แคร์สุขภาพ

เปิดค่าใช้จ่าย! ค่าจัดงานศพธรรมดา vs. โควิด-19 ต้องใช้เงินเท่าไร?

ผู้เขียน : Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care

close
Published February 15, 2022

ค่าใช้จ่ายสุดท้ายของชีวิต หรือ ‘ค่าใช้จ่ายจัดงานศพ’ เริ่มถูกนำมาคิดและวางแผนมากขึ้น ในวันที่ตัวเองและพ่อแม่อายุมากขึ้น รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่สร้างความสูญเสียแก่คนรอบข้างอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง แต่ค่าใช้จ่ายในงานฌาปนกิจศพมีรายละเอียดยิบย่อย และอาจเริ่มต้นตั้งแต่หลักหลายหมื่นไปจนถึงแสน! แรบบิท แคร์ รวบรวมค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอนการจัดการศพที่ประกันชีวิตจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    1. ค่าจัดการงานศพทั่วไป

    1.1 การแจ้งการเสียชีวิต

    ค่าธรรมเนียมจัดทำเอกสารมรณบัตรที่อำเภอ หรือสำนักเขต 200 บาท

    1.2 การเคลื่อนย้ายศพไปที่วัด และ อาบน้ำศพ

    ในขั้นตอนการเตรียมเคลื่อนย้ายศพ โรงพยาบาลจะบริการอาบน้ำและแต่งตัวให้ร่างผู้เสียชีวิต พร้อมฉีดฟอร์มาลีนเพื่อรักษาสภาพศพ ซึ่งค่าฉีดฟอร์มาร์ลีนจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณยาที่ใช้ฉีด หากเป็นศพติดเชื้อ หรือประสบอุบัติเหตุจะมีค่าบริการในส่วนนี้เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีค่าบริการเพิ่มเติมกรณีฝากร่างผู้เสียชีวิตไว้กับโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายในขั้นตอนเตรียมเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิต ดังนี้

    • ค่าบริการอาบน้ำ แต่งตัวศพ 300-500 บาท
    • ค่าฉีดฟอร์มาลีน 900 บาท
    • ค่าฝากร่างผู้เสียชีวิต 300-1,500 ต่อวัน
    • ค่ารถเคลื่อนย้ายศพ 2,500 บาท

    1.3 พิธีรดน้ำศพและพิธีสวดอภิธรรมศพ

    พิธีรดน้ำศพจะเป็นพิธีภายในครอบครัวและผู้ใกล้ชิดกับผู้เสียชีวิต โดยสมาชิกในครอบครัวจะทำหน้าที่อาบน้ำศพให้สะอาด และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสะอาด หลังจากนั้นจะนำร่างผู้เสียชีวิตขึ้นนอนบนเพียงเพื่อรอการรดนำศพต่อไป ในขณะที่พิธีสวดอภิธรรมศพ หรือ “สวดหน้าศพ” คืองานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต จัดในวันตั้งศพเป็นวันแรกและสวดประจำทุกคืน ตั้งแต่ 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน หรือ 7 คืน จนกว่าจะถึงวันฌาปนกิจศพ มีรายการค่าใช้จ่ายดังนี้

    • ค่าโลงศพ 3,000-200,000 บาท
    • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 3,500-5,000 บาท ต่อคืน
    • ค่าของถวายพระสงฆ์ (ดอกไม้ ผ้าสงบ เครื่องไทยธรรม น้ำปานะ) 5,000 บาท
    • ค่าเช่าศาลา 500-15,000 บาท ต่อคืน

    1.4 พิธีฌาปนกิจศพ

    พิธีฌาปนกิจ คือ พิธีการเผาร่างผู้เสียชีวิตซึ่งจะรวมถึงพิธีการสวดมาติกาบังสุกุล เคลื่อนศพไปสู่เมรุ การแห่ศพเวียนเมรุ และการทอดผ้าบังสุกุล

