แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

ผ่าตัดริดสีดวง ต้อกระจก แบบไม่ต้องนอนรพ. เบิกประกันสุขภาพIPD ได้ไหมนะ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
Published September 26, 2022

ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่ ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยทั้งทางด้านเทคโนโลยีและวิธีการรักษา ซึ่งทำให้หลายโรคต่อหลายโรคมีเปอร์เซ็นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น หรือโรคบางโรคที่มีโอกาสเป็นกันมากอย่างริดสีดวงทวาร และต้อกระจก ก็สามารถที่จะใช้เวลาในการรักษาให้หายเพียงชั่วข้ามคืนได้เลย ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากการพัฒนาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องทั้งสิ้น แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบด้านดีกับมนุษย์ผู้ได้รับความเจ็บป่วยจากโรคทุกคนเป็นอย่างมาก

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    แม้ว่าวิวัฒนาการทางการแพทย์จะถูกพัฒนาให้ดีมากแค่ไหน แต่การไม่เป็นโรคใดๆ ก็ยังคงเป็นลาภอันประเสริฐที่สุดของมนุษย์ทุกคน เพราะสุขภาพของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคใด ๆ ทั้งปวง แต่ถ้าหากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยได้แม้จะดูแลรักษาสุขภาพเป็นอย่างดีแล้ว การมีประกันสุขภาพ ดี ๆ สัก 1 เล่ม ไว้ติดตัว ก็เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราเบาใจไปได้ไม่น้อย เมื่อต้องพบเจอกับโรคภัยไข้เจ็บ เพราะจะเป็นตัวช่วยในการจ่ายค่ารักษาโรคของเราได้โดยที่เราไม่ต้องกังวลใด ๆ ไม่ว่าจะต้องนอนรักษาตัวที่รพ.หรือไม่ เราก็เบิกประกันสุขภาพได้แบบหายห่วง

    และสำหรับโรคฮอตฮิตที่คนไทยเป็นกันเยอะ อย่างริดสีดวงทวาร รวมไปถึงต้อกระจกนั้น เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคนี้แล้ว การจะรักษาให้หายขาดได้นั้น ก็ต้องพึ่งวิวัฒนาการทางการแพทย์อย่างการผ่าตัดโดยไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือ Day Surgery Case ซึ่งเป็นวิธีการในการรักษาโรคดังกล่าวในปัจจุบัน หลายคนที่มีประกันสุขภาพแบบ IPD (ผู้ป่วยใน) อาจจะยังไม่ทราบว่า การผ่าตัดรักษาโรคโดยที่เราไม่ได้นอนพักรักษาตัวที่รพ.เลย จะสามารถเบิกประกันได้หรือไม่ วันนี้น้องแคร์มีคำตอบ!

    ทำความรู้จัก! การผ่าตัดแบบไม่ต้องนอนรพ. One Day surgery คืออะไร?

    หลายคนที่เคยซื้อประกันสุขภาพก็อาจจะคุ้น ๆ กับศัพท์คำนี้ จากรายการผลประโยชน์ความคุ้มครองในหมวดการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) มาบ้าง โดยเฉพาะในประกันสุขภาพเวอร์ชั่นที่มีการปรับปรุงมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ หรือ New Health Standard แล้ว 

    Day Surgery หรือ One Day case ก็คือ การผ่าตัดใหญ่ในลักษณะที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่สามารถเบิกประกันสุขภาพ IPD (ผู้ป่วยใน) เสมือนนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ โดยก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุงประกันสุขภาพให้เป็นมาตรฐานใหม่นั้น จะมีการกำหนดโรคที่ถูกจัดอยู่ในกรณี Day Case ทั้งหมด 21 กรณีด้วยกัน ได้แก่

    1. การสลายนิ่ว
    2. การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี
    3. การผ่าตัดต้อกระจก
    4. การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทุกชนิด
    5. การตรวจโดยการส่องกล้องทุกชนิด
    6. การผ่าตัด หรือเจาะไซนัส
    7. การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก
    8. การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม
    9. การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก
    10. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใดๆ
    11. การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า
    12. การจัดกระดูกให้เข้าที่
    13. การเจาะตับ
    14. การเจาะไขกระดูก
    15. การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง
    16. การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด
    17. การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง 
    18. การขูดมดลูก 
    19. การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก 
    20. การรักษา Bartholin′s Cyst 
    21. การรักษาด้วยรังสีแกมม่า

