ตะลอนเปย์

สายช้อปเตรียมจด! ซื้อของจากต่างประเทศอย่างไร ไม่ให้เสียภาษีนำเข้า

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published July 25, 2022

ไปเที่ยวเมืองนอกทั้งทีก็ต้องช้อปปิ้งหิ้วของเข้าประเทศไทยกันใช่ไหมล่ะ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา โทรศัพท์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่างก็เป็นของยอดฮิตที่ใครไปเมืองนอกก็ต้องซื้อกลับมากันทั้งนั้น ส่วนจะหิ้วนำกลับมาใช้เองหรือเป็นของฝากก็แล้วแต่ตามต้องการของคุณ แต่สิ่งที่สายช้อปต้องระวังที่สุดก็คือการเสียภาษีนำเข้าที่ด่านศุลกากรนั่นเอง เพราะถ้าคุณซื้อของจากต่างประเทศโดยผิดกฎที่กรมศุลกากรตั้งไว้คุณอาจต้องจ่ายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม ซึ่งรวม ๆ แล้วอาจจะต้องจ่ายแพงกว่าซื้อตาม shop ที่บ้านเราเสียอีก 

อย่างที่เราเห็นกันในข่าวว่ามีหลายเคสที่หิ้วของกลับแล้วโดนเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจและต้องภาษีนำเข้าเพิ่ม ซึ่งหลายคนก็งงว่าหิ้วของกลับไทยแบบไหนถึงไม่โดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า ทำไมบางคนซื้อของจากต่างประเทศแล้วโดนเรียกเก็บภาษีทั้งที่เป็นของประเภทเดียวกัน หรือบางทีก็มีกรณีที่โดนเรียกเก็บภาษีทั้ง ๆ ที่เป็นของใช้ส่วนตัว น้องแคร์เลยขออาสามาอธิบายให้ทราบกันเพื่อให้สายช้อปทุกท่านวางแผนซื้อของได้อย่างสบายใจไม่โดนภาษี

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน

ทำความเข้าใจกันก่อน ภาษีนำเข้าคืออะไร?

ภาษีนำเข้าคือเงินภาษีที่ทางภาครัฐเรียกเก็บโดยกรมศุลกากรเมื่อมีการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาประเทศ ซึ่งอัตราการเก็บภาษีนำเข้าจะขึ้นกับประเภทของสินค้านั้น ๆ ตามประกาศของกรมศุลกากร 

สำหรับกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศและช้อปปิ้งซื้อของจากต่างประเทศกลับเข้ามาตามไฟท์บินต่าง ๆ หากสินค้าดังกล่าวเข้าข่ายต้องเสียภาษีนำเข้า คุณก็ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องตรวจสีแดง ส่วนใครที่ไม่ได้ซื้อของกลับมาหรือของที่ซื้อไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีนำเข้า ก็สามารถเดินเข้าช่องสีเขียวได้เลย ซึ่งหลักการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่นั้นจะเป็นการสุ่มตรวจ ถ้าใครหิ้วของมาขายเยอะ ๆ แล้วคิดจะเนียนเข้าช่องเขียวไปกับคนหมู่มาก หากโดนแจ็คพอตโดนสุ่มตรวจขึ้นมาบอกเลยว่าโดนทั้งภาษีโดนทั้งค่าปรับและอาจถูกจับติดคุกได้เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้เราจึงแนะนำว่าหากหิ้วของเข้าไทยและมีเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ให้เดินเข้าช่องแดงแสดงกับเจ้าหน้าที่ไปเลยดีกว่า

หิ้วของเข้าไทยแบบไหนต้องเสียภาษีนำเข้า?

