่งโรคที่ต้องระวังในหน้าร้อน

    ไข้หวัดแดด หรือเรียกว่า ไข้แดด (Summer Flu) เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเมื่อมีปัจจัยเรื่องสภาพอากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย  อยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ค่อยถ่ายเท จนส่งผลให้ป่วย และมีอาการใกล้เคียงกับโรคไข้หวัด พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่พายุโซนร้อนพัดเข้าไทย 

    การเป็นโรคไข้หวัดแดดนั้น ไม่จำเป็นต้องได้รับแค่เชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือ อากาศร้อนแต่เพียงอย่างเดียว แต่การเข้าๆ ออกๆ ในสถานที่ที่อุณหภูมิไม่ถ่ายเท หรืออากาศเปลียนแปลงบ่อย ทำให้ภูมิคุ้มกันเสียสมดุล และเกิดอาการป่วยได้ในที่สุด 

    เช่น พนักงานบริษัทที่เดินเข้าออกห้องแอร์เย็นๆ กับ อุณหูมิร้อนๆ นอกตัวอาคารขณะที่แดดร้อนๆ บ่อยๆ หรือช่วงฤดูเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น เป็นต้น

    ถึงแม้ไข้หวัดแดด จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในกลุ่มเสี่ยง ดังนี้

    • ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น เกษตรกร, นักกีฬา, พนักงานเทศบาลต่างๆ ที่ทำงานกลางแจ้ง 
    • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
    • ผู้สูงอายุ
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน
    • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
    • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
    • ผู้ที่เข้าออกบ่อยระหว่างสถานที่ โดยที่อุณหภูมิแตกต่างกันเกินไป เช่น การเดินเข้าออกระหว่างห้องแอร์ กับ นอกอาคาร ในขณะที่อากาศร้อนจัด

     

    โรคหน้าร้อน

     

    อาการเป็นยังไง ร้ายแรงมากไหมนะ ? 

    สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไข้หวัดแดดนั้น จะมีอาการดังนี้ 

     

    • มีไข้ต่ำๆ (ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียล) และรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว

    • ปวดศีรษะเป็นระยะๆ บางคนอาจปวดหัวข้างเดียว หรือไมเกรนกำเริบ และมักมีอาการหน้ามืดวิงเวียนได้ง่าย
    • ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม และปัสสาวะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ

    • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

    • ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ

    • การรับรู้รสอาหาร หรือการทานอาหารแล้วรู้สึกขมปาก หมือนเบื่ออาหาร

    • ระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่น มีอาการท้องไส้ปั่นป่วน, ท้องเสีย หรือขับถ่ายไม่เป็นเวลา

    • ริมฝีปากแห้ง

    • คลื่นไส้ อาเจียน

    • เป็นตะคริว

    • นอนไม่ค่อยหลับ หรือบางรายมีอาการหลับๆ ตื่นๆ นอนหลับไม่สนิท

    • บางรายมีอาการตาแดง หรือตาแห้ง ปวดแสบกระบอกตา เป็นสัญญานของร่างกายที่บอกว่าความร้อนสะสมในร่างกายเริ่มมากเกินไป หากมีอาการนี้ ควรรีบพบแพทย์

     

    อาการของโรคไข้หวัดแดด

     

    เพราะลักษณะอาการใกล้เคียงแบบนี้เอง ทำให้หลายครั้งเกิดความสับสนระหว่าง ไข้หวัดแดด กับ ไข้หวัดทั่วไป และถึงแม้มองผิวเผินมีอาการเหมือนกัน แต่ถ้าเราสังเกตดีๆ จะพบว่า ทั้งสองโรค มีอาการที่แตกต่างจากกันโดยสิ้นเชิงอยู่ 

    อย่าง ไข้หวัดแดด ที่เกิดจากร่างกายสะสมความร้อนเอาไว้มาก จนระบายออกไม่ทัน ทำให้ไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก หรืออาจมีน้ำมูกใสเล็กน้อย ที่สำคัญ ไม่มีอาการเจ็บคอเหมือนกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะรู้สึกขมปาก คอแห้ง ปากแห้งแทน