    ซึ่งหลังจากที่คปภ.ได้มีการประกาศบังคับใช้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่กับทุกบริษัทประกันแล้ว ก็ได้มีการยกเลิกการกำหนดชื่อโรคกรณี Day Case และเปลี่ยนมาเป็นการกำหนดลักษณะของคำนิยามการผ่าตัดใหม่ที่ครอบคลุมกรณี Day Caseมากขึ้นแทน นั่นหมายความว่า หากการรักษาใด ๆ ตรงกับนิยามการผ่าตัดที่ถูกกำหนดใหม่ การรักษานั้น ๆ ก็จะถูกกำหนดให้อยู่ในหมวด One Day Surgery นั่นเอง และนิยามการผ่าตัดใหม่ ได้แก่

    • ผ่าตัดใหญ่ ที่ไม่ต้องพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery)

    หมายถึง การผ่าตัดใหญ่ หรือการทําหัตถการทดแทนการผ่าตัดใหญ่ หรือการใช้เครื่องมือบําบัดรักษาพิเศษที่สามารถทดแทนการผ่าตัดใหญ่ได้ โดยไม่ต้องมีการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลการผ่าตัด

    • การผ่าตัดเล็ก

    หมายถึง การผ่าตัดระดับผิวหนัง หรือชั้นใต้ผิวหนัง หรือชั้นเยื่อบุ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ (Local/Topical Anaesthesia) หรือเฉพาะบริเวณ

    แล้วการผ่าตัดแบบไม่นอนรพ. เบิกประกันสุขภาพIPDได้ไหม?

    ต้องบอกว่าถ้าหากการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็จะสามารถเบิกประกันสุขภาพ IPDได้แบบไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น การรักษาริดสีดวง อย่างที่ทราบกันดีว่าในการรักษาริดสีดวงนั้นก็จะมีหลายวิธีในการรักษา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการและระยะของโรคด้วย โดยอาการของโรคริดสีดวงทวาร จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 4 ระยะ คือ

    • ริดสีดวงภายใน

    ซึ่งริดสีดวงประเภทนี้จะเกิดขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนัก ที่อยู่เหนือกว่าระดับหูรูดมีการโป่งพองแตก มีเลือดออก แต่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บใด ๆ เนื่องจากเป็นส่วนที่เส้นประสาทรับความรู้สึกได้น้อย จะแบ่งความรุนแรงเป็น 4 ระยะ คือ

    1. ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่เม็ดริดสีดวงยังมีขนาดเล็ก ไม่ามารถมองเห็นได้ แต่เมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระจะมีเลือดออกมาปน
    2. ระยะที่ 2 : ในระยะนี้เม็ดริดสีดวงจะเริ่มมีขนาดใหญ่มากขึ้นและจะเริ่มมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมาหากมีการเบ่งเพื่อขับถ่ายอุจจาระ ซึ่งริดสีดวงในระยะนี้ติ่งเนื้อที่ยื่นออกมาจะสามารถหดกลับเข้าไปภายในรูทวารได้เอง
    3. ระยะที่ 3 : จะมีลักษณะใกล้เคียงกับระยะที่ 2 แต่ส่วนของติ่งเนื้อที่ยื่นออกมาจะไม่สามารถหดกลับเข้าไปได้เอง จะต้องใช้นิ้วมือพยายามดันให้กลับเข้าไปภายใน
    4. ระยะที่ 4 : จะเป็นระยะที่เม็ดริดสีดวงมีขนาดใหญ่เป็นติ่งเนื้อยื่นออกมาแบบถาวร ไม่สามารถหดกลับเข้าไปภายในรูทวารได้เองและไม่สามารถใช้นิ้วมือดันกลับเข้าไปได้
    • ริดสีดวงภายนอก

    ริดสีดวงประเภทนี้จะเกิดตรงบริเวณทวารส่วนล่าง มีลักษณะนูนเป็นติ่งเนื้อออกมาจากทวารหนัก และจะมีอาการเจ็บปวดมาจากประสาทรับความรู้สึก สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าริดสีดวงประเภทภายใน

    และสำหรับวิธีการรักษาริดสีดวงนั้น โดยทั่วไปแล้วหากมีอาการในระยะที่ไม่รุนแรง ก็จะสามารถรักษาให้หายเองได้ จากการนั่งแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 10-15 นาที ทั้งก่อนและหลังการถ่ายอุจจาระ เพื่อลดการอักเสบและลดการขยายตัวของหลอดเลือดดำ การกินยาเพื่อลดอาการบวมและปวด รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยและดื่มน้ำมากขึ้น 

    แต่หากเป็นริดสีดวงในระยะที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดรุนแรง ก็จะต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างจริงจัง โดยการรักษาจากแพทย์ในปัจจุบันก็จะมีอยู่หลากหลายวิธี แต่สำหรับวิธีการรักษาที่ตรงกับเงื่อนไขการเบิกประกันสุขภาพ IPD ในหมวดการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือ One Day Surgery นั้น จะมีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ คือ

