แคร์การลงทุน

ค่าธรรมเนียมของ 5 แพลตฟอร์มดัง ถ้าอยากลงขาย ต้องจ่ายอะไรบ้าง

ผู้เขียน : Thirakan T

ผ่านเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานในฐานะ SEO Content Specialist กว่า 4 ปี ที่เว็บไซต์ e-commerce ที่เติบโตภายใต้บริษัท Ascend Corporation ได้มีส่วนร่วมสำคัญในสร้างกลยุทธ์เนื้อหาบนเว็บไซต์เพื่อทำให้การช้อปปิ้งเป็นไปอย่างราบรื่นสำหรับนักอ่าน

close
Published January 24, 2022

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

วังวนการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นสาเหตุหลักให้พ่อค้าแม่ขายหาวิธีการขายสินค้าจากหน้าร้านสู่ร้านค้าออนไลน์หรือที่เรียกว่า ‘e-Marketplace’ และผลลัพธ์คือสามารถมองเห็นโอกาสธุรกิจได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการขายของผ่านร้านค้าดังอย่าง Shopee กับ Lazada ซึ่งมีข้อดีคือสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย

ในทางกลับกัน การวางขายสินค้าออนไลน์ของแต่ละแพลตฟอร์มจะมีค่าธรรมเนียม (Fee) ที่แตกต่างกัน ซึ่ง iPrice Group แหล่งช้อปปิ้งเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ขอแนะนำ 5 แพลตฟอร์มยอดนิยมโดยการจัดอันข้อมูลจาก Map of E-commerce (สงครามอีคอมเมิร์ซ) ว่าผู้ขายออนไลน์ควรจ่ายค่าอะไรบ้าง  

1. Shopee 

นาทีนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก Shopee หนึ่งในแพลตฟอร์ม E-Commerce ดังจากประเทศสิงคโปร์ ที่ครองใจนักช้อปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย แถมยังเป็นแพลตฟอร์มอันดับต้น ๆ ที่ผู้ขายนิยมเลือกใช้ เนื่องด้วยรูปแบบเว็บไซต์กับแอพลิเคชั่นเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย มีระบบชำระเงินที่น่าเชื่อถือหลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อได้มากขึ้น

โดยบนแพลตฟอร์ม Shopee จะมีค่าธรรมเนียมหลัก ๆ 3 อย่างคือ

หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมจะเรียกเก็บจากผู้ขายสำหรับสินค้าที่ซื้อสำเร็จ (รวมยอดชำระสุทธิ, ค่าส่ง และส่วนลด) ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในทุกช่องทางการชำระเงินคิดเป็น 3-5% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และเงื่อนไขอื่น ๆ

2. Lazada 

ร้านค้ายอดนิยมถัดมาคือ Lazada ที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่ปี 2013 จุดเด่นคือมีฐานลูกค้าแน่นหนาจากการเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างชาติที่เข้ามาทำกระแสตลาดซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยให้บูมขึ้นมา โดยลาซาด้ามีหมวดหมู่สินค้าที่น่าสนใจมากมายให้เลือกช้อป และระบบต่าง ๆ มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงช่องทางการชำระเงินที่ครบครันไม่แพ้ร้านค้าดังเจ้าอื่น ๆ

พ่อค้าแม่ขายที่สนใจลงสินค้ากับ Lazada รายละเอียดค่าธรรมเนียมจะมีดังนี้

หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมจะเรียกเก็บจากผู้ขายสำหรับสินค้าที่ซื้อสำเร็จ (รวมยอดชำระสุทธิ, ค่าส่ง และส่วนลด) ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในทุกช่องทางการชำระเงินคิดเป็น 3-5% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และเงื่อนไขอื่น ๆ

3. JD Central 

E-Commerce จากสองยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการค้าปลีกอย่างบริษัท เซ็นทรัลกรุ๊ป จำกัด และบริษัทธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากแดนมังกร จับมือรีแบรนด์ดิ้งเป็นชื่อใหม่ ‘JD Central’ ถือว่าปีนี้อายุครบได้สามปีแล้ว จุดเด่นของร้านค้าคือ ช้อปของดี การันตีของแท้จากเหล่าขบวนสินค้าปลีกที่มีหน้าร้านจริง ๆ และมั่นใจได้ว่าไม่มีของปลอมคุณภาพแย่แน่นอน

ในส่วนการลงขายของจะมีค่าธรรมที่ต้องจ่ายตามนี้

หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมจะเรียกเก็บจากผู้ขายสำหรับสินค้าที่ซื้อสำเร็จ (รวมยอดชำระสุทธิ, ค่าส่ง และส่วนลด) ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในทุกช่องทางการชำระเงินยังไม่รวม Vat 7% ซึ่งเปอร์เซ็นต์ (ค่าคอมมิชชั่น) ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และเงื่อนไขอื่น ๆ