มาถึงประเด็นที่หลายคนอยากรู้กันแล้วว่าซื้อของจากต่างประเทศกลับเข้าไทยแบบไหนถึงเสียภาษีนำเข้า ซึ่งทางกรมศุลกากรก็ได้มีการประกาศไว้ให้ได้ทราบดังนี้

1. ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 20,000 บาท ไม่ว่าจะใช้เอง ซื้อมาขาย หรือซื้อมาฝาก

ยกตัวอย่างแรก : หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ แล้วซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมราคา 10,000 บาท ซื้อนาฬิการาคา 5,000 ซื้อเสื้อผ้าราคา 3,000 บาท ซื้อรองเท้าราคา 8,000 บาท รวมแล้วมีราคารวม 26,000 บาท คุณต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องเสียภาษีนำเข้า

ตัวอย่างที่สอง : หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ แล้วซื้อโทรศัพท์ Iphone มาราคา 30,000 คุณต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องเสียภาษีนำเข้า

ตัวอย่างที่สาม : หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ แล้วซื้อรองเท้ามูลค่า 8,000 บาท มา 1 คู่ และไม่มีสินค้าอื่น ๆ ที่ซื้อมา คุณไม่ต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องเสียภาษีนำเข้า

2. สิ่งของที่ที่มีลักษณะทางการค้า ต้องเสียภาษีนำเข้าแม้มีราคารวมไม่ถึง 20,000 บาท ซึ่งของที่มีลักษณะทางการค้านั้นดูแล้วเป็นคำที่ค่อนข้างคลุมเครือแต่เท่าที่หาข้อมูลมาได้คือจะเป็นพวกของที่ซื้อเยอะ ๆ เช่นพวกของ unlimited หรือของพรีออเดอร์ ที่ดูแล้วจงใจนำมาขายต่อแน่นอน โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่าสิ่งของที่คุณซื้อมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าเอากำไรหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น : ซื้อหูฟังติดกระเป๋ากลับมา 10 แพ็ก หรือซื้อโมเดลรุ่น unlimited กลับมา เป็นต้น

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทรวมปริมาณเกิน 1 ลิตร 

ยกตัวอย่าง : หากไปประเทศญี่ปุ่นแล้วซื้อสาเกกลับมา 500 มิลลิลิตร และซื้อเบียร์กลับมา 750 มิลลิลิตร ก็ต้องสำแดงเพื่อเสียภาษี เป็นต้น

4. บุหรี่จำนวนเกิน 200 มวน  หรือซิการ์ที่มีปริมาณเกิน 250 กรัม

ยกตัวอย่าง : ซื้อบุหรี่จากประเทศอิตาลี่มาจำนวน 300 มวน ก็ต้องเสวียภาษี

5. สิ่งของจำกัดที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าประเทศ

ยกตัวอย่าง :  ยา อาหารเสริม สัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง อาวุธปืน พืช โดรน 

จากเนื้อหาประกาศพิธีการศุลกากรนั้น หลายคนอาจอ่านแล้วงงหรือสงสัยเพราะเป็นการตีกรอบความเข้าใจที่ยังไม่ชัดเจนนัก ประกอบกับการตรวจบริเวณที่ช่องด่านศุลกากรนั้นก็จะมีการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เข้ามาพิจารณาด้วยว่าของแบบไหนต้องเสียภาษีและแบบไหนไม่เสียภาษี ทำให้มาตรฐานการเสียภาษีนำเข้านั้นไม่แน่นอน ซึ่งหลายคนก็ออกมาแสดงความเห็นตามที่เป็นข่าวกันในช่องทางโซเชียล ด้วยเหตุนี้เราจึงแนะนำว่าควรศึกษาและวางแผนให้ดีก่อนซื้อของจากต่างประเทศ เพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

สิ่งที่ห้ามนำเข้าประเทศมีอะไรบ้าง?