    ส่วน โควิด-19 เอง ก็มีอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดแดดอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะอาการเจ็บคอ มีน้ำมูกไหล ไม่มีอาการตาแดง และจะมีอาการเด่นชัดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น มีอาการหายใจถี่ และเหนื่อยหอบ ซึ่งอาการไข้หวัดแดดจะไม่มีอาการเหล่านี้นั่นเอง

     

    การรักษาไข้หวัดแดด

     

    ดูแลยังไง ถ้าพลาดท่า ป่วยเป็นไข้หวัดแดดเสียแล้ว

    สำหรับการดูแลผู้ป่วย หรือการปฐมพยาบาลคนที่เป็นโรคไข้หวัดแดดนั้น ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนโรคร้ายอื่นๆ เพราะเดิมที ไข้หวัดแดดเป็นเชื้อโรคตัวเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น แนวทางการรักษาจึงไม่แตกต่างกันมาก และสามารถปฎิบัติการได้ ดังนี้ 

     

    • พักผ่อนให้เพียงพอ
    • หมั่นเช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนภายใน
    • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำที่เพียงพอ
    • รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ และมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินซีสูง
    • อาจทานยาลดไข้ร่วมด้วยตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือแพทย์

     

    ไข้หวัดแดดนั้น รักษาได้ไม่ยาก บางรายสามารถหายได้เองเป็นปกติใน 3 วัน – 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยว่าแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน ยิ่งแข็งแรงมาก อาการที่เกิดขึ้นก็จะหายเองได้เร็วเท่านั้น

     

    อาการไข้แดด

     

    แต่ถึงแม้ไข้หวัดแดด จะไม่ใช่โรคร้าย หรือมีอาการเจ็บป่วยที่น่ากังวล แต่คงดีกว่า ถ้าป้องกันไว้ก่อน คงดีกว่ารอให้ป่วยไข้ แล้วค่อยรักษา โดยเราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00 น. – 15.00 น. ที่มักมีแดดแรง หรือหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัด หากจำเป็นควรใส่เสื้อคลุมกันแดด หรือพกร่มไปด้วย 

    • ถ้าเพิ่งเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดมา ควรนั่งพักในที่ร่มที่อากาศถ่ายเทสะดวกสักพัก ก่อนเข้าในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวกับอุณหภูมิที่แตกต่างได้ทัน

    • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ผู้คนแออัด

    • สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน หรือเน้นเสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี

    • พยายามจิบน้ำ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

     

    โรคไข้หวัดแดด อาจจะไม่ใช่โรคร้าย น่ากลัว แต่คุณก็ไม่ควรมองข้าม แต่การสะสมพิษร้อนชื้นไว้ในร่างกายเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลต่ออวัยวะภายในโดยเฉพาะม้าม และกระเพาะอาหาร แถมอาการป่วยไข้เหล่านี้ ยังทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง ซึ่งสุ่มเสี่ยงกับการติด โควิด-19 ได้ง่ายขึ้นด้วย!

     

    โรคไข้หวัดแดด

     

    สุขภาพไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ก็ไม่ควรมองข้าม คลิกเลย กับ ประกันสุขภาพ จาก Rabbit Care ที่ให้คุณอุ่นใจ เบิกเคลม พบแพทย์ได้ ปลอดภัยในทุกๆ ฤดูกาล ด้วยเบี้ยประกันที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เลือกได้ดั่งใจ ด้วยโบรกเกอร์ประกันที่คุณมั่นใจได้!

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    โรคไข้หวัดแดดมีอาการที่คล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ เช่น ไม่มีอาการเจ็บคอและมีอาการขมปาก คอแห้ง ปากแห้ง ไข้หวัดแดดเกิดตอนภูมิคุ้มกันลดลงซึ่งแตกต่างจากโควิด-19 ซึ่งมีอาการเด่นชัดที่ระบบทางเดินหายใจ สำหรับการรักษาไข้หวัดแดดไม่ซับซ้อนมาก ในกรณีที่ไม่มีอาการรุนแรงผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามแนวทางทั่วไปได้ เช่น พักผ่อน, ดื่มน้ำ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และติดตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานยาลดไข้

    จบสรุปบทความ

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024