    • การฉีดยา

    แพทย์จะทำการรักษาโดยการฉีดตัวยาบริเวณเหนือหูรูดรูทวารเข้าไปที่ชั้นใต้เยื่อบุ เพื่อทำให้เกิดเป็นพังผืดรัดเส้นเลือด โดยจะไม่ฉีดเข้าไปโดยตรงที่เม็ดริดสีดวง เนื่องจากจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดท้องและแน่นบริเวณหน้าอก ซึ่งการรักษาริดสีดวงด้วยวิธีการนี้ สามารถที่จะเบิกประกันสุขภาพ IPD ในหมวด One Day Surgery ได้

    • การเย็บผูก

    เป็นการผ่าตัดริดสีดวงทวารที่ใช้เทคนิคทางการแพทย์สมัยใหม่ วิธีการนี้จะถูกใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการในระยะที่ 3-4 เนื่องจากติ่งเนื้อจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ โดยแพทย์จะทำการผูกเย็บหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณหัวริดสีดวง เพื่อลดความดันเลือด เพื่อให้หัวของริดสีดวงมีขนาดเล็กลงและหายไปโดยไม่ต้องตัดเนื้อเยื่อออก ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อยและใช้เวลาในการพักฟื้นเร็วเพียง 1-2 วัน และสามารถที่จะเบิกประกันสุขภาพ IPD ในหมวด Day Surgery ได้เช่นกัน 

    ทั้งนี้จะต้องเป็นการเข้ารับการรักษาเนื่องจากแพทย์เป็นผู้เห็นสมควรให้ทำการรักษาเท่านั้น รวมถึงจะต้องเป็นการรักษาหลังจากพ้นระยะรอคอยตามเงื่อนไขประกันแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถเบิกประกันได้

    และนอกจากการรักษาริดสีดวงทวารแล้ว อีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นกันเยอะก็คือ ต้อกระจก โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ เนื่องจากระบบโครงสร้างของกระจกตาเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปกาลเวลาประกอบกับภาวะการเสื่อมของเลนส์แก้วตา ที่ไม่มีความยืดหยุ่นและโปร่งใสเท่าตอนอายุยังน้อย จึงทำให้เกิดอาการต้อกระจก และหากมีอาการหนักมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาจากแพทย์ ซึ่งวิธีการรักษาวิธีการเดียวในปัจจุบันที่ทำได้ ก็คือ การผ่าตัด

    การผ่าตัดต้อกระจก จะมีวิธีการผ่าตัดทั้งแบบรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว โดยหากเป็นการผ่าตัดแบบรู้สึกตัว แพทย์ก็จะใช้ยาชาบริเวณรอบดวงตา หยดยาเพื่อเปิดม่านตาและล้างทำความสะอาดบริเวณโดยรอบ ก่อนจะนำเอาเลนส์แก้วตาที่มัวออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทนที่แก้วตาเดิม ซึ่งการผ่าตัดต้อกระจกโดยมากจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง จากนั้นผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องพักที่โรงพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่าการผ่าตัดต้อกระจกนั้น ตรงกับเงื่อนไขการรับประกันในหมวด Day Surgery ที่เป็นการผ่าตัดโดยไม่ต้องเข้าพักรักษาเป็นผู้ป่วยใน และสามารถเบิกประกันสุขภาพแบบ IPDได้ เสมือนรักษาแบบนอนรพ.เลย

    ทั้งนี้การเบิกประกันสุขภาพ IPD ในหมวด Day Surgery ยังรวมไปถึงการรักษาโรคอื่น ๆ ที่มีวิธีการรักษาตรงกับนิยามการรักษาในหมวดการผ่าตัดใหญ่โดยไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในรพ.ตามที่เคยกล่าวไว้ข้างต้นด้วย อย่างเช่น การตรวจและการผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้องทุกชนิด ก็สามารถเบิกประกันได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากมีการรักษาโรคด้วยวิธีการอื่นที่นอกเหนือไปจากคำนิยามหมวด Day Surgery ที่ระบุเป็นเงื่อนไขไว้ จะไม่สามารถเบิกประกันแบบ IPDได้ ก็จะต้องไปเบิกประกันสุขภาพในหมวดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือไปเบิกประกันแบบ OPD (ผู้ป่วยนอก) แทนนั่นเอง

    ดังนั้น จึงควรมีประกันสุขภาพแบบOPD หรือผู้ป่วยนอกเพื่อความอุ่นใจ ไว้อย่างน้อย 1 เล่ม เนื่องจากหากเกิดกรณีที่ไม่เข้าข่ายการเคลมประกันสุขภาพแบบIPD ก็จะได้สามารถใช้ประกันสุขภาพแบบOPDเคลมได้

    เบิกประกันชดเชยรายได้ร่วมได้ด้วย แม้จะไม่ได้นอนรพ.ก็ตาม!