นอกจากสิ่งของที่ต้องเสียภาษีนำเข้ากับศุลกากรแล้ว ยังมีสิ่งของต้องห้ามบางประเภทที่ห้ามซื้อกลับเข้ามาประเทศไทยอย่างเด็ดขาด มิเช่นนั้นคุณอาจถูกจับเสียค่าปรับ หรือติดคุกเลยก็ได้เช่นกัน ดังนี้

1. ยาเสพติดทุกประเภท
2. บารากุ
3. บุหรี่ไฟฟ้า
4. สื่อและวัตถุลามก
5. ของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือของลอกเลียนแบบทางการค้า

วิธีคำนวณภาษีนำเข้า

หากช้อปปิ้งมากมายและจำเป็นต้องซื้อของจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีนำเข้าเท่าไหร่ ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคำนวณอัตราการเสียภาษีอย่างไร เรามีคำตอบให้โดยรวบรวมข้อมูลจากกรมศุลกากรที่ได้ระบุไว้ในหน้า Page Facebook ว่า อัตราการเสียภาษีนำเข้าจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดและประเภทสินค้า และต้องคิดภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 7%  

– กระเป๋า มีอัตราการบวกภาษี 20% จากราคากลาง 
– นาฬิกา มีอัตราการบวกภาษี 5% จากราคากลาง 
– เครื่องสำอาง มีอัตราการบวกภาษี 30% จากราคากลาง 
– เข็มขัด มีอัตราการบวกภาษี 30% จากราคากลาง 

สูตรคำนวนคือ ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ยกตัวอย่างเช่น : หากคุณซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมจากประเทศฝรั่งเศสมาราคา 100,000 บาท จะถูกคิดภาษีดังนี้

ราคาอากรนำเข้า : 100,000 x 20% = 20,000 บาท
ภาษีมูล
ค่าเพิ่ม : (100,000 + 20,000) x 7% = 8,400 บาท
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ : 20,000 + 8,400 = 28,400 บาท

สรุปแล้วประเป๋าแบรนด์เนมที่คุณซื้อมาจะมีมูลค่ารวมภาษีเบ็ดเสร็จแล้ว 128,400 บาท ซึ่งรวม ๆ แล้วอาจแพงกว่าซื้อ shop ในไทยเสียอีก ส่วนขั้นตอนการสำแดงเพื่อเสียภาษีก็ง่าย ๆ คือให้นำสัมภาระไปเข้าช่องสีแดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสิ่งของ ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจและคิดราคาประเมินค่าภาษีอากร หลังจากชำระเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะมอบใบเสร็จไว้ให้เป็นหลักฐาน

ทั้งนี้ทางศุลกากรได้ระบุตัวอย่างสินค้าและอัตราการคิดภาษีไว้เพียงเท่านี้ หากใครหิ้วของแปลก ๆ หรือนอกเหนือจากนี้ต้องขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะคิดจากราคากลางของสินค้าโดยอ้างอิงตามเว็บไซต์หลักของสินค้าหรือข้อมูลกลางที่น่าเชื่อถือ (แม้ว่าคุณจะซื้อของที่ลดราคามาแต่เจ้าหน้าที่จะคิดอัตราภาษีจากราคากลาง)

ของใช้ส่วนตัวที่ติดตัวก่อนออกไปจากประเทศไทยทำไมขากลับต้องเสียภาษี?

อีกหนึ่งดราม่าที่หลายคนคิดว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้เดินทางคือ บางคนที่เดินทางออกนอกประเทศและมีสินค้าราคาแพงที่เป็นของใช้ส่วนตัวหรืออุปกรณ์ทำงานติดตัวไปด้วยเช่นพวก กล้องถ่ายรูป, Notebook, โทรศัพท์มือถือ, แหวนเพชร, เครื่องประดับ, นาฬิกา, แว่นตากันแดด แต่เวลาเดินทางกลับเข้าไทยนั้นถูกศุลกากรตรวจและให้เสียภาษีเพราะเจ้าหน้าที่เข้าใจผิดว่าเราซื้อของจากต่างประเทศ แต่แท้จริงแล้วของเหล่านั้นเราใช้งานมาเป็นเวลาหลายปีก่อนเดินทางไปต่างประเทศเสียอีก กว่าจะเคลียร์กันรู้เรื่องก็ใช้เวลาหลายวัน เสียทั้งความรู้สึก เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน ซึ่งทางกรมศุลกากรได้ออกมาชี้แจงกรณีนี้แล้วโดยสรุปว่า

