แคร์สุขภาพ

จริงหรือไม่! ยุงกัดเพราะแบบนี้!? และวิธีไล่ยุงจากสาเหตุเหล่านี้!

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published June 28, 2022

ความเชื่อกับคนไทยเป็นของคู่กันมาช้านาน ยุงก็เป็นอีกเรื่องที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน จนมีความเชื่อเรื่องยุงปลูกฝังอยู่ในสังคมไทย เพื่อนำมาเป็นวิธีการป้องกันและสรรหาวิธีไล่ยุง จนกระทั่งวิทยาศาสตร์ในสมัยนี้เข้ามามีบทบาทในการไขข้อข้องใจ หรือพิสูจน์ความเชื่อต่าง ๆ ที่มีตั้งแต่โบราณ แล้วความเชื่อใดบ้างที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และสามารถป้องกันอันตรายจากยุงได้อย่างไร มีวิธีการไล่ยุงแบบไหน วันนี้ แรบบิท แคร์ นำ 3 ความเชื่อเกี่ยวกับยุง วิธีการป้องกันยุง และวิธีไล่ยุงมาให้ทุกคนกัน!

1. ความเชื่อเรื่องยุง อันไหนจริง? อันไหนไม่จริง?

ส่วนมาก ความเชื่อมักเป็นสิ่งที่เชื่อกันโดยไม่มีข้อพิสูจน์ หรือยังไม่ได้พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน ทำให้ความเชื่อหลายความเชื่อนั้นแพร่หลายในสังคม อีกทั้ง บางความเชื่อก็เป็นความเชื่อที่ผิด อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ หากเป็นความเชื่อเรื่องยุงในสังคมไทย ก็คงหนีไม่พ้นจากความเชื่อที่ว่ายุงชอบกินเลือดหวาน ยุงชอบกัดคนใส่เสื้อสีดำ หรือยุงไม่ชอบอากาศหนาวเป็นแน่ แล้วอันไหนจะเป็นเรื่องจริง อันไหนจะเป็นเรื่องเข้าใจผิด เราได้รวบรวม 3 ความเชื่อเรื่องยุงที่พบได้บ่อยมาฝากกัน!

1.1 ยุงชอบกินเลือดหวาน แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเลือดหวาน?

แน่นอนว่าอาหารหลักของยุงตัวเมียคือเลือด แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า “เลือดหวาน” คืออะไร จากความเชื่อที่ว่ายุงชอบกินเลือดหวาน จริง ๆ แล้วไม่ได้เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดแต่อย่างใด แต่เป็นหมู่เลือด หรือกรุ๊ปเลือดที่เป็นปัจจัยดึงดูดยุงให้เข้ามากัด จากงานวิจัยตั้งแต่ปี 1974 พบว่า คนที่มีเลือดกรุ๊ปโอ (O) จะมีแนวโน้มถูกยุงกัดมากที่สุด ต่อมาในปี 2019 มีงานวิจัยอีกชิ้นที่มายืนยันว่า คนที่มีเลือดกรุ๊ปโอมีแนวโน้มถูกยุงลายกัดมากกว่าเลือดกรุ๊ปอื่น รองลงมาคือกรุ๊ปเอ (A) และกรุ๊ปบี (B) ตามลำดับ แต่ว่ายุงแต่ละชนิดชอบเลือดไม่เหมือนกัน จากงานวิจัยเดียวกัน พบว่ายุงก้นปล่องจะชอบเลือดกรุ๊ปเอบี (AB) มากกว่ากรุ๊ปโอ

แล้วยุงรู้ได้อย่างไรว่ากรุ๊ปเลือดเราคือกรุ๊ปอะไร จริง ๆ แล้ว ยุงสามารถตรวจพบโปรตีนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง หรือที่เรียกกันว่าแอนติเจน (Antigen) ได้จากสารคัดหลั่งของคน เช่น น้ำมูก น้ำลาย เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นแบบนั้น ดังนั้น สามารถบอกได้ว่า “ความหวาน” ของเลือดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ดึงดูดให้ยุงกัด 

1.2 ยุงชอบกัดคนใส่เสื้อสีดำ แล้วคนใส่เสื้อสีอื่น จะถูกกัดมั้ย?