    นอกจากผลประโยชน์ความคุ้มครองในหมวดการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแล้ว ก็ยังสามารถเบิกประกันชดเชยรายได้ร่วมได้ด้วย โดยคปภ.ได้มีการกำหนดการรักษาแบบ Day Surgery ทั้งหมด 18 กรณี จาก 21 กรณี ที่จะสามารถเบิกประกันแบบชดเชยรายได้ร่วมด้วย 1 วัน อย่างเคสการผ่าตัดต้อกระจก หรือการผ่าตัดโดยการส่องกล้องทุกชนิด ก็สามารถที่จะเบิกประกันชดเชยรายได้ร่วมด้วยได้สบายๆ เนื่องจากคปภ.เห็นว่า หลังจากการรักษาผู้ป่วยจำเป็นจะต้องพักฟื้นที่บ้านต่อนั่นเอง โดยกรณีที่จะไม่สามารถเบิกประกันชดเชยรายได้ร่วมด้วยได้ มีเพียง 3 กรณี ได้แก่

    1. การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก 
    2. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใดๆ
    3. การจัดกระดูกให้เข้าที่

    ซึ่งก็จะเป็นเคสที่แพทย์ประเมินว่าเป็นลักษณะการผ่าตัดเล็ก ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องพักฟื้นนั่นเอง

    การเบิกประกันชดเชยรายได้นั้น ก็จะสามารถเบิกได้ตามจำนวนที่ตกลงตอนซื้อประกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกันแบบชดเชยรายได้ก็จะสามารถเลือกซื้อการชดเชยรายได้ได้ตั้งแต่หลักร้อยบาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาท และเราจะสามารถซื้อการชดเชยรายได้ได้เท่าไหร่ ก็จะขึ้นอยู่รายได้จริงต่อปีของเรา ซึ่งสามารถคำนวณได้โดย นำจำนวนรายได้ต่อปีหาร 12 เดือน จากนั้นนำมาหารด้วย 22 (จำนวนวันทำงานต่อเดือน) ตัวอย่างเช่น รายได้ต่อปี 600,000 บาท นำ 600,000 หาร 12 =50,000 บาท นำ 50,000 หาร 22 = 2,273 แสดงว่าจะสามารถซื้อประกันชดเชยรายได้ ได้จำนวนไม่เกิน 2,273 บาทต่อวัน เป็นต้น

    น้องแคร์ขอสรุปว่า หากเรามีประกันสุขภาพทั้งแบบ IPD และแบบ OPD ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราสบายใจในการเข้ารับการรักษาเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโรคริดสีดวง โรคต้อกระจก หรือโรคอะไรก็ตาม หากเรามีประกันสุขภาพที่เพียงพอ หากการเจ็บป่วยของเราเป็นไปตามเงื่อนไขการประกัน ก็จะสามารถเบิกประกันได้ทุกกรณีแน่นอน นอกจากการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐแล้ว การมีประกันสุขภาพที่ให้ผลประโยชน์ความคุ้มครองเราเพียงพอก็ถือเป็นลาภอันประเสริฐยิ่งกว่า และที่แรบบิท แคร์ เราก็ได้คัดสรรประกันสุขภาพทั้งแบบ IPD และ OPD จากบริษัทประกันชั้นนำ รวบรวมไว้ให้คุณได้เลือกครบในที่เดียวแล้ว มาพร้อมบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพที่ช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกประกันที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์คุณมากที่สุดอีกด้วย ลาภดี ๆ แบบนี้ไม่ต้องไปหาที่เจ้าแม่ไหน มาที่แรบบิท แคร์ รับรองว่ามีลาภดี ๆ พร้อมเสิร์ฟให้ไม่แพ้เจ้าแม่แน่นอน!


    บทความแคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    เคล็ด (ไม่) ลับ 5 สเต็ป วิธีเลิกบุหรี่แบบเห็นผล ไม่ต้องหักดิบ

    รู้ทั้งรู้ว่าการสูบบุหรี่ทำร้ายร่างกายขนาดไหน แต่ก็ยังสูบ! เพราะบุหรี่ เป็นหนึ่งในสารเสพติดที่มีการใช้มากที่สุด
    Nok Srihong
    10/08/2023

    แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    ปวดท้องเมนส์-ปวดท้องประจำเดือน เสี่ยงเป็นอะไร แบบไหนที่ควรพบแพทย์?

    ปวดท้องเมนส์ หรือ ปวดท้องประจำเดือน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิงในช่วงเวลามีประจำเดือน
    Nok Srihong
    08/05/2023

    แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    ทำประกันต้องตรวจสุขภาพก่อนหรือไม่? ตรวจอะไรบ้าง? ใช้สิทธิ์ตรวจสุขภาพประกันสังคมได้หรือไม่?

    ยังคงเป็นคำถามคาใจของใครหลาย ๆ คน อยู่ไม่น้อย สำหรับการขอทำประกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ
    Nok Srihong
    31/10/2022