ระเบียบดังกล่าวนั้นมีอยู่จริง! หากใครที่ต้องนำของใช้ต่าง ๆ ที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 20,000 บาทออกนอกประเทศให้มาลงทะเบียนสำแดงสิ่งของก่อนเดินทาง เช่น กล้องถ่ายรูป Notebook เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายต่าง ๆ  ซึ่งจะเป็นการระบุคุณลักษณะสิ่งของ อย่างรหัสผลิตภัณฑ์ จุดเด่น รูปทรง ตำหนิ ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อที่ตอนขากลับเข้ามาจะได้มีหลักฐานแสดงว่าสิ่งของเหล่านั้นเป็นของใช้ส่วนตัวจริง และมีการใช้งานก่อนที่จะเดินทางออกไปนอกประเทศ ซึ่งคุณจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าดังกล่าว

ส่วนวิธีการลงทะเบียนนั้นก็ให้นำ boarding pass พร้อมของใช้ ไปลงทะเบียนศุลกาการตามจุดบริการที่สนามบินจัดไว้ ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิจะอยู่ที่ชั้น 4 ประตู 10 ผู้โดยสารขาออก ส่วนสนามบินดอนเมืองจะอยู่ที่ชั้น 3 ประตูผู้โดยสารขาออก

อยากช้อปปิ้งหิ้วของเข้าประเทศไทยชิล ๆ ไม่ต้องเสียภาษีแบบชัวร์ ๆ ต้องทำอย่างไร?

จากระเบียบที่ศุลกากรอธิบายมานั้นมักไม่มีข้อบังคับที่แน่ชัดและส่วนมากจะขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น แต่น้องแคร์จะมาบอกเทคนิกให้แบบชัวร์ ๆ หรือไม่ก็ใกล้เคียงที่สุด เพื่อให้สายช้อปอย่างคุณซื้อของจากต่างประเทศแบบชิล ๆ โอกาสโดนเรียกเก็บภาษีต่ำ ๆ ดังนี้

1. ก่อนออกประเทศหากมีของใช้แพง ๆ ติดตัว พวกโทรศัพท์ กล้อง Notebook เครื่องประดับ ให้ไปลงทะเบียนกับศุลกาการก่อน เผื่อขากลับโดยเรียกตรวจจะได้มีหลักฐานว่าของเหล่านี้เป็นของใช้ส่วนตัว

2. ตอนช้อปอย่าซื้อของมูลค่ารวมเกิน 20,000 บาท หากราคาเกิน ให้ฝากของที่ซื้อเฉลี่ย ๆ ไปกับเพื่อนร่วมทริป (เพราะโค้วต้าคนละไม่เกิน 20,000 บาท) 

3. อย่าคิดว่าซื้อของ Duty Free แล้วจะไม่เสียภาษี เพราะแม้จะเป็นสินเค้าปลอดภาษีแต่ราคารวมเกิน 20,000 ก็มีโอกาสถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเช่นกัน

4. ตอนซื้อของที่ต่างประเทศให้เก็บบิลไว้ด้วยทุกครั้ง เผื่อไว้ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ว่าเราซื้อมาในราคาจริง 

5. ของใช้บางอย่างที่ซื้อมาจากต่างประเทศเช่นพวกเสื้อผ้า หากเป็นไปได้ให้แกะบรรจุภัณฑ์แล้วสวมใช้งานจริงตอนกลับเข้าประเทศไปเลย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เห็นว่าเราตั้งใจซื้อมาใช้งานจริง ไม่ได้ซื้อมาเผื่อทำการค้า 

6. หากมีความจำเป็นว่าจะหิ้วของกลับมาจำนวนมาก ก็ให้ลองคำนวนภาษีนำเข้าไว้คร่าว ๆ ก่อน ไว้เผื่อเป็นราคาอ้างอิงพูดคุยกับเจ้าหน้าที่

7. หากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร คุณสามารถร้องเรียนได้ผ่านสายด่วนเบอร์ 1332 หรือช่องทาง Line : @customshearing หรือส่ง Email : มาที่ [email protected]

เลี่ยงภาษีนำเข้ามีโทษอย่างไรบ้าง?

