ตะลอนมูเตลู

อยากเจิมรถป้ายแดงออกใหม่ มีขั้นตอนเจิมยังไง เจิมวัดไหนดี?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published October 10, 2022

ไม่แปลก หากหลายคนให้รถยนต์ป้ายแดงที่ตนซื้อมาใหม่เกิดสิริมงคลต่อผู้ขับขี่ นอกเหนือจากฤกษ์ออกรถ และการไหว้แม่ย่านางแล้ว การเจิมรถถือเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เสริมมงคลให้กับรถยนต์ได้มากขึ้นด้วย ว่าแต่ถ้าอยากเริ่มต้องทำอย่างไร เจิมรถใช้อะไรบ้าง? มีขั้นตอนอะไร เจิมรถวัดไหนดี? หากอยากให้พ่อแม่เจิมรถให้สามารถทำได้หรือไม่? มีคาถาเจิมรถหรือไม่? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน!

รู้จักกันให้มากขึ้น กับที่มาของการเจิมรถ ทั่วโลกเป็นไหมนะ

การเจิมรถ คือ หนึ่งในความเชื่อที่อยูู่กับคนไทยมาตั้งแต่อดีต ซึ่งในไทยเองก็ได้รับอิทธิพลส่งต่อมาจากทางอินเดีย และในทางพุทธศาสนาของไทยในอดีตเอง ก็กล่าวไว้ว่า การเจิม คือ การทำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ มาจากการทำตำหนิให้กับจีวร และแสดงความเป็นเจ้าของ เพราะในสมัยนั้นผ้าเป็นสิ่งของที่หายาก

ในภายหลัง การเจิม กลายเป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นใหม่และสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล เป็นการอวยพร และเกิดเป็นพิธีการเจิมในโอกาสที่ดีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน, งานขึ้นบ้านใหม่ หรือแม้แต่การซื้อรถใหม่เข้าบ้าน

ส่วนในต่างประเทศนั้น แม้จะไม่มีการเจิมรถ เขียนยันต์ มีคาถาไหว้รถสวด แต่ในบางกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอาจให้บาทหลวง หรือผู้ประกอบพิธีในศาสนามาพรมน้ำมนต์ หรือส่วดมนต์เพื่อให้พร บางแห่งไม่ได้จำกัดแต่รถยนต์เท่านั้น แต่ยังเจิมถึงยานพาหนะอื่น ๆ ด้วย เช่น เจิมรถจักรยานยนต์ หรือรถบิ๊กไบค์, เจิมเรือ หรือเจิมรถมือสอง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการเจิมรถนั้น เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายคือการอวยพร สร้างขวัญกำลังใจ นั่นเอง

ปัจจุบัน การเจิมรถนั้น มีความเชื่อว่า จะช่วยสร้างความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้าย ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยทุกครั้งที่เดินทาง และประสบพบเจอแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต โดยในยุคแรก ๆ มักจะนิยมให้พระผู้ใหญ่ที่เคารพ หรือเกจิจากวัดดัง ๆ เป็นผู้เจิมเพื่อความเป็นมงคล โดยจะมีการลงยันต์ที่ใช้เจิมรถ

ซึ่งยันต์ที่นิยมใช้เจิมรถ มีอยู่ 5 ยันต์ ดังนี้ 

  • เจิมกระแจะ

เป็นการเจิมแบบเดียวกับที่เจิมหน้าผากคู่บ่าวสาวในวันแต่งงาน ซึ่งการเจิม 3 จุด จะเริ่มเจิมจากจุดกลางก่อนถึงไปในจุดซ้ายกับขวา มักนิยมเจิมหรือปิดทองบริเวณเพดานรถ และพวงมาลัยรถ เพื่ออัญเชิญเทวดามาประทับ

  • ยันต์พระเจ้าอมโลก

เป็นการอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ (“นะ โม พุท ธา ยะ”) มาประทับไว้ มักนิยมเจิมไว้ที่ฝากระโปรงรถหรือเพดานรถ เพื่อเสริมสร้างพลังให้ครอบคลุมทั้งเจ้าของและรถยนต์ด้วย

  • ยันต์อุณาโลม

เป็นปฐมยันต์ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ ของพระพุทธเจ้า 1 ใน 32 ประการที่เรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มหาบุรุษ โดยมากแล้ว นิยมจารแป้งที่ตำแหน่งเสา A มุมซ้าย-ขวา เปรียบเสมือนเทวดาซ้ายขวาที่คอยคุ้มครองเวลาขับรถนั่นเอง