หากเราสังเกตบ่อย ๆ จะพบว่าคนที่ใส่เสื้อผ้าสีดำ มักจะถูกยุงกัดมากกว่าคนอื่น ๆ ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ข้าง ๆ จากงานวิจัยหนึ่งในปี 2019 พบว่าผ้าที่มีสีเข้ม เช่น สีดำ สีเขียว และสีแดง ดึงดูดยุงได้มากกว่าผ้าที่มีสีอ่อน เช่น สีเหลือง สีขาว เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คนที่ใส่เสื้อผ้าสีอ่อนก็ยังคงถูกยุงกัดได้อยู่ดี เพราะสีของเสื้อผ้าเพียงแต่เพิ่มหรือลดโอกาสการถูกกัดเท่านั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้

1.3 ยุงไม่ชอบอากาศหนาว แต่ตอนเปิดแอร์นอนแล้วยุงยังกัดอยู่เลย

ยุงเป็นสัตว์เลือดเย็น ซึ่งสัตว์เลือดเย็นจะมีอุณหภูมิร่างกายตามสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถึงแม้ว่าเราจะเปิดแอร์ในห้องก็ตาม แต่ยุงก็สามารถดำรงชีวิตได้อยู่ดี เพราะอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่ยุงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อยู่ที่ประมาณ 10 องศาเซลเซียส แล้วแต่สายพันธุ์ ดังนั้น เป็นเรื่องจริงที่ยุงไม่ชอบอากาศหนาว แต่อุณหภูมิก็ต้องน้อยมากจริง ๆ จึงจะเห็นผล เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกที่จะถูกกัด ทั้ง ๆ ที่เปิดแอร์นอนแล้ว

จากความเชื่อเรื่องยุงที่แพร่หลายในสังคม พบว่า มีส่วนที่เป็นความจริงและสามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง แต่ด้วยความเชื่อเหล่านั้นไม่ได้มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน จึงทำให้ในบางครั้ง ความเชื่อเหล่านั้นก็ดูไม่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ จากงานวิจัยหลายชิ้น ยังพบว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้คนถูกยุงกัดมากกว่าคนอื่น ๆ

2. ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ยุงเข้าหาคุณ

2.1 อุณหภูมิร่างกาย

เนื่องจากยุงมีส่วนที่ตรวจจับความร้อน ทำให้ยุงสามารถตรวจจับอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายอยู่เสมอ หากเราไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ บางครั้งจะพบว่ายุงจะเข้าหาคนที่ออกกำลังกายเยอะกว่าคนทั่วไป

2.2 สารเคมีจากร่างกาย

นอกจากยุงจะมีตัวรับสัญญาณความร้อนแล้ว ยุงยังมีส่วนที่ตรวจจับสารเคมี โดยยุงสามารถตรวจจับสารเคมีอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) กรดแลคติก (Lactic Acid) และแอมโมเนีย (Ammonia) จากเหงื่อ เป็นต้น แน่นอนว่าการออกกำลังกายจะทำให้สารเคมีเหล่านี้ออกมาจากร่างกายมากขึ้น อีกทั้ง หญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกยุงกัดได้ง่ายขึ้น เพราะต้องนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทารกในครรภ์ออกมาผ่านแม่หรือแม้กระทั่งคนที่เหงื่อออกง่าย ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

เมื่อนำวิทยาศาสตร์มาอธิบายความเชื่อเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อเรื่องยุงสามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยุง ทำให้เรารู้เรื่องยุงมากขึ้น และยังทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยง ป้องกัน และหาวิธีไล่ยุงได้อย่างเหมาะสม

3. การป้องกันตัวเองจากยุงและวิธีไล่ยุง

ทุกคนคงได้ยินมาตลอดว่า การป้องกันยุงที่ดี คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง เช่น แหล่งน้ำขังบริเวณในบ้านและนอกบ้าน เช่น แจกันดอกไม้ กระถางต้นไม้ บ่อที่มีน้ำขัง โดยการเทน้ำไม่ให้มีน้ำขัง หรือคว่ำภาชนะเหล่านั้น หากเป็นไปได้ แต่บ่อยครั้งที่ยุงมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่บริเวณบ้านเรา หรือในขณะที่เราอยู่นอกบ้านเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ ซื้อของ และอื่น ๆ