    • ค่าศาลาเมรุ 2,500-3,000 บาท
    • ค่าดอกไม้จันทน์ดอกเล็ก (ช่อเล็ก) 150-200 บาท
    • ค่าดอกไม้จันทน์ดอกใหญ่ (ช่อประธาน) 30-100 บาท
    • ค่าของชำร่วย 4,000-6,000 บาท
    • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 3,000-5,000 บาท
    • ค่าสินน้ำใจเจ้าหน้าที่ 5,000 บาท
    • ค่าบำรุงเมรุ และค่าบำรุงน้ำมันเผา 2,500-5,000 บาท

    1.5 พิธีลอยอังคาร

    พิธีลอยพระอังคาร คือ การนำอัฐิและเถ้าถ่านของศพที่เผาแล้วไปลอยในแม่น้ำหรือทะเลตามความเชื่อที่ว่าจะเป็นส่งดวงวิญญาณไปภพภูมิที่ดี ทั้งนี้ อาจเลือกเก็บอัฐิของผู้เสียชีวิตไว้ที่บ้าน หรือที่วัดตามความเชื่อของแต่ละครอบครัว มีค่าใช้จ่ายในพิธีลอยอังคารดังนี้

    • ค่าเรือ พร้อมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในพิธี หรือค่าเก็บอัฐิ ค่าโกศ ค่าผ้าขาวห่อลุ้งอังคาร ค่าดอกไม้ 2,500-10,000 บาท

    2. ค่าจัดการงานศพในช่วงโควิด

    รัฐบาลได้ประกาศเจตนารมย์ “ทุกวัดเผาศพโควิดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย” เพื่อรองรับสถานการณ์จำนวนผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นและให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สำหรับครอบครัวที่ขาดแคลน โดยให้สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดทำเรื่องเบิกจ่ายมายังสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนค่าใช้จ่ายในการฌาปนกิจศพของผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19

    โดยได้มีการรวบรวมรวมชื่อวัดที่รับสงเคราะห์ฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวโวรัสโคโรน่า 2019 โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในทุกกรณี แบ่งเป็นวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 62 วัด วัดในจังหวัดปริมณฑล จำนวน 124 วัด และวัดในส่วนภูมิภาค จำนวน 407 วัด รวมทั้งสิ้น 593 วัด สอบถามได้ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือติดต่อโทรศัพท์ 0-2441-7988 ต่อ 92 หรือ 0-2441-7998 ต่อ 99 สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    อย่างไรก็ตาม ต้องติดต่อกับทางวัดก่อนเคลื่อนย้ายศพไปที่วัด เนื่องจากการจัดการศพสำหรับผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องปฏิบัติตามแนวทางการจัดการศพผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ทำให้อาจต้องลดขั้นตอนเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัด และป้องกันการเเพร่ระบาดของ เชื้อ ดังนี้

    2.1 การเตรียมเคลื่อนย้ายศพ

    กรณีเสียชีวิตในโรงพยาบาล จะบรรจุศพผู้เสียชีวิตในถุงบรรจุศพและทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายนอกถุงบรรจุศพตามมาตรฐาน โดยแพทย์ที่ทำการรักษาจะออกหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) ระบุสาเหตุการตายว่า “เป็นการตายด้วยโรคโควิด-19”

    กรณีเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล จะนำศพใส่ถุงบรรจุศพตามมาตรฐานแล้วให้ติดต่อพนักงานสาธารณสุขใกล้บ้านหรือพนักงานควบคุมโรคติดต่อของโรงพยาบาล โดยให้แพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และตำรวจชันสูตรพลิกศพ บันทึกสภาพศพ และหลักฐานต่างๆ เพื่อออกหนังสือรับรองการตาย (ทร.4)

    2.2 การเคลื่อนย้ายศพเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา

    กรณีมีความพร้อม สามารถประสานงานวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเคลื่อนย้ายศพ (อาสาสมัคร กู้ภัย หรือมูลนิธิ) หลังจากที่รับทราบวิธีปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เเละมีใบมรณบัตรเรียบร้อยแล้ว