  • ยันต์นะ

เป็นยันต์ที่ให้พุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ปัดป้องสิ่งอัปมงคล และคุ้มครองผู้ขับขี่ มักนิยมจารด้านท้ายของรถ เพื่อให้แคล้วลาดจากสิ่งอันตรายที่มองไม่เห็น

  • ยันต์ตรีนิสิงเห

เป็นยันต์ครูใหญ่แห่งยันต์ทั้งปวง มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ปัดป้องสิ่งอัปมงคลไม่ให้มาที่รถ ที่สำคัญยังช่วยหนุนนำดวงชะตามีพลัง โดยตัวยันต์ประกอบด้วยตัวเลข ๓ ๗ ๕. ๔ ๖ ๕. ๑ ๙ ๕. ๒ ๘ ๕. มีความหมายแทนพระพุทธเจ้า พรหม เทวดา ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มักนิยมจารภายในรถ เหนือหัวของผู้ขับขี่

นอกจากยันต์ที่ใช้เจิมรถแล้ว ยังมีคาถาเจิมรถด้วย ซึ่งการบริกรรมคาถาเจิมรถใหม่ให้กับแม่ย่านาง เป็นการบอกให้แม่ย่านางรู้ ว่ารถคันนี้กำลังจะมีเจ้าของใหม่แล้ว โดยการบริกรรมคาถาจะใช้คาถาที่เรียกว่าคาถาพระเจ้า 5 องค์ หรือแม่ธาตุใหญ่ ซึ่งคาถามีดังนี้

“อิติ สุคะโต อาระหังพุธโท นโมพุทธายะ ปัตถวีคงคา ภุมมะเทวา ขมามิหัง สุจิโต พุทธัง แคล้วคลาด ธรรมมัง แคล้วคลาด สังฆัง แคล้วคลาด”

แต่การเจิมรถในยุคปัจจุบันไม่ได้จำกัดแค่พระผู้ใหญ่อีกต่อไป หลายคนหันไปให้ความสำคัญกับบุคคลที่อยู่รอบตัวเป็นผู้จิมรถมากกว่า เช่น การให้พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่เคารพ เป็นต้น

เจิมรถใช้อะไรบ้าง? มีฤกษ์เจิมรถหรือไม่? ไปเจิมรถวัดไหนดี?

ไม่ว่าการเริ่มต้นเจิมรถป้ายแดง เจิมรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถมือสอง พื้นฐานแล้วจะมีขั้นตอนที่ใกล้เคียงกัน โดยจุดที่เจิมรถส่วนใหญ่นั้นจะมีทั้งการเจิมฝากระโปรงหน้ารถ, เพดานห้องโดยสาร, ที่บังแดด และพวงมาลัยรถ สำหรับขั้นตอนการเตรียมรถไปเจิม มีขั้นตอน ดังนี้

เลือกฤกษ์วันเจิมรถ

ฤกษ์นี้จะถูกนับเป็นคนละฤกษ์กับฤกษ์ออกรถใหม่ โดยมีคำแนะนำว่า ควรเลือกเวลาไปเจิมในช่วงเช้า เพราะเชื่อว่าทำมาค้าขึ้น ส่วนวันที่ควรนำเป็นฤกษ์มักจะกำหนดให้เจิมรถตามวันเกิดของเจ้าของรถเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าช่วยเสริมสิริมงคล ดังนี้

  • สำหรับผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ควรเจิมวันจันทร์ ยกเว้นวันอังคาร กับ วันศุกร์
  • สำหรับผู้ที่คนเกิดวันจันทร์ ควรเจิมวันจันทร์ และ วันศุกร์ ยกเว้นวันอาทิตย์ กับ วันพฤหัสบดี
  • สำหรับผู้ที่คนเกิดวันอังคาร ควรเจิมวันศุกร์ ยกเว้นวันอาทิตย์ กับ วันจันทร์
  • สำหรับผู้ที่คนเกิดวันพุธ ควรเจิมวันจันทร์ และ วันศุกร์ ยกเว้นวันอังคาร กับ วันพุธ
  • สำหรับผู้ที่คนเกิดวันพฤหัสบดี ควรเจิมวันจันทร์ และ วันศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์
  • สำหรับผู้ที่คนเกิดวันศุกร์ ควรเจิมวันจันทร์ และ วันศุกร์ ยกเว้นวันพุธ กับ วันเสาร์
  • สำหรับผู้ที่คนเกิดวันเสาร์ ควรเจิมวันจันทร์ ยกเว้นวันพุธ กับ วันศุกร์

แต่ถ้าเจ้าของรถไม่ได้เคร่งเรื่องฤกษ์ยามมากนัก อาจเลือกวันเวลาตามที่ตนสะดวกจะดีที่สุด 