น้องแคร์ขอแนะนำว่าหากคุณซื้อของจากต่างประเทศกลับเข้ามาเยอะและเข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีก็ให้เข้าช่องสำแดงภาษีกับเจ้าหน้าที่ย่อมดีกว่า เพราะหากคิดจะเดินเนียนเข้าช่องสีเขียวแล้วถูกสุ่มตรวจขึ้นมาเมื่อไหร่คุณอาจโดนโทษปรับเงิน 4 เท่าของราคาสิ่งของรวมกับบวกค่าภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือหนักสุดอาจมีโทษจำคุกถึง 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นของต้องห้ามนำเข้าประเทศสิ่งของที่หิ้วมาจะถูกริบเป็นของหลวง

สุดท้ายนี้น้องแคร์หวังว่าสายเที่ยวทั้งหลายคนจะช้อปปิ้งหิ้วของกลับประเทศไทยอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าราคาแพง แม้ว่าศุลกากรจะคิดราคาภาษีมหาโหดสักเท่าไหร่ แต่คุณยังคงสามารถเลือกช้อปสบาย ๆ เพลิดเพลินใจแบบไร้พรมแดนด้วยบัตรเครดิตชั้นนำ ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณซื้อของง่ายในต่างแดนแล้วยังได้แต้มมาแลกของรางวัลสุด Exclusive ด้วย สามารถเลือกบัตรเครดิตสำหรับสายเที่ยวที่โดนใจคุณ ได้เครดิตคุ้มค่ากับเราแรบบิท แคร์ เรารับประกันความแคร์ให้กับคุณทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง


สรุป

สรุปบทความ

สินค้าที่นำเข้ามายังราชอาณาจักรต้องเสียภาษีนำเข้าหากมีมูลค่าเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยเกณฑ์ภาษีนำเข้าจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้า อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภทจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า เช่น สินค้าสำหรับใช้ในครัวเรือน สินค้าเพื่อการศึกษา สินค้าทางการแพทย์

การหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ผู้ที่กระทำความผิดมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ กรมศุลกากรอาจยึดของที่ผิดกฎหมายและเรียกเก็บภาษีนำเข้าพร้อมค่าปรับเพิ่มอีกด้วย

จบสรุปบทความ

บทความตะลอนเปย์

ตะลอนเปย์

ชุดเวียดนามยอดฮิตติดตลาดในปัจจุบันคืออะไร ? สั่งซื้อช่องทางไหนได้บ้าง ?

ชุดเวียดนาม คำที่ช่วงนี้เชื่อว่าตัวแม่สายแฟชั่นจะต้องได้ยินผ่านหูหรือเห็นผ่านตากันบ้าง เพราะทั้งเหล่าดารา เซเลป อินฟลูเอนเซอร์
Nok Srihong
11/12/2023

ตะลอนเปย์

สะพานเหล็ก ชื่อนี้การันตี ตำนานศูนย์รวมร้านของเล่นที่ยังมีลมหายใจ

เชื่อหรือไม่ว่าสะพานเหล็กที่เราเรียกกันทุกวันนี้  คือ หนึ่งในโบราณสถานของชาติที่มีขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558
ONLYWONDER
10/08/2023

ตะลอนเปย์

เรื่อง(ของ) บ้าน ๆ เลือกปลั๊กไฟยังไงให้ปลอดภัย

ปลั๊กไฟ หนึ่งในอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่ทุกคนต้องมีติดบ้าน และแน่นอนว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่หลายคนอาจจะเผลอมองข้าม ซื้อปลั๊กไฟแบบไหนก็เหมือนกัน
คะน้าใบเขียว
13/02/2023