แคร์เรื่องประกันยานยนต์

มีเฮกับเมษายนนี้ เมื่อ คปภ. เพิ่มความคุ้มครอง พ.ร.บ. และประกันรถยนต์

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด ผู้พยายามเข้าใจมักเกิ้ล นิยมชมชอบกลางคืน สามารถผูกมิตรได้ด้วยของกินอร่อยๆ ตอนนี้กำลังหลบลี้หนีภัยจากออฟฟิศซินโดรมอยู่

close
Published March 13, 2020

ถึงแม้ว่าหลายจังหวัดอาจจะยกเลิกงานเทศกาลสงกรานต์ไปแล้ว แต่วันหยุดยาวยังไม่ถูกยกเลิก หลายคนจึงยังเลือกที่จะเดินทางกลับบ้านเกิดของตัวเอง และแน่นอนว่าอุบัติเหตุยังเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ และในปี 2563 นี้ ทาง คปภ. จึงได้เพิ่มความคุ้มครองประกันภัยสำหรับเดือนเมษายน ว่าแต่คุ้มครองอะไรเพิ่มบ้าง ตามมาดูกันเลยดีกว่า

เมษายนนี้! คปภ. เพิ่มความคุ้มครองอุบัติเหตุรถยนต์

เช็กความคุ้มครองประจำปี 2563

สำหรับ ปี 2563 นี้ ทางสมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมกับ สำนักงาน คปภ. ได้หารือกันเพื่อยกระดับมาตรฐานการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และกำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยปรับเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. โดยไม่ขึ้นค่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งมีรายละเอียดการปรับเพิ่มค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งสองประเภทเดิมไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท รวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท กล่าวคือ การประกันภัยภาคบังคับกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ จากเดิม 300,000 บาท จะปรับเพิ่มเป็น 500,000 บาท 
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ จากเดิม 200,00 – 300,000 บาท เป็น 200,000 –  500,000 บาท และกรณีที่ต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียมให้ถือว่าเป็นการสูญเสียอวัยวะอื่นใดให้ได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท และมีความคุ้มครองสูงสุดที่ 250,000 บาท  

ส่วนการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ค่าสินไหมทดแทนขั้นต่ำจากเดิม 300,000 ก็จะเพิ่มเป็น 500,000 บาท กรณีที่มีจำนวนเอาประกันภัยระหว่าง 500,000 – 2,000,000 บาท หากบุคคลภายนอกเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร กรมธรรม์กำหนดให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัย  สำหรับในส่วนที่เกิน 2,000,000 บาท ต่อราย 

ข้อกำหนดทั้งหมดนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

สำหรับการปรับเพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจในครั้งนี้ ครอบคลุมไปถึงการเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร และใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 

ได้ประโยชน์ยังไง เราควรเฮไหม?

สำหรับการยกระดับความคุ้มครองในครั้งนี้ จะช่วยลดข้อโต้แย้งระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เสียหายลงได้  เพราะในอดีตมีการร้องเรียกว่า ค่าสินไหมทดแทนในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น 

แต่ด้วยการเพิ่มความคุ้มครองโดยไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกัน หลายฝ่ายก็คาดการณ์ไว้ว่าอาจทำให้บริษัทประกันภัยต้องแบกรับภาระต้นทุนความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินกว่า 2,700 ล้านบาท เพื่อแลกกับความคุ้มครองที่กำลังจะเพิ่มขึ้น 

ซึ่งการปรับค่าสินไหมทดแทนไม่เพียงแต่ประชาชนจะได้ประโยชน์ในเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าชดเชยเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความคุ้มครอง และกำกับเบี้ยประกันภัยให้ถูกลง รวมไปถึงการได้รับความเป็นธรรมมากขึ้นด้วย

สิ่งสำคัญก่อนการเดินทาง นอกจากเช็กสภาพรถให้ดี ขับขี่อย่างระมัดระวังแล้ว ทาง คปภ. ก็ขอให้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย และวันหมดอายุของการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก่อนออกเดินทางเสมอ เพื่อความไม่ประมาท ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1168

และไม่เพียงแต่ตัว พรบ. เท่านั้นที่ควรตรวจสอบก่อนการเดินทาง ประกันภัยภาคสมัครใจของเราเอง ก็ควรตรวจเช็กวันหมดอายุ และทำการต่ออายุก่อนการเดินทางไกล หรือในช่วงเทศกาลที่ใกล้จะถึงนี้เช่นกัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ระวังเอาไว้ก็ไม่เสียหาย ใครที่มองหาประกันรถยนต์ ต้องนี่เลย ประกันรถยนต์ จาก Rabbit Care ที่มีกรมธรรม์ดี ๆ ให้คุณได้เลือกเปรียบเทียบ พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ คลิกเลย! 

ขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.oic.or.th/


 

บทความแคร์เรื่องประกันยานยนต์

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

หมากัดรถทำยังไงดี? สามารถเคลมประกันได้หรือไม่

เห็นคำว่าหมากัดรถหลายคนอาจจะยังจินตนาการได้ไม่ออก ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกิดขึ้นมาเพราะอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมีโอกาสขึ้นสูงมาก
กองบรรณาธิการ
25/03/2024

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ขั้นตอนการฟ้องคดีรถชนพร้อมกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ. จราจรที่ต้องรู้

เมื่อเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน ฝั่งผู้กระทำผิดปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับผิด หรือค่าสินไหมทดแทนไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
กองบรรณาธิการ
18/03/2024

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ขับรถชนบ้านคนอื่น เคลมประกันได้ไหม?เรียกร้องอะไรได้บ้าง?

การขับรถชนทรัพย์สินของผู้อื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ อาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้หลายคนอาจสงสัยว่าขับรถชนบ้าน
กองบรรณาธิการ
18/03/2024