เลือกวัดเจิมรถ

หลาย ๆ ไม่รู้จะไปเจิมรถที่วัดไหน เบื้องต้นแล้วเราสามารถเลือกวัดได้ตามความสบายใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นวัดดังก็ได้ โดยอาจนิมนต์พระจากวัดที่ใกล้บ้านมาทำพิธี หรือแม้แต่การทำพิธีด้วยการสวดมนต์ ท่องคาถาไหว้รถและเจิมรถก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่หากใครเชื่อในเรื่องความเป็นสิริมงคล วัดยอดนิยมที่คนมักจะไปเจิมรถป้ายแดง จะมีดังนี้

  • วัดยานนาวา จ.กรุงเทพ
  • วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
  • วัดโปรยฝน จ.ปทุมธานี
  • วัดหลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
  • วัดท่าไม้ จ.สมุทรสาคร
  • วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร
  • วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
  • วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม
  • วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
  • วัดป้อมรามัญ จ.อยุธยา
  • วัดซับกองทอง จ.เพชรบูรณ์
  • วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
  • วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี
  • วัดฉลอง จ.ภูเก็ต
  • วัดดับภัย จ.เชียงใหม่

เมื่อได้วัดตามที่ต้องการแล้ว เจิมรถใช้อะไรบ้าง ต้องเตรียมไปสำหรับพิธีเจิมรถใหม่ มีดังนี้ 

  • ของที่ใช้เป็นคู่ เช่น ธูป 5 คู่, เทียน 5 คู่, ดอกไม้ 5 คู่
  • พานพิธี หากไม่มีพานสามารถใช้ถาดกลม หรือจานขนาดใหญ่แทนได้
  • น้ำอบและแป้งดินสอพอง เพื่อใช้ในการเจิมรถตามจุดต่าง ๆ
  • แผ่นทองคำเปลว เชื่อว่าจะช่วยเสริมความเจริญรุ่งเรือง พานพบแต่สิ่งดี ๆ
  • ซองปัจจัยสำหรับถวายพระผู้ทำพิธีตามจิตศรัทธา
  • หากต้องการถวายสังฆทาน สามารถเตรียมชุดสังฆทานไปพร้อมกันได้
  • สำหรับใครที่เป็นรถมือสองให้ทำความสะอาดรถทั้งภายนอกและภายในก่อนนำไปเจิมรถที่วัดด้วย

หลังจากการเจิมรถแล้ว มีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปหลัง เช่น หากต้องการล้างรถหลังการเจิมรถ ต้องทำหลังจากเสร็จสิ้นพิธีไป 3 วัน บางแห่งเชื่อว่าให้ใช้จนกว่าร่องรอยต่าง ๆ จะเลือนลางไปเอง ซึ่งจุดนี้เราอาจจะพิจารณาว่า จุดที่เจิมรถเป็นอันตราย เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่หรือไม่? 

เพราะต่อให้เจิมรถกับเกจิวัดดังแค่ไหน ก็อาจเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน หรือใครที่เคร่งเรื่องความเป็นสิริมงคล เคร่งเรื่องพิธีอาจเลือกไม่ขับขี่จนกว่าจะครบวันล้าง หรือจัดการทำความสะอาดรถตั้งแต่ก่อนไปเจิมก็ได้เช่นกัน

หากอยากให้พ่อแม่เจิมรถใช้อะไรบ้าง? ต้องใช้คาถาเจิมรถไหม?

สำหรับใครที่ถือว่าพ่อแม่เปรียบเหมือนพระในบ้าน ก็อาจเลือกเจิมรถได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องผ่านพระก็ได้เช่นกัน ซึ่งตามหลักแล้วจะมีขั้นตอนอทบไม่แตกต่างกัน แต่สำหรับใครที่ต้องการเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากขึ้น อาจเพิ่มขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ได้!

  • ชวนพ่อแม่หรือบุคคลที่มีชื่อมงคลไปรับรถ

สำหรับพ่อแม่ถือเป็นพรหมของลูก หากเริ่มสิ่งใดแล้วจต้องการความเป็นสิริมงคล การเริ่มต้นรับรถพร้อมกับพ่อแม่ย่อมเกิดความเป็นมงคลอย่างแน่นอน หรือหากพ่อแม่ไม่สะดวก ผู้ใหญ่ที่เคารพไม่สามารถมาด้วยได้ อาจเปลี่ยนเป็นคนรอบตัวที่มีชื่อเป็นมงคลก็ได้เช่นกัน โดยก่อนออกรถ ให้บีบแตรรถอีก 3 ครั้ง เป็นการเอาฤกษ์เอาชัยในวันขับรถวันแรก