    กรณีไม่มีความพร้อม ติดโควิดทั้งครอบครัว หรือเป็นศพไม่มีญาติ ให้แจ้งโรงพยาบาลเพื่อประสานกับทางวัดที่รับฌาปนกิจผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากความร่วมมือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการขนย้ายศพ และประกอบพิธีฌาปนกิจศพต่อไป

    2.3 การจัดพิธีทางศาสนา

    เมื่อเคลื่อนย้ายศพมาถึงบริเวณวัดแล้ว ห้ามเปิดถุงบรรุจศพเพื่ออาบน้ำ แต่งหน้า หรือฉีดยาศพโดยเด็ดขาดโดยให้ใช้การโยงสายวิญจน์แทนการรดน้ำศพ โดยเจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสกับศพต้องสวมถุงมือยาง หน้ากากอนามัยและผ้าคลุมกันเปื้อนแบบใช้ครั้งเดียวแล้วกัน โดยไม่ต้องใส่ชุด PPE เพราะถุงศพได้ผ่านการบรรจุอย่างถูกวิธีแล้ว โดยต้องใช้เตาเผาศพเท่านั้น หลีกเลี่ยงการเผากลางแจ้ง และไม่เปิดประตูเผาศพในระหว่างเผา และควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน

    แม้ว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทางภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือพิธีเผาศพให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ไม่พร้อมทั้งด้านการเงินในการจัดพิธี และความไม่พร้อมในด้านสุขภาพที่อาจติดเชื้อโควิดและอยู่ในระหว่างรักษาตัวเช่นกัน แต่สำหรับการเสียชีวิตทั่วไป อาจต้องมีค่าใช้จ่ายไม่มากก็น้อยในพิธีฌาปนกิจตามแต่ละกำลังและทุนทรัพย์ของแต่ละครอบครัว

    การทำประกันชีวิตจะช่วยเป็น ‘ค่าใช้จ่ายสุดท้ายของชีวิต’ ให้กับทั้งตัวเอง หรือพ่อแม่ในยามที่จากไป ช่วยแบ่งเบา ‘ภาระทางการเงิน’ แก่ลูกหลานในการจัดการงานศพ เลือกทำได้ทั้งประกันชีวิตตลอดชีพแบบทั่วไปที่เบี้ยคงที่ และเบี้ยถูกเมื่อทำตั้งแต่อายุยังน้อยสำหรับรุ่นลูก

    หรือประกันชีวิตผู้สูงอายุเบี้ยพิเศษที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพสำหรับรุ่นพ่อแม่ รวมถึงระหว่างที่ยังไม่เสียชีวิต สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตลอดอายุกรมธรรม์ เบี้ยหลักหมื่น ความคุ้มครองเสียชีวิตหลักแสนถึงล้าน เพียงพอต่อการจัดการงานศพอย่างแน่นอน

    แรบบิท แคร์ ขอร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลังใจพร้อมส่งมอบความแคร์ผ่านบริการเปรียบเทียบประกันออนไลน์เพื่อให้คุณได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตัวคุณและคนที่คุณรัก ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรงจากทุกบริษัทชั้นนำ พร้อมสิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้า แรบบิท แคร์ เท่านั้น สอบถามได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย!

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    ค่าใช้จ่ายจัดงานศพทั้งหมดขึ้นอยู่กับบริการที่เลือกและขนาดงานศพ แต่รวมกันแล้วอาจจะเป็นจำนวนมาก ยิ่งจำนวนวันที่จัดมากเท่าไหร่ค่าใช้จ่ายย่อมมากตาม กรณีที่จัด 7 วันเต็ม ค่าใช้จ่ายจัดงานศพจะอยู่ในช่วง 50,000 – 400,000 บาท ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ข้างต้น

    จบสรุปบทความ

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

    โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
    Nok Srihong
    11/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

    เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้
    Nok Srihong
    11/04/2024