หากนำเรื่องความเชื่อและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับยุงมาต่อยอดแล้ว จะพบว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัจจัยทางธรรมชาติได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงกรุ๊ปเลือด อุณหภูมิร่างกาย หรืออุณหภูมิอากาศของบ้านเรา แต่อย่างปัจจัยอื่น ๆ เช่น สีของเสื้อผ้าที่ใส่ กลิ่นตัว อาจพอแก้ไขได้ ตัวอย่างเช่น หากออกกำลังกายเสร็จ ควรอาบน้ำเพื่อขจัดคราบเหงื่อและกลิ่นตัวที่อยู่บนผิว แต่ก็ไม่ควรอาบทันทีหลังออกกำลังกาย เพราะอาจเกิดอาการช็อกได้ หรืออาจเลือกใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกยุงกัด 

เมื่อพูดถึงการป้องกันตัวเองจากยุงแล้ว ก็ต้องพูดถึงวิธีไล่ยุง หากเราป้องกันแล้ว แต่ยังมียุงเข้ามากัดเราอยู่ หนึ่งวิธีไล่ยุงที่สามารถใช้ได้คือสมุนไพรไล่ยุง โดยปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่อยู่ในรูปแบบสเปรย์ ใช้งานได้ ทำมาจากส่วนประกอบธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิว โดยเฉพาะผิวเด็ก หากอยู่นอกบ้านแล้วมียุงมากวนใจ ก็สามารถใช้สเปรย์ไล่ยุงได้ หรือหากต้องการใช้สมุนไพรไล่ยุงในบ้าน มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถไล่ยุงได้ในพื้นที่รอบ ๆ บ้าน เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง โหระพา กะเพรา และมะกรูด

ไม่ว่าเลือดจะหวานแค่ไหน จะใส่เสื้อผ้าสีอะไร อากาศจะร้อนหรือหนาวแค่ไหน ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้เราถูกยุงกัด ตั้งแต่ตุ่มยุงกัดเล็ก ๆ ไปจนถึงโรคร้ายที่อันตรายถึงแก่ชีวิตอย่างโรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคชิคุนกุนย่า หรือแม้แต่โรคไข้สมองอักเสบ ก็ส่งผลเสียต่อเราทั้งสิ้น ดังนั้น การป้องกันตัวเองจากยุงและวิธีไล่ยุงก็เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อทั้งตัวเองและครอบครัว สุดท้ายนี้ น้องแคร์ขอให้ทุกคนไม่ถูกยุงร้ายกัด และถ้าหากต้องการที่ปรึกษาด้านสุขภาพ หรือความคุ้มครองด้านสุขภาพที่คุ้มค่า แรบบิท แคร์ ก็มีประกันสุขภาพให้ทุก ๆ คนได้เลือกตามความต้องการของทุกคนเลย 😀


สรุป

สรุปบทความ

โดยบทความชี้ให้เห็นว่าบางความเชื่อที่พบเกี่ยวกับยุงสามารถเชื่อมโยงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้บ้าง แต่ในบางกรณี ความเชื่อนั้น ๆ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน ดังนั้นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีปัจจัยทางธรรมชาติและสิ่งที่สามารถป้องกันตัวเองจากยุงได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง หรือการใช้สมุนไพรหรือสารเคมีในการไล่ยุง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกยุงกัด โดยย้ำที่ความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์มาเป็นที่สองในการพิจารณาความจริงของความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีต่อยุง

จบสรุปบทความ
 

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

Red flag และ Green flag ในความสัมพันธ์คืออะไร นอกจากส่งผลต่อใจ ทำไมถึงส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยในระยะยาว ?

Red Flag หนึ่งใน Relationship Flag ที่แม้หลายครั้งจะพยายามระมัดระวังและหลีกเลี่ยงให้ไกลแล้ว
กองบรรณาธิการ
26/03/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
กองบรรณาธิการ
22/03/2024

แคร์สุขภาพ

รู้หรือไม่ ? การฝันร้ายบ่อย ๆ เป็นสัญญาณอันตรายของการเกิดปัญหาสุขภาพ

‘ฝันร้าย’ สิ่งที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็คงไม่อยากเผชิญ เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกผวา หวาดกลัว สะดุ้งตื่นกลางดึกจนหลับไม่สนิทแล้ว
กองบรรณาธิการ
21/03/2024