  • วางพระพุทธรูปองค์เล็ก หรือของมงคลหน้ารถ

ในวันที่ออกรถใหม่ คุณอาจเลือกวางพระตั้งหน้ารถ หรือสิ่งของมงคลต่าง ๆ ไว้ที่หน้ารถ เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคล เอาฤกษ์ให้แก่รถออกใหม่ หรือหากใครเตรียมน้ำมนต์จากวัดที่นับถือมาด้วย ให้พรมน้ำมนต์ดั่งกล่าวรอบคันรถ พร้อมกับนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งดี ๆ เอาไว้ เพื่อให้ตลอดทุกการใช้งานและการเดินทางมีแต่ความราบรื่นปลอดภัย

  • ทิศแรกที่รถขับไป ควรเป็นทิศเหนือ

เมื่อต้องขับรถครั้งแรก ให้พยายามเลือกทิศการเดินทางครั้งแรกไปทางทิศเหนือเสมอ นอกจากนี้ เมื่อขับออกมาแล้วควรเปิดไฟหน้าให้สว่างเข้าไว้จนกว่าจะถึงที่หมายแรกด้วย และต้องไม่แวะระหว่างทางจนกว่าจะถึงที่หมาย เชื่อว่าเพื่อความเป็นสิริมงคล ขับขี่ปลอดภัย ราบรื่นถึงปลายทางนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า ปลายทางที่ควรอจอดรถต้องไม่ใช่สถานที่อโคจร เช่น ร้านเหล้า, บาร์ หรือผับ แนะนำให้ขับโดยมีปลายทางนำรถไปเจิม หรือกลับบ้านเพื่อให้พ่อแม่เจิมรถมากกว่า

หลังจากนั้นสามารถปฎิบัติตามหลักการเราได้กล่าวไว้ข้างต้นได้เลย หากใครกังวลว่าไม่สามารถลงยันต์ได้เนื่องจากไม่มีความรู้ อาจเลือกการเจิมกระแจะแบบเดียวกับการเจิมหน้าผากบ่าวสาว เริ่มเจิมจากจุดกลางก่อนถึงไปในจุดซ้ายกับขวา ไหว้แม่ย่านาง สวดคาถาเจิมรถ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น โดยที่ไม่ต้องพึ่พระที่วัดแล้ว!

จะเห็นได้ว่าพื้นฐานนั้น การเจิมรถคือการอวยพร เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น และแสดงความเป็นเจ้าของรถ แต่หากต้องการการป้องกันภัยรถที่แน่นอนยิ่งกว่า นอกจากการมีสติตลอดเวลาการขับขี่แล้ว ประกันรถยนต์ดี ๆ สักเจ้า จะช่วยเสริมความปลอดภัยให้คุณได้

ประกันรถยนต์ จาก แรบบิท แคร์! ที่นี้เรามีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญไว้คอยให้คำแนะนำและบริการต่าง ๆ กับคุณ

มาพร้อมกับบริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันรถยนต์ที่เข้าใจง่าย สมัครไม่ยาก ราคาเบาๆ เข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบาย อุ่นใจตั้งแต่ก่อนและหลังทำ พร้อมบริการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คลิกเลย!

 

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

  

บทความตะลอนมูเตลู

ตะลอนมูเตลู

ฤกษ์ออกรถเดือนกรกฎาคม 2567 ตามวันเกิด สายมูเตรียมจดได้เลย!

ใครที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องการดูวันออกรถที่เป็นมงคล แรบบิท แคร์ ได้เตรียมฤกษ์ออกรถเดือนกรกฎาคม 2567 มานำเสนอกันแบบครบถ้วน
กองบรรณาธิการ
05/03/2024

ตะลอนมูเตลู

รวมคำทำนายฝัน ฝันเห็นพระ ฝันเห็นพระสงฆ์ มีความหมายว่าอะไร?

ความฝันของคุณอาจเป็นภาพนิมิตบอกเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งการฝันเห็นพระสงฆ์ พระพุทธรูป หรือฝันเห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
กองบรรณาธิการ
15/02/2024

ตะลอนมูเตลู

ทำนายฝัน ฝันเห็นงานแต่งงาน ฝันว่าแต่งงาน ฝันว่าไปงานแต่ง ฝันว่าใส่ชุดแต่งงาน หมายความว่าอะไร?

หลายคนอาจจะเคยนึกถึงงานแต่งงานในฝันของตนเอง และก็มีอีกหลายคนเช่นกันที่เคยฝันเห็นงานแต่งงาน ไม่ว่าจะฝันว่าตัวเองแต่งงาน ฝันว่าใส่ชุดแต่งงาน
กองบรรณาธิการ
15/02/2024