การขายของบน JD Central ส่วนมากมักจะเป็นร้านค้าที่มีบริษัทหรือแบรนด์เป็นของตัวเอง เนื่องจากว่าต้องตรวจสอบถึงสินค้า และข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อความมั่นใจถึงคุณภาพ   

4. Tarad.com (ตลาดดอทคอม) 

ตลาดดอทคอมนับว่าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแรกของคนไทยที่รวมอายุก่อตั้งเกือบ 20 ปี เปิดบริการแก่ผู้ค้ารายใหญ่ และย่อยในการขยายธุรกิจสู่โลกออนไลน์ และพัฒนามาเรื่อย ๆ จนมีผู้ใช้งานมากกว่า 2 ล้านราย มีสินค้าไม่ต่ำกว่า 3 ล้านรายการ โดยมีบริการเครื่องมือเว็บไซต์สำเร็จรูป ออกแบบร้านค้าด้วยตัวเองง่าย ๆ รวมถึงมีบริการช่วยทำตลาดออนไลน์สำหรับมือใหม่ โดยสามารถเลือกแพ็คเกจดังนี้

หมายเหตุ: ราคามีการจัดโปรโมชั่น โดยส่วนลดขึ้นอยู่แต่ละแพ็คเกจที่เลือก

จะเห็นได้ว่าแพ็คเกจมีให้เลือกหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับทางผู้ขายว่าจะเพิ่มออฟชั่นให้เหมาะสมกับสินค้าของตัวเองอย่างเหมาะสม

5. We Love Shopping 

อีกหนึ่งเว็บไซต์ครองใจนักช้อปชาวไทยที่เปิดบริการมานานกว่า 10 ปี ผู้ค้าส่วนมากคือคนไทยกว่า 4 หมื่นร้านค้า ไม่มีการตัดราคาสินค้าจากต่างประเทศแน่นอน และอัตราการเติบโตที่รวดเร็วโดยมีพื้นที่ครอบคลุมบริการครบทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่นด้วยระบบชำระเงิน WeTrust Guarantee จ่ายได้จริง รับสินค้าแน่นอน  จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นอีกแพลตฟอร์มที่ผู้ซื้อ และขายออนไลน์ไม่ควรมองข้าม  

โดยค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มมีดังนี้

หมายเหตุ: โดยค่าธรรมเนียมจะเรียกเก็บจากผู้ขายสำหรับสินค้าที่ซื้อสำเร็จ (รวมยอดชำระสุทธิ, ค่าส่ง และส่วนลด) ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในทุกช่องทางการชำระเงิน ซึ่งยังไม่รวม Vat 7%

มากไปกว่านั้น ยังมีในส่วนค่าปรับที่ผู้ขายจะต้องคำนึงถึงในกรณีดังนี้ 

ผู้ค้าที่อยากลองปรับการขายบนโลกออนไลน์ ควรศึกษาเตรียมพร้อมไว้ยุค ‘New Normal’ เนื่องจากฐานลูกค้าในทุกวัยต่างเริ่มหันมาใช้ระบบออนไลน์เกือบทั้งหมด และไม่ต้องกังวลว่าจะยากเกินตัว เพราะหลาย ๆ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา สำหรับมือใหม่ รวมถึงบริการที่ครอบคลุมเพื่อช่วยการขายที่ง่ายขึ้น แม้จะเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น แต่ก็ถือว่าแฟร์ ๆ เรามีร้านขายสินค้า ส่วนทางแพลตฟอร์มมีเงินทุนพัฒนาระบบต่อไป 

ผู้เขียน อัดนาน ปูตีลา 

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ


 

บทความแคร์การลงทุน

แคร์การลงทุน

Forex คืออะไร ? สามารถสร้างกำไรมหาศาลได้จริงหรือไม่ ? ทำไมเซเลปหลายคนถึงโดนคดี ?

Forex หนึ่งในการเทรดหรือการลงทุนท่ามกลางกระแสการลงทุนมากมายในยุคปัจจุบันที่มีประเด็นร้อนแรงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
กองบรรณาธิการ
11/01/2024

แคร์การลงทุน

ขายปลีก-ขายส่ง ต่างกันอย่างไร ? ธุรกิจไหนเหมาะกับใคร สิ่งที่ต้องตัดสินใจก่อนลงทุน!

นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาธุรกิจการขายส่งและปลีกในประเทศไทยนั้น
กองบรรณาธิการ
08/01/2024

แคร์การลงทุน

นำเข้าสินค้าจากจีน กำไรดีหรือไม่ ควรเริ่มอย่างไร แบบไหนไม่เสี่ยงขาดทุน ?

ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อเข้ามาขายก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
กองบรรณาธิการ
